วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พญานาค กับ มังกร






ญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ เพราะแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ พญานาคจึงอยู่ในน้ำ

แต่ถ้าเป็นความเชื่อของคนจีน พญานาค ก็คือ มังกร เป็นปีศาจกึ่งเทพ เพราะเมืองจีนเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ มีภูเขาสูงมากมาย มังกรจึงต้องอยู่บนขุนเขากึ่งบนฟ้า ทั้งพญานาคและมังกร อยู่ในระดับต่ำกว่าเทวดา แต่เพราะผลบุญทำมามาก กรรมก็ทำไม่น้อย มักทำบุญด้วยราคะ เลยต้องเกิดเป็นสัตว์กึ่งเทพกึ่งมนุษย์ มังกรและพญานาคจึงมีฤทธิ์มาก

ตำนานนิทานโบราณ มักมีเรื่องราวเกี่ยวกับบุตรสาวพญานาคมาหลงรักมนุษย์ หรือนิทานจีน โบราณก็มักมีองค์หญิงวังมังกรมาหลงรักบัณฑิต เป็นต้น

สำหรับชาวจีน ถือว่า มังกรเป็นสัญลักษณ์สัตว์พาหนะของฮ่องเต้ เพราะฮ่องเต้คือโอรสสวรรค์ ฮ่องเต้จีนจึงใส่ชุดสีเหลืองทอง ลายมังกร ตราประทับของฮ่องเต้ ก็คือ ตรามังกร บังลังก์ของฮ่องเต้ ก็คือ บัลลังก์มังกร


ส่วนคติความเชื่อทางไทย เชื่อว่า พญานาคมีหน้าที่คอยปกปักรักษาพุทธศาสนา ทดแทนที่พญานาคไม่อาจบวชเป็นพระได้

ก่อนผู้ชายจะบวช จึงเรียกแทนว่า พ่อนาค ซึ่งมาจาก ที่พญานาคเคยแปลงร่างเป็นมนุษย์แอบมาบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา แต่ยามหลับกลับกลายร่างกลับเป็นงู พอความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงประกาศห้ามภิกษุบวชพระให้พญานาค เพราะผู้ที่จะบวชเป็นพระได้ ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น แต่พญานาคเป็นกึ่งเดรัจฉาน

พญานาค จึงทูลขอพระพุทธเจ้าว่า ถ้าคนที่กำลังจะบวช ก่อนบวชให้เรียกว่า พ่อนาค แทน เพื่อทดแทนทีตนไม่สามารถบวชเป็นพระต่อไปได้

--------------------------

ถ้าในตำนานของทางฮินดู พญานาคกับ พญาครุฑ จะไม่ถูกกัน ทั้งที่ในตำนาน พญาครุฑกับพญานาคเป็นพี่น้องกัน คือทั้งสองมีพ่อคนเดียวกันคือมหาฤาษีกัสยปะเทพบิดร แต่มีแม่คนละคนกัน

คือพญาครุฑเป็นลูกเมียเอก ส่วนพญานาคเป็นลูกเมียรอง เข้าทำนองลูกเมียหลวงไม่ถูกกับลูกเมียน้อย

ส่วนตำนานเรื่องนี้เป็นอย่างไร ไปอ่านได้ที่ คลิก!!

ส่วนในคติของไทย ครุฑ เป็นสัญลักษณ์ ของพระมหากษัตริย์ ตราประทับของพระมหากษัตริย์ไทย จึงเป็นตราครุฑ

ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 9 จำลองจากพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 5


และเราจะเรียก ตราพระราชลัญจกร อย่างง่าย ๆ ว่า ตราแผ่นดิน

ซึ่งตราแผ่นดินนั้น มีความศักดิ์สิทธิ แต่จะศักดิ์สิทธิอย่างไรไปอ่านได้ที่

บทความเรื่อง วิญญาณนักโทษที่รอคอย... ?



วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เหตุผล ตุลย์ น่าแพ้ ในการ battle กับ ฟร้อนท์






เนื่องจากผมเคยเขียนบทความชื่นชม ตุลย์รยา ในการร้องเพลงในรอบแรก ว่าเธอสุดยอดมากๆ และคิดจะเชียร์คุณตุลย์ กับคุณเก่ง ในการแข่งขันเดอะวอยซ์ ไทยแลนด์

แต่เมื่อรอบถึง Battle ระหว่าง คุณตุลย์ กับ คุณฟรอนท์ สาวเท่ห์ เสียงนุ่ม ตามคลิปนี้



ผมขอวิจารณ์และเห็นด้วยกับหลายๆ คน ที่ว่าว่า ฟรอนท์ ทำได้เหมาะสม และดีกว่าในเพลงนี้ เพราะ คุณฟรอนท์ ร้องได้แบบพอดี ไม่ล้นเกินไป ในขณะที่คุณตุลย์ ฟังก็รู้ว่า เทคนิคการร้องเหนือกว่าคุณฟรอนท์ทุกด้าน แต่ว่า

คุณตุลย์ วางแนวคิดในการBattle คราวนี้ พลาดไป คือ คุณตุลย์ พยายามโชว์ความสามารถในการร้องเหมือนต้องการจะให้เด่นกว่าคุณฟรอนท์ ในทุกด้าน ทั้งการร้องแอดลิปและ อิมโพรไวส์ ค่อนข้างจะล้นเกินไป

แทนที่คุณตุลย์ ควรจะแอดลิป เพื่อส่งเสริมการร้องให้โชว์ และส่งเสริมคุณฟรอนท์ ในแนวคิดว่าเป็นเพื่อนร่วมทีมกัน เพื่อให้เพลงมีความไพเราะสมบูรณ์ขึ้น แต่กลายเป็นว่า คุณตุลย์พยายามโชว์เทคนิคมากเกินไป เหมือนจะข่มคุณฟรอนท์ เหมือนเห็นคุณฟรอนท์เป็นคู่แข่งมากเกินไป

ในขณะที่คุณฟรอนท์ ร้องด้วยลักษณะตั้งใจร้องเพื่อความสมบูรณ์ในการโชว์มากกว่าในการประชันแข่งขัน จึงทำให้การร้องของคุณฟรอนท์ร้องออกมาได้พอดีกว่าคุณตุลย์

ฉะนั้น แม้ผมจะเชียร์คุณตุลย์ แต่ก็ไม่ขอเข้าข้าง เพราะการBattle เมื่อวาน ผมว่า มันยังไม่ใช่โชว์ที่สมบูรณ์

จึงอยากแนะนำคุณตุลย์ ว่า ในรอบๆ ต่อๆ ไป ควรวางแนวคิดเสียใหม่ว่า หากต้อง Battle อีก จงร้องเพื่อให้โชว์ที่สมบูรณ์ มากกว่าจะมุ่งเน้นเอาชนะมากเกินไป เพราะมันจะกลับกลายเป็นผลเสียต่อคุณตุลย์เองครับ


--------------------------------

คู่ Battle ที่ดีที่สุด ของวันที่ 29/10/55

ผมว่า รายการเดอะวอยซ์ ไทยแลนด์ น่าจะมีรางวัลพิเศษ ให้กับการโชว์ Battle ที่ดีที่สุดด้วย เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้แข่งขันที่สามัคคีกัน ในการโชว์เพื่อผู้ฟัง มากกว่าแค่การแข่งขันเท่านั้น ซึ่งก็มีหลายคู่ที่ทำได้ดีมากๆ อย่างเช่นคู่ของเมื่อวานนี้ เพลงหนุ่มบาวสาวปาน

คู่คุณแอนนี่ และคุณเอ้



ผมชอชื่นชมคู่นี้มากๆ ที่วางเรื่องการแข่งขันไว้ข้างหลัง แต่เน้นทำเพื่อโชว์ ทำเพื่อคนดูคนฟังมากกว่า จนทำให้ได้โชว์ที่สมบูรณือีกโชว์หนึ่งครับ



คลิกอ่าน ตุลย์รยา เจ๋งที่่สุดอีกคนใน The voice Thauland


วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Ken Noguchi นักไต่เขาที่ทำมากกว่าแค่ปีนเขา







Ken Noguchi แม้เขาจะเกิดในอเมริกา เพราะพ่อเป็นนักการฑูต ทำให้เขาได้ใช้ชีวิตในหลายประเทศ

จนวันหนึ่ง Ken ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับการผจญภัยของ Naomi Uemura นักผจญภัยชื่อดังชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งเป็นเป็นคนแรกที่ไปเหยียบNorth Pole ขั้วโลกเหนือ และล่องแพคนเดียวและคนแรกตลอดลำน้ำอเมซอน และUemira ได้หายสาบสูญในระหว่างพิชิตยอดเขา Mckinley ได้สำเร็จคนแรกในช่วงฤดูหนาวอย่างกล้าหาญ

ด้วยเหตุนี้ ทำให้Ken Noguchi จึงใฝ่ฝันที่จะป็นนักผจญภัยตามแบบ Uemura

ต่อมา Ken ได้ประสบความสำเร็จในการเป็นมนุษย์ที่อายุน้อยที่สุดในช่วงเวลานั้น ที่ปีนยอดเขาสูงที่สุดครบทั้ง7ลูก ใน7ทวีป ได้สำเร็จ เมื่อปี1989

แต่บทความของผมตอนนี้ ไม่ได้ต้องการชื่นชมความสำเร็ของKen Noguchi แต่ผมอยากจะชื่นชมในสิ่งที่Ken ทำในวันนี้ ก็คือ

Ken เป็นนักไต่เขาที่มองเห็นบางอย่างมากกว่าที่นักไต่เขาคนอื่นๆ จะมองเห็น เพราะทุกวันนี้ Ken เขากลายเป็นนักไต่เขาเพื่อสิ่งแวดล้อม เพราะตลอดช่วงเวลาที่เขาไต่เขา เขาได้เห็นมากกว่านักไต่เขาหรือนกปีนเขาทั่วไปมองเห็นก็คือ Ken มองเห็นขยะที่เกิดจากนักไต่เขา ทิ้งไว้เกลือนกลาดบนเส้นทางไต่เขาและปีนเขา ในเทือกเขาหลายๆ แห่งในโลก

อย่างเช่น เขาเคยไต่เทือกเขาหิมาลัย เส้นทางพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรส เขาสามารถเก็บกระป๋องออกซิเจนที่ถูกทิ้งมากถึง400 กระป๋อง ในการเดินเก็บเพียงเที่ยวเดียว




ด้วยเหตุนี้จึงทำให้Ken เริ่มก่อตั้งชมรมนักไต่เขาเพื่อสิ่งแวดล้อม ไต่เขาเพื่อเก็บขยะบนเทือกเขาสำคัญต่างๆ ทั่วโลก

และที่สำคัญ เขาไม่ลิมนึกถึงภูเขาไฟฟูจิยาม่า (Fujiyama) ภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเขาพบว่ามีขยะจากนักท่องเที่ยว และนักไต่เขา ถูกทิ้งไว้มากมายจนน่าตกใจตลอดเส้นทางพิชิตภูเขาไฟฟูจิยาม่า ดังนั้นเขาเริ่มชักชวนคนญี่ปุ่นมาช่วยกันเก็บขยะเพื่ออนุรักษ์ฟูจิยาม่า ทุกปี

ในปีแรก มีชาวญี่ปุ่นอาสามาร่วมทำความสะอาดเส้นทางฟูจิยาม่า เพียงแค่100 คน แต่แค่เพียงในปีที่3 ต่อมา ได้มีชาวญี่ปุ่นมาเก็บขยะร่วมกับเขามากถึง 3พันคน

ตรงนี้แหละ ที่ผมชื่นชมชาวญี่ปุ่น เพราะชาวญี่ปุ่น เขารักชาติเขามาก พอบอกว่ามาช่วยกันเก็บขยะในสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติ เขามาร่วมเก็บขยะมากถึง 3 พันคน ผมไม่เคยเห็นประเทศไทยที่มีอาสาสมัครมาเก็บขยะคราวเดียวมากเท่านี้มาก่อนเลยจริงๆ

เห็นคนไทยมีแต่รวมตัวกันเต้น !!

ทุกวันนี้ Ken ยังทำหน้าที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเก็บขยะตามเทือกเขาต่างๆ ทั่วโลกต่อไป

นี่แหละ ที่ผมอยากชื่นชมเขา ในสิ่งที่เขาทำเพื่อโลกของเรา แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ในสายตาของผมครับ


วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สื่อนอก รายงานภูเขาข้าวของรัฐบาลไทยรอเน่า !!









สื่อนอกตีข่าว นโยบายจำนำข้าว “รบ.ปู” ทำไทยดิ่งเหว, USDA ชี้ปีหน้าข้าวเน่าคาสต็อก 12.1 ล้านตัน


สื่อต่างประเทศรายงานว่าสถานะของประเทศไทยในการเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์หนึ่งของโลกกำลังถูกสั่นคลอนจากน้ำมือของ “รัฐบาลของตัวเอง”ภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ดึงดันใช้โครงการจำนำข้าวหวังเพิ่มรายได้ให้ชาวนา แต่จนแล้วจนรอดกลับกลายเป็นการสร้าง “ภูเขาข้าว” กองมหึมาในสต็อก เพราะขายไม่ออก ขณะที่ชาวนาไทยยัง “จนเหมือนเดิม”


รายงานของสำนักข่าวเอเอฟพีและสื่อต่างประเทศหลายแขนงในวันพุธ (24) ชี้ว่า นโยบายรับจำนำข้าวในราคาสูงลิ่วเกินกว่าราคาตลาดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ดำเนินมา 1 ปีเต็มนั้น ได้ทำลายความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกข้าวชาวไทยจนหมดสิ้นแล้ว หลังตัวเลขการส่งออกข้าวหดหายไปเกือบครึ่งหนึ่งในปีนี้ กระทบต่อสถานะผู้ส่งออกข้าวหมายเลขหนึ่งของโลก ที่ไทยผูกขาดครองแชมป์มายาวนาน ปล่อยให้บรรดาผู้ส่งออกรายใหม่อย่างกัมพูชาและพม่าก้าวขึ้นมาผลิตข้าวส่งออกแซงหน้า

ยิ่งไปกว่านั้นกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ยังคาดการณ์ว่า การส่งออกข้าวของไทยที่เคยครองสัดส่วนถึงกว่า 1 ใน 3 ของความต้องการข้าวในตลาดโลก อาจร่วงลงจนตามหลังผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดีย

ทั้งนี้ โดยเฉลี่ย ประเทศไทยเคยผลิตข้าวได้ราว 20 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งในจำนวนนี้ราวครึ่งหนึ่งจะถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่เมื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาครองอำนาจพร้อมกับนำนโยบายแห่งความขัดแย้งดังกล่าวมาบังคับใช้ ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยกลับพุ่งดิ่งเหวเหลือเพียง 6.5 ล้านตันเท่านั้น สวนทางกับปริมาณข้าวค้างสต็อกที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 10 ล้านตันตามการประเมินของนักวิชาการไทย

ขณะที่การคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯระบุสิ้นปี 2012 ไทยจะมีปริมาณข้าวค้างสต็อกราว 9.4 ล้านตัน และในปี 2013 ปริมาณข้าวที่ขายไม่ออกของไทย จะพุ่งแตะระดับ 12.1 ล้านตัน เพราะไม่มีประเทศใดยอมซื้อข้าวราคาแพงของไทย

ขณะเดียวกันพื้นที่ในโกดังและสถานที่เก็บข้าวทั่วประเทศ กำลังถูกใช้เพื่อรองรับข้าวปริมาณมหาศาลที่รัฐบาลรับจำนำไว้แต่ไม่สามารถหาผู้ซื้อได้

ซึ่งสื่อต่างประเทศชี้ว่า นโยบายจำนำข้าวราคาสูงลิ่วของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นไม่เพียงแต่ทำให้ไทยขายข้าวได้น้อยลงแล้ว แม้แต่พื้นที่สนามบินและค่ายทหารก็ต้องถูกนำมารองรับ “ภูเขาข้าวลูกมหึมา” ถือเป็นเรื่องราวสุดพิลึกที่แทบไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ขณะเดียวกันชาวนาไทยก็ยังคงมีฐานะที่ยากจนไม่ต่างจากเดิม แต่พวกที่ร่ำรวยขึ้นกลับเป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำนำข้าวที่มีการ “ทุจริตอย่างเป็นระบบ” ในทุกขั้นตอน

แม้นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ได้ออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกโครงการดังกล่าว แต่ดูเหมือนนักการเมืองไทยที่เป็นฝ่ายครองอำนาจอยู่ในเวลานี้ จะไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่ นอกจากต้องดันทุรังเดินหน้าโครงการจำนำข้าวต่อไป เพื่อสกัดกั้นมิให้ราคาข้าวตกต่ำลงจนกลายเป็น “ปัญหาทางการเมือง” ที่จะกระทบการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ข่าวโดย http://astv.mobi/A4pH6QT


-------------------------

Thai Rice Mountain Casts Shadow Over World Market
October 24, 2012

คลิปรายงานข่าวจาก AFP



Thailand’s status as the world’s top rice exporter is under threat from a controversial scheme to boost farmer incomes that has resulted in a growing mountain of unsold stocks, experts warn.

Prime Minister Yingluck Shinawatra’s year-old policy to buy rice from farmers for 50 percent more than the market price has hit the competitiveness of Thai exports, which are expected to almost halve in 2012.

“It’s the worst year we have ever faced,” said Chookiat Ophaswongse, honorary president of the Thai Rice Exporters Association.

“We are already losing our market share in the world to our competitors, especially the newcomers like Cambodia and Myanmar which are producing more and more rice for export,” he told AFP.

Rice is the staple food for more than three billion people — nearly half the world’s population. Last year Thailand had nearly a third of the global export market.

But its worldwide share is forecast to drop to less than one-fifth in 2012, according to the US Department of Agriculture (USDA), which expects the Southeast Asian nation to fall behind rival exporters Vietnam and India.

Thailand produces about 20 million tons of rice each year on average, about half of which is normally sold overseas.

This year, however, exports are expected to reach only about 6.5 million tons, according to the exporter association and the USDA.

With its warehouses filling up quickly, Thailand is running out of space to house its unsold stocks and even briefly considered using an aircraft hanger in Bangkok’s number two airport Don Mueang.

The longer the government holds on to the stocks, the bigger the drain on the public finances.

Yet experts say if Thailand abandons the scheme now, it risks flooding the world market.

“They are in a jam because with all this rice hanging around they have very little option to do anything else other than just keep on going because otherwise the rice price will drop and then they will have political problems,” said Ammar Siamwalla, an economist with the Thailand Development Research Institute Foundation (TDRI).

“The Vietnamese and the Indians are rubbing their hands. They’re taking advantage of the fact that we’ve slowed down our exports considerably,” he said.

If Thailand tries to shift its glut of rice on world markets now, “the price would plummet,” Ammar warned. “There is no exit strategy.”

He estimates that Thailand has about 10 million tons of stock sitting around in storage. The USDA predicts the country will have stocks of about 9.4 million tons at the end of 2012 and 12.1 million tons in 2013.

China and India also have large stockpiles but their production and domestic consumption are much higher.

While the scheme is putting strains on Thailand’s government finances, it has been welcomed by many farmers, whose support helped sweep Yingluck to a landslide election victory last year.

Her older brother Thaksin Shinawatra, who was ousted as prime minister by royalist generals in a coup in 2006, is hugely popular with Thailand’s rural poor thanks to his populist policies while in power.

“I want the government scheme to continue because, at the very least, it helps us farmers sell our rice at a high price,” said Supoj Joopia, who has 9.6 hectares (24 acres) of rice paddy in Chachoengsao province east of Bangkok.

He said his annual earnings from rice cultivation have soared by more than half to 780,000 baht ($25,000) since signing up.

About four million households rely to some extent on farming in Thailand, of which 900,000 have joined the scheme so far, according to the TDRI.

The policy is seen as benefiting owners of large farms in particular as they have a bigger surplus to sell to the authorities after their own household consumption. The scheme has also been dogged by allegations of corruption.

The government says it is confident that it can find buyers for its rice on world markets at a price that will raise the living standards of its farmers.

It says it has signed deals to sell rice directly to other countries.

Nigeria, Iraq, Indonesia, Ivory Coast and South Africa are the top customers so far this year, according to the Thai Board of Trade, which says exports slid 45 percent in January-September from a year earlier, to 5.0 million tons.

“We’re still confident that we can keep releasing the rice that we have,” Commerce Minister Boonsong Teriyapirom said earlier this month.

But not everyone is so optimistic and the fear is that Thailand might struggle to recapture lost market share.

“If the situation continues like this, you will see a lot of exporters gone out of business,” Chookiat said.

Agence France-Presse



คลิกอ่าน ขนาดมติชนยังไม่เชื่อเรื่องขายข้าวจีทูจี


วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทความมติชนก็ยังไม่เชื่อเรื่องขายข้าวจีทูจีของรัฐบาล







ก่อนจะไปเรื่องบทความในมติชน ผมขออธิบายเรื่องขายข้าวแบบจีทูจีสักเล็กน้อย

คือการขายแบบรัฐต่อรัฐนั้น โดยปกติถ้าไม่จำเป็นเขาไม่ค่อยทำกันมากหรอกครับ เพราะมันจะทำลายกลไกตลาด เนื่องจากการขายแบบจีทูจี มักจะเป็นการขายแบบราคามิตรภาพ คือต่ำกว่าราคาตลาด มักจะเป็นการขายแบบช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่า

เช่น ถ้าไทยอยากได้อาวุธจากรัสเซีย แต่รัสเซียไม่มีเงิน ก็มาแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน เช่นไทยขายข้าว รัสเซียขายอาวุธ แลกกันไป

หรือในประเทศที่ยากจนในอาฟริกา  เพราะด้วยความเห็นใจกัน ไทยจึงขายข้าวแบบจีทูจีเพื่อมนุษยธรรม ก็จะขายต่ำกว่าราคาตลาดบ้าง แต่ต้องไม่มากเกินไป ไม่งั้นทุกๆ ประเทศก็จะแห่มาขอซื้อแบบจีทูจีหมด จะทำให้กลไกตลาดเสรีของเอกชนเสียหาย ซึ่งอาจไม่ต้องเปิดเผยราคาก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนตัวเลขที่แน่นอนว่า ขายข้าวไปจำนวนมากเท่าไหร่ และขายให้ใคร

และต้องมีสัญญาซื้อขายที่ชัดเจน ข้อมูลรายชื่อประเทศผู้ซื้อต้องเปิดเผยได้ เพื่อป้องกันการทุจริต

ประเทศไทยมีการขายแบบรัฐต่อรัฐมาตลอด และสามารถเปิดเผยตัวเลขได้ว่าขายไปกี่ตัน ขายให้แก่ประเทศอะไรไป

ไม่เหมือนรัฐบาลยิ่งโง่ ยิ่งชั่ว ที่ปกปิดทุกอย่าง แถมยังโกหกด้านๆ ว่า ขายให้ประเทศนั้นประเทศนี้ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนถ่ายข้าวไปที่ท่าเรือแต่อย่างใด

ตัวอย่างเช่น ตัวเลขการส่งออกข้าวเมื่อสมัยยุคปชป. ในปี54 เป็นตัวเลขส่งออกข้าวสูงเป็นประวัติศาสตร์ ของการส่งออกข้าว ตามรูปนี้

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!



ให้สังเกตว่าในปี54  รัฐบาลปชป. ขายข้าวแบบจีทูจีไปแค่ 2 แสนกว่าตันเท่านั้น ในขณะที่ผู้ส่งออกเอกชนขายไปเกือบ 9 ล้านตัน

แต่ในตัวเลขในปี55 สิ้นสุดที่งบประมาณ กันยายน55 กลับไม่มีตัวเลขของรัฐบาลยิ่งโง่ ส่งออกข้าวเลยแม้แต่เม็ดเดียว นี่ข้อมูลจากกรมการค้าภายในเองนะครับ

ข้าวนะครับ ไม่ใช่ของเถื่อน ที่จะต้องปกปิดตัวเลข!!

ทีนี้มาดูบทวิคราะห์จากบทความมติชน สื่อที่เอียงแดงกันบ้างครับ

--------------------

จี ทู จี หรือ เจี๊ยะทูเจี๊ยะ ???

คอลัมน์ เดินหน้าชน โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม


น็อกรอบแล้วสำหรับโครงการจำนำข้าวเปลือก ที่เริ่มโครงการใหม่เมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งที่โครงการเก่ายังมีปัญหาคาราคาซังมากมาย

หนึ่งคือเรื่องเงิน เดิมที่กระทรวงพาณิชย์จะขอ 4.05 แสนล้านบาท ใช้รับจำนำข้าวรอบใหม่ แต่ ครม.อนุมัติให้รับจำนำเฉพาะข้าวนาปีก่อน 2.4 แสนล้านบาท เป็นเงินกู้ ธ.ก.ส. 1.5 แสนล้านบาท ที่เหลือจะเป็นเงินจากการขายข้าว ที่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ระบุว่าขายได้แล้ว 8.38 ล้านตัน คาดว่าปลายปีนี้จะได้เงิน 8.5 หมื่นล้านบาท และไตรมาสแรกปี 2556 อีก 4 หมื่นล้านบาท

แต่ก็มีคำถามว่า ถ้าขายได้จริงแล้วเหตุไฉนโกดังกลางยังมีข้าวกองเต็มเป็นภูเขา??

อีกปัญหาคือ โรงสีหลายแห่งมีข้าวสารค้างส่งมอบจำนวนมาก เพราะโกดังกลางมีข้าวเต็มโกดัง เนื่องจากระบายข้าวไม่ออก และโรงสีจะกระอัก เพราะถ้าข้าวยังไม่ส่งมอบโกดังกลาง ก็ไม่สามารถขอคืนแบงก์การันตี เพื่อที่มีวงเงินมาจะรับจำนำข้าวรอบใหม่ได้

จึงต้องลุ้นกันว่า รัฐจะระบายข้าวในสต๊อกเก่าได้ทันที่จะมีเงินมาหมุนเวียนใช้รับจำนำรอบใหม่ และทันเพื่อจะมีโกดังเก็บข้าวฤดูใหม่หรือไม่

ที่น่าสนใจคือ "บุญทรง" ระบุว่าขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ได้แล้ว 6 สัญญา รวม 7.328 ล้านตัน

มากเป็นประวัติศาสตร์อีกครั้งสำหรับการขายจีทูจี ของไทย หลังเป็นประวัติศาสตร์ที่รัฐเก็บสต๊อกมากถึงกว่า 10 ล้านตัน และเป็นประวัติศาสตร์ที่ไทยเสียแชมป์การส่งออกข้าว !?!

แต่ทว่าเป็นการขายข้าวจีทูจีจริงหรือ??!

พิรุธข้าวจีทูจี 1 ล้านตันที่ล่องหน หลังให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ปล่อยข้าวในสต๊อก แต่ไม่มีการโชว์ตัวเลขการส่งออกว่าไปไหน??!!

"บุญทรง" ชี้แจงว่า "เมื่อเราเจรจาเสร็จ ก็เป็นหน้าที่ของประเทศผู้ซื้อว่าจะว่าจ้างบริษัทใดเข้ามาปรับปรุงข้าวและส่งออกไปประเทศปลายทางผู้ซื้อ เมื่อออกแล้วก็จะมีเอกสารยืนยันส่งออก"

ไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า จีทูจี เป็นการขายหน้าโกดัง แล้ว

ผู้ซื้อเป็นคนจ้างบริษัทมาปรับปรุงข้าวและส่งออก

ดังนั้น มันไม่น่าจะใช่จีทูจี ที่ซื้อขายรัฐต่อรัฐ แต่เป็นการขายผ่านนายหน้า ที่แบ่งเค้กกันเรียบร้อยแล้ว

โดยนายหน้าจะร่วมมือกับบริษัทในเครือข่าย ที่อ้างว่าเป็นรัฐวิสาหกิจประเทศต่างๆ โดยที่ทางการประเทศนั้นไม่รู้เรื่อง

เมื่อบริษัทเหล่านี้มารับมอบข้าวก็ขายในไทย บางส่วนก็ขายให้ผู้ส่งออกที่มีออเดอร์แต่ไม่มีข้าวในมือ (ซื้อถูกกว่าที่จะไปประมูลซื้อจากรัฐ) และบางส่วนอาจไปขายประเทศอื่น ที่เป็นลูกค้าเดิมของไทยนี่แหละ

ที่เป็นรัฐวิสาหกิจจีนจริงๆ ก็มี ซึ่งมีการตกลงกันภายในว่าจีนจะช่วยรับซื้อข้าวจากไทย 2 ล้านตัน แลกกับการให้บริษัทของจีนได้ร่วมโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

ส่วนนายหน้าที่ได้รับแบ่งเค้ก (ข้าว) ไปเร่ขายนั้น เป็นกลุ่มเดิม ทั้งบริษัท ส. ที่เคยเป็นไม้เป็นมือมาก่อน แต่คราวนี้ล็อตใหญ่ทำคนเดียวไม่ไหว ต้องดึงอีก 3-4 รายมาร่วม เช่น บริษัท เอ. บริษัท เจ. และบริษัท ที.

ที่น่าสนใจคือ คำพูดของ "บุญทรง" ที่ว่า "การระบายจีทูจีในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ทำแบบเดียวกัน"

ใช่ เป็นวิธีการเดียวกัน ที่สำคัญนายหน้ากลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันที่เคยร่วมมือบริษัทที่อ้างว่าเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนมาซื้อข้าวสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์

เป็นกลุ่มนักการเมืองที่เคยทำงานในกระทรวงพาณิชย์สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว

เหตุผลง่ายๆ ที่ต้องอ้างว่าเป็นการขายจีทูจี ก็เพื่อจะอ้างได้ว่าขายราคาถูกในราคามิตรภาพ

ที่สำคัญคือจีทูจี มันซิกแซ็กได้ ไม่ต้องเปิดเผยข้อมูล ด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นว่า เป็นความลับของประเทศผู้ซื้อ

ส่วนต่างราคาที่ขายถูกแบบจีทูจี ถูกจัดสรรแบ่งปันกันไปแต่ละส่วน นักการเมืองได้ไป 20-30 เหรียญ/ตัน ส่วนนายหน้าและบริษัทที่อ้างเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศนั้นๆ จะได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ว่าไปปล่อยขายได้ราคาเท่าไร

ที่ว่าขายแบบ "จีทูจี" นั้นน่าจะเป็น "เจี๊ยะทูเจี๊ยะ" มากกว่า

มติชนออนไลน์




วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รอยเตอร์บังอาจวิจารณ์นโยบายจำนำข้าว!!







"เผารอยเตอร์!! มันเลยมั้ยพี่น้อง รอยเตอร์มันเป็นสื่อรับใช้อำมาตย์" แกนนำฟายแดงถาม??


รอยเตอร์” จวกโครงการจำนำข้าวรบ. “ปู” สุดเหลวแหลก ชี้จะกลายเป็นบ่วงรัดคอตัวเอง



รอยเตอร์  รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทยกำลังตกอยู่ใต้แรงกดดันที่เพิ่มสูงต่อการเดินหน้านโยบายจำนำข้าวในราคาสูงลิ่วจนกระทบต่อการส่งออก แม้การยอมถอยในเรื่องนี้ของทางรัฐบาลดูจะเป็นเรื่องที่ยากยิ่งในทางการเมือง

สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุ นโยบายรับจำนำข้าวให้กับชาวนาที่อัตรา 15,000 บาทต่อตัน ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังทำให้บรรดาผู้ส่งออกข้าวไทย “หมดปัญญา” ที่จะหาผู้รับซื้อในต่างประเทศ และส่งผลให้ข้าวไทยปริมาณกว่า 12 ล้านตันต้องตกค้างอยู่ในโกดังของรัฐ กระทบการส่งออกอย่างเลวร้าย

ขณะที่บรรดานักวิชาการและนักวิเคราะห์ต่างระบุ การกำหนดราคาข้าวที่ตันละ 10,000-12,000 บาท น่าจะมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า และมีความยั่งยืนมากกว่าแต่ถึงกระนั้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยซึ่งประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งจากการชูนโยบายดังกล่าว ที่ได้รับแรงสนับสนุนแรงงานภาคเกษตรที่มีสัดส่วนสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั้งประเทศ ดูเหมือนจะไม่สามารถหาทางถอยหลังกลับได้ง่ายนักในกรณีนี้ แม้จะเป็นเป็นที่ทราบกันดีว่า นโยบายประกันราคาข้าวที่สูงลิ่วนี้เป็นไปเพราะแรงกระตุ้นทางการเมืองมากกว่า ความเป็นเหตุเป็นผลทางเศรษฐกิจ

ขณะที่นักวิชาการไทยมองว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังผลาญเงินของผู้จ่ายภาษีชาวไทย ให้หมดไปกับการซื้อคะแนนเสียงทางการเมืองให้กับกลุ่มทางการเมืองของตน มากกว่าที่จะใส่ใจชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของชาวนาไทย และนโยบายดังกล่าวถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเลือกตั้งโดยเฉพาะ 

แม้ทางด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ขุนคลังของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันจะพยายามออกมาแก้ต่างว่า นโยบายข้าวของรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในภาวะที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังประสบปัญหาจากความซบเซาในตลาดโลก

รายงานของรอยเตอร์ระบุว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เคยเตือนรัฐบาลไทยผ่านรายงานเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่าโครงการจำนำข้าวจำเป็นต้องถูกจับตาตรวจสอบ และปรับปรุงเสียใหม่หากมีความจำเป็น โดยเฉพาะในกรณีของต้นทุนและความเสียหายทางเศรษฐกิจ

แต่ดูเหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เพิกเฉยต่อคำเตือนของไอเอ็มเอฟ โดยต้นทุนการแทรกแซงบิดเบือนกลไกราคาข้าวของรัฐบาลในปีงบประมาณและปีการเก็บเกี่ยวผลผลิตนับจากเดือนตุลาคม 2011 อยู่ที่ 80,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของเป้าการขาดดุลงบประมาณของประเทศ ขณะที่ยอดหนี้สาธารณะของไทยสูงถึงระดับ 43 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีแล้ว จากการเปิดเผยของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุด

ยิ่งไปกว่านั้น ดูเหมือนโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้ง พ่อค้าคนกลาง บริษัทรับประกัน เจ้าของโกดัง เจ้าของโรงสี และพวกที่รับจ้างตรวจสอบข้าว ที่ต่างมีการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และทุจริตในแทบทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ชาวนาไทยซึ่งควรจะเป็นผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง กลับต้องยอมขายข้าวในราคาที่ต่ำกว่าราคาประกันของรัฐบาลกว่าครึ่ง และแทบไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากโครงการนี้

ส่วนผลผลิตข้าวที่ควรจะถูกส่งออกไปจำหน่ายเพื่อนำรายได้เข้าประเทศนั้น กลับต้องถูกเก็บแช่อยู่ตามโกดังต่างๆ เพราะขายไม่ออก เนื่องจากไม่มีผู้ซื้อรายใดในตลาดโลกยอมจ่ายเงินที่แพงกว่าเพื่อซื้อข้าวไทย ที่ราคาสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลให้รัฐบาลต้องประสบปัญหาในการหาสถานที่เก็บข้าวเพิ่ม ถึงขั้นต้องขอความร่วมมือจากกองทัพให้ช่วยหาสถานที่รองรับข้าว

อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆต่อโครงการดังกล่าว อาจนำมาซึ่งสิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยไม่พึงปรารถนา นั่นก็คือ “ความพ่ายแพ้” ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ดังนั้นจึงแทบมองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะล้มเลิกหรือถอยหลังกลับ แม้ถึงจุดๆหนึ่ง นายกรัฐมนตรีหญิงของไทยจะต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปเพื่อรักษาคะแนนเสียงทางการเมือง แต่ต้องยอมแลกมาด้วยสิ่งที่บรรดานักวิเคราะห์อิสระทั้งหลายลงความเห็นว่าเป็น “ความไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ”


http://astv.mobi/A38FBSQ


------------------------

ต้นฉบับข่าว reuters

Reuters) - Thailand's government is under growing pressure to cut its guaranteed price for rice which is so high exports have slumped, and even some farmers accept a cut might be needed, but it may find it politically hard to back down.

The government is paying farmers 15,000 baht ($490) per metric ton (1.1023 tons) for their rice and, since exporters are unable to find buyers at that level, it has ended up with about 12 million metric tons in state stockpiles, more than it exports in a good year.

Academics and analysts say a price of 10,000 to 12,000 baht may be more realistic and sustainable, but Prime Minister Yingluck Shinawatra and her Puea Thai party rode to electoral success on the back of the policy, securing the votes of agricultural workers who make up 40 percent of the workforce.

Adis Israngkura Na Ayudhaya, dean of the School of Development and Economics at the National Institute of Development Administration, says the scheme was always politically rather than economically motivated.

"The government is using taxpayers' money to buy votes. It's not the welfare of the farmers they care about. It's something they promised the public, an electoral thing, so at the next election they can say to people they kept their word," he said.

Yingluck is the sister of Thaksin Shinawatra, a former telecoms tycoon who pioneered similar populist policies when he was prime minister, before being ousted by the military in 2006.

Thaksin remains hugely popular among rural people in the north and northeast and the urban poor, and is widely believed to be eyeing a return from self-imposed exile.

Finance Minister Kittirat Na Ranong argues that the rice policy will help the economy as it will boost consumer spending at a time when industry is suffering because of the global slowdown.

The International Monetary Fund (IMF), in a June report on Thailand, agreed that the government's various fiscal stimulus policies were opportune but it also said income redistribution schemes, especially the rice program, needed to be monitored and adapted if necessary to contain costs.

The government is ignoring that advice. On Tuesday, it put the cost of rice intervention for the fiscal and crop year from October 2011 at 80 billion baht, a fifth of the projected budget deficit.

Public debt, as central bank Governor Prasarn Trairatvorakul noted this week, is not really a concern at 43 percent of gross domestic product. But it is on the rise, and both Prasarn and the IMF called for more efficiency in public expenditure.

Critics say the rice scheme could not be more inefficient: it helps middlemen, millers and rich land owners as much as poor farmers, it has caused an alarming slump in exports and the state is making huge losses, with little visible benefit.

"FARMERS GET VERY LITTLE"

The scheme is providing political ammunition for the opposition Democrat party and will feature prominently in a censure motion it plans to put to parliament.

Governments of all hues, including the Democrats, have intervened in the rice market for years, but previous schemes have never been as generous or as costly as Yingluck's, who offered twice the market price in the run-up to the election.

"The Democrat system was far better," said one international rice trader, who declined to be identified. "They didn't buy the rice, store the rice or hold the rice. They just gave the farmers the difference between the market price and 11,000 baht.

"Insurance companies, warehouse owners, millers and inspectors all make money because now the government has to pay them," said the trader.

In an indication of the difficulty authorities are having in coping with the rice glut, army chief Prayuth Chan-ocha told reporters on Tuesday the government had asked the army to come up with storage space for stocks.

Prayuth, whose relations with the government are closely watched by many Thais for any sign of tension, said he did not support the rice scheme but would follow orders.

Faced with questions about the wisdom of the scheme, some farmers say a lower price would be better if it meant the scheme remained in place.

"I would take a slightly lower intervention price of 10,000 or 12,000 baht rather than the current 15,000 baht per metric ton. But please, do not scrap the scheme. It is the only scheme the government should be running to help the poor," said Supawadee Nilkun, 52, a farmer in Nong Chok district on the northeastern fringes of Bangkok.

Indeed, millers and middlemen might be more attached to the higher price, according to Thitinan Pongsudhirak, a political analyst at Chulalongkorn University. While the government pays 15,000 baht for each metric ton of rice, this often goes to middlemen who pay the farmers less, charging for transport from the fields or arguing that the grain is low quality.

"The farmers get very little. The millers take the 15,000 guaranteed and give farmers roughly half of that. That's why the farmers say they would settle for lower than 15,000 - because they're not getting that much anyway," Thitinan said.

"The Yingluck government can't be seen to betray the farmers, so they would have to package and modify the policy in a way that would mollify the farmers," he added.

Certain people, like the international trader, thought any change at all could lose Yingluck the next election. "The farmers have tasted blood. She can't go back and say 'I'm sorry'."

The farmers spoken to by Reuters suggested the rice policy was a big factor in their support for Yingluck, but their devotion to her went beyond the rice pledge scheme.

"The government should change other policies to help support exporters, or seek ways to get more money to fund the scheme. But it should never change this rice policy. Never," said Supawadee.

But asked if they would vote for her even if the scheme were scrapped entirely, the farmers said they would.

"Yingluck is a good person. She cares for us. She cares about farmers, who are the majority of the country," said Supawadee.

At some point, Yingluck will have to decide whether she can carry on nurturing that majority at the expense of a policy that most independent analysts see as economically unsustainable.

"Because your workforce is so strongly agriculturally based, you have to support them. But you have to make it sensible. The whole world has rice at $500 a metric ton, why would you buy at more?" the trader asked. ($1 = 30.6550 baht)

(Additional reporting by Apornrath Phoonphongphiphat; Editing by Alan Raybould and Robert Birsel)

-----------------


คลิกอ่าน แฉรัฐบาลโกหกหน้าด้าน ขายข้าวแบบจีทูจี


แฉรัฐบาลโกหกหน้าด้านๆ ขายข้าวจีทูจี







ชาวนาไทยปลูกข้าวมาเพื่อขายให้รัฐบาล รัฐบาลยิ่งลักษณ์ซื้อข้าวจากชาวนาในราคาที่แพงกว่าตลาดโลก เป็นผลให้ข้าวไทยขายไม่ออก

แต่รัฐบาลก็ยังโกหกหน้าด้านๆ ว่า ได้ขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีแล้วไป 7-8ล้านตัน

หากขายข้าวแบบจีทูจี มันแปลง่ายๆ ว่าขายแบบราคามิตรภาพ หรือที่รับรูักันว่า ขายต่ำกว่าราคาตลาดโลก และไทยต้องซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้านั้นเป็นการตอบแทนเช่นกัน

หรืออาจจะเป็นแบบแลกเปลี่ยนข้าวกับสินค้าชนิดอื่นก็ได้ โดยไม่ต้องจ่ายเป็นเงิน

แต่ดูจากท่าทีรัฐบาลที่ไม่กล้าเปิดเผยรายชื่อประเทศที่ซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยแล้ว นั่นก็แปลว่า รัฐบาลกำลังพยายามโกหก และปกปิดซ่อนเร้น เพราะว่าถ้ารัฐบาลขายข้าวได้จริง ขายไม่ขาดทุน ป่านนี้พรรคเพื่อไทยต้องรีบออกมาคุยโวโอ้อวด เสนอหน้าเยาะเย้ยฝ่ายค้านไปแล้ว

หากรัฐบาลไทยขายข้าวแบบจีทูจี8ล้านตันได้จริง ป่านนี้โรงงานกระสอบต้องได้รับคำสั่งซื้อกระสอบนับร้อยล้านใบแล้ว ต้องมีการจองคิวเรือบรรทุสินค้าล่วงหน้าแล้ว

แต่ปรากฏว่า ไม่มีความเคลื่อนไหวทั้งสองอย่างเลย ทั้งการเร่งผลิตกระสอบใส่ข้าว และการจองคิวเรือบรรทุกสินค้าแล้ว

และอย่างพรรคเพื่อไทยน่ะเหรอ ที่จะไม่รีบเอาหน้า

ทีนี้ผมขอลอกคำสัมภาษณ์ของนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าว มาเน้นให้อ่านแบบชัดๆ ว่า รัฐบาลเพื่อไทยโกหกหน้าด้านแค่ไหนครับ


---------------------------

สมาคมผู้ส่งออกข้าวแฉรบ.โกหกขายจีทูจี ห่วงชาวนาไม่รู้ตัวหายนะกำลังมาเยือน

นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวยันตรวจสอบทุกประเทศแล้ว ไม่มีการขายข้าวแบบจีทูจีจากรัฐบาลไทยแม้แต่เม็ดเดียว จี้แบงก์ชาติตรวจสอบว่ามีเงินเข้ารัฐจริงหรือเปล่า พร้อมเตือนชาวนา ดีใจวันนี้แต่ยังไม่รู้ตัวอันตรายกำลังจะมาถึง เพราะรัฐคงอั้นไว้ได้อีกไม่นาน

วันที่ 9 ต.ค. นายวิชัย ศรีประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าว ให้สัมภาษณ์ในรายการ "คนเคาะข่าว" ผ่านทางโทรศัพท์ว่า โครงการจำนำข้าว เชื่อว่ารัฐบาลมีเจตนาดีต่อเกษตรกร แต่ความสมดุลไม่ดี ที่ผ่านมารัฐบาลอยากไล่ราคาตลาดโลกให้สูงถึงตันละ 15,000 บาทข้าวเปลือก ไล่มา 12 เดือนแล้ว ตลาดโลกไม่ยอมตาม ในประเทศก็ไม่เคยขายได้ เอกชนไม่ซื้อเพราะซื้อไปก็ขายไม่ได้

แม้ว่าราคาข้าวขึ้น 19 เปอร์เซ็นต์ แต่รายรับจากการขายข้าวไปต่างประเทศลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ เพราะราคาสูงเกินไปทำให้ขายได้น้อย ในเมื่อทดลองมาแล้ว 12 เดือน เห็นชัดเจนว่าราคานี้มันสูงเกินไป ยอดขายของผู้ส่งออกหายไปครึ่งหนึ่งแล้ว

แต่รัฐบาลยังคงไม่ยอมปรับ ปกติตามกลไกตลาดถ้าขายไม่ได้ต้องลดราคา ถ้าขายได้ถึงเพิ่มราคา แต่รัฐบาลใช้ราคาตั้งโด่นี้มาทั้งปี แล้วยังจะต่อปีที่สอง ทั้งๆที่หนึ่งปีไม่สำเร็จ ก็ยังจะทำอีก ทำผู้ส่งออกข้าวลำบาก ข้าวเสียหายมาก

นายวิชัย กล่าวต่อว่า รัฐบาลไม่มีปัญญาระบายข้าว เอกชนก็ไม่มี เรื่องขายข้าวแบบจีทูจี (รัฐต่อรัฐ) เป็นเรื่องพิสดารมาก เพราะ 12 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ยังไม่มีการส่งมอบข้าวในระบบจีทูจีแม้แต่เม็ดเดียว ไม่มีหลักฐานเลยว่ามีการส่งออก

เราไปตรวจสอบทุกประเทศที่รัฐบาลกล่าวว่าได้มีการขายไป เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ จีน ไอเวอรีโคสต์ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฟิลิปปินส์ ไม่ได้ซื้อข้าวจากไทย อินโดนีเซีย มีส่งออกไม่ถึง 3 แสนตัน แล้วที่ส่งมอบนี้เป็นสัญญาที่ตกลงไว้ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน ส่วนบังกลาเทศไม่มีเลย

ไอเวอรีโคสต์ ส่งออกแค่แสนตัน แล้วเป็นเอกชนที่ขายไม่ใช่รัฐบาลขาย จีนก็เป็นเอกชนขาย ประมาณ 1-2 แสนตัน ยอดทั้งหมดที่ส่งออกจากไทย ไม่มีอะไรบ่งบอกเลยว่ารัฐบาลมีการขายข้าวให้รัฐบาลต่างประเทศ เป็นเอกชนที่ขายทั้งหมด

แล้วหากรัฐบาลบอกว่าที่เอกชนขาย คือรัฐบาลขายไปต่างประเทศแล้วให้เอกชนส่งแทนที่หน้าโกดัง เป็นเรื่องพิสดาร เพราะสัญญาซื้อขายรัฐบาลต่อรัฐบาล รัฐบาลไทยต้องส่งมอบข้าว แล้วต่างชาติจ่ายเงินมาให้รัฐบาลไทย เข้าใจว่าแบงก์ชาติตรวจได้ง่ายว่ามีเงินเข้ารัฐบาลไทยหรือเปล่า ถ้ามีก็แสดงว่ามีการขายจีทูจี ถ้าไม่มีก็คือไม่มี เราเป็นพ่อค้าติดตามอยู่ทุกวันไม่เห็นเลยว่ามีการขายไปต่างประเทศ

นายวิชัย กล่าวอีกว่า อยู่ๆรัฐบาลมาบอกว่าผู้ส่งออกกดราคาแล้วไม่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ทั้งๆที่เรารับใช้เกษตรกรมาหลายสิบปี เราขายได้ราคาสูงที่สุด แล้วเกษตรกรผลิตได้เท่าไหร่เราขายให้หมด

แต่เวลานี้รัฐบาลมายุ่งเรื่องราคา เกษตรกรดีใจเห็นรัฐบาลเป็นเทวดา รับซื้อในราคาแพงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังไม่รู้สึกตัวว่าข้าวที่ปลูกมาจะระบายไม่ได้ ขายไม่ได้ก็ปลูกไม่ได้ อันตรายกำลังจะมาถึง แล้วมันอุ้มไปได้ไม่นาน เวลาใกล้จะหมดแล้ว อย่างไรก็ต้องโผล่ขึ้นมาว่ามันอยู่ไม่ได้

ส่วนกรณีที่นายกฯบอกว่าเป็นเอ็มโอยูซื้อขายข้าว ตนไม่เชื่อว่ามีสัญญา แล้วการค้าขายข้าวไม่ใช่แค่เอ็มโอยู มีสัญญญาซื้อขายก็ยังใช้ไม่ได้ จนกว่าจะมีการเปิด L/C (LETTER OF CREDIT) มาให้เรา หมายความว่าไปขอให้แบงก์สัญญากับเราว่าจะจ่ายเงินให้ ถ้าส่งข้าวให้เขา แล้วถ้า L/C ไม่มาก็ไม่สำเร็จ จะอย่างไรก็แล้วแต่ถ้าการจ่ายเงินให้เราไม่มีหลักฐาน ใครจะกล้าส่งข้าวไป ไม่สำคัญว่าเป็นเอ็มโอยูหรือสัญญาซื้อขาย จนกระทั่งมี L/C ซึ่งเรื่องพวกนี้ต้องเปิดเผย จะมาอ้างโน่นอ้างนี่ไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องต้องห้าม



ดูชัดๆ ตัวเลขการส่งออกข้าว เป็นของเอกชนล้วนๆ รัฐบาลขายไมได้สักเม็ด!!




วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตุลย์รยา จันทะวงศ์ เจ๋งที่สุดอีกคนในThe Voice






คุณตุลย์ สาวสวยน่ารักวัย29 คุณแม่ยังสาว ทำให้ผมต้องหลงเสน่ห์เธอจริงๆ เธอร้องเพลงได้สนุก น่ารัก และมีลีลาบนเวทีดึงดูดใจอย่างมีเสน่ห์มากๆ เสียงของเธอก็โดดเด่นสุดๆ

คุณแม่ยังสาวมาร้องเพลงเพื่อเก็บไว้ให้ลูกสาวของเธอภูมิใจแม่ เมื่อลูกเธอโตขึ้น

ผมเฝ้ารอดูเธอคนนี้ มาตั้งแต่รายการได้ตัดช่วงเธอร้องมาโฆษณา สุดท้ายเธอออกมาเกือบคนสุดท้ายของรายการวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

เพลง Mercy

เธอน่ารักมากๆๆ ครับ

และเธอนับเป็นคนที่สองของรายการนี้ที่ทำให้ผมชอบสุดๆ ต่อจากคุณเก่ง



ทีนี้เรามาดูต้นฉบับเพลง Mercy ครับ ซึ่งผมว่าคุณตุลย์ ร้องน่ารักร้องสนุกอย่างกินขาด!!




และคลิปต้นฉบับเพลงนี้ ก็โดนคนไทยตามไปเกรียนเช่นเคย 5555

พวกฝรั่งเห็นคอมเมนท์คนไทยในภาษาไทย ต่างพากันแจ้งให้เป็นสแปมกันใหญ่


คลิกอ่าน เหตุผลที่ ตุลย์ น่าแพ้ ฟรอนท์ ในรอบ Battle