วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สกู๊ปไทยพีบีเอสชี้ราชบัณฑิตฯ พลาดที่กำหนดคำว่า โรฮีนจา






ราชบัณฑิตฯ อยู่ดีไม่ว่าดี ออกมาเสนอศัพท์ใหม่คำว่า โรฮีนจา ใช้แทนคำว่า โรฮิงญา โดยราชบัณฑิต นำไปเทียบเคียงจากการแปลงภาษาอังกฤษเป็นภาษาพม่า

ความผิดพลาดของราชบัณฑิตฯ ไทย กับคำว่า โรฮีนจา อยู่ตรงที่

1. รัฐบาลพม่าไม่เคยยอมรับชาวโรฮิงญา จึงไม่เคยเรียกกลุ่มชนกลุ่มนี้ว่า โรฮิงญา เพราะถ้ารัฐบาลพม่ายอมเรียกว่า โรฮิงญา ก็เท่ากับเป็นการยอมรับชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้

ดังนั้นรัฐบาลพม่าจึงเรียกชาวโรฮิงญาว่า บังกาลีกะละ ซึ่งแปลว่า แขกที่มาจากบังคลาเทศ

2. แม้แต่คนโรฮิงญาเอง เขาก็เรียกตัวเองว่า โรฮิงญา โดยประธานสมาคมชาวโรฮิงญาในประเทศไทย ก็ได้ยืนยันว่าการออกเสียงว่า โรฮิงญา นั้นถูกต้องแล้ว

3. คำว่า โรฮิงญา รากศัพท์เดิมมาจากภาษาอาหรับ จากคำว่า "ระห้ำ" จากนั้นก็มาเป็น "โรฮั่ง" และมาเป็น "โรฮิ่ง"...จนกระทั่งเป็นโรฮิงญาในที่สุด จึงไม่มีความข้องเกี่ยวกับภาษาพม่าแต่อย่างใด

การที่ราชบัณฑิต ไปแปลงคำว่า Rohingya กลับไปเป็นภาษาพม่า จึงเป็นการแปลงหลักภาษาที่ผิด

เพราะภาษาอังกฤษ คำว่า Rohingya อ่านว่า ro - hing - ya มาจากชื่อการเรียกตัวเองของชาวโรฮิงญา

แต่ราชบัณฑิต กลับไปยึดเอาภาษาพม่าเป็นหลัก เลยแปลงภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาพม่า จึงได้ตามนี้ Ro - hin - nga = โร - ฮีน - จา

ซึ่งมันผิดไปหมด

ส่วนผู้สื่อข่าวในเครือเนชั่น ยืนยันว่า เนชั่นจะใช้คำว่า โรฮิงญา เหมือนเดิม

เชิญชมสกู๊ปข่าว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นครับ


เท่าที่เห็นตอนนี้ ข่าวช่อง 3 ข่าวไทยพีบีเอส และช่อง 9 อสมท. ได้หันกลับมาใช้คำว่า โรฮิงญา ตามเดิมแล้ว

ถามจริง ๆ เถอะ ชาวโรฮิงญา เขาเรียกตัวเองว่า โรฮิงญา อีกทั้งสื่อไทยก็ใช้คำ ๆ นี้จนแพร่หลายไปแล้ว แต่อยู่ ๆ ราชบัณฑิตว่างจัด ดันไปคิดตั้งชื่อเผ่าพันธุ์ให้เขาใหม่ ราชบัณฑิตไม่รู้สึกผิดบ้างเหรอ ?

ถ้าราชบัณฑิต จำได้ บัญญัติคำว่า คณิตกรณ์ แทนคำว่า คอมพิวเตอร์ ซึ่งก็ไม่มีใครใช้ เพราะสังคมไทยใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ จนคำว่า คอมพิวเตอร์ จนกลายเป็นภาษาไทยไปแล้ว

-------------

เมียนมาร์ เป็นภาษาสากล ไม่ใช่ภาษาไทย

ยังมีอีกคำที่ ราชบัณฑิตไม่ควรจะแส่ออกมาบัญญัติการเขียนใหม่ นั่นคือ คำว่า เมียนมาร์ เพราะคำนี้อ่านว่า เมียน-ม่า ซึ่งเป็นการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อแปลงจากภาษาอังกฤษแล้วต้องเขียนว่า เมียนมาร์ จึงจะถูกต้อง

เพราะตัวอักษร r ในคำว่า mar ต้องแปลงเป็น ร.เรือ แต่เมื่อไม่ได้ออกเสียงในภาษาไทย ก็ให้เติมการันต์บน ร.เรือ แทน

ดังนั้นคำว่า Myanmar จึงควรเขียนว่า เมียนมาร์ นั้นถูกต้องดีอยู่แล้ว

แต่ราชบัณฑิต กลับมามาเสนอเรื่องไม่เป็นเรื่องว่า ควรเขียนว่า เมียนมา ซึ่งจะกลายเป็นว่าต้องอ่านออกเสียงว่า เมียน - มา ซึ่งเป็นการออกเสียงที่ผิด

ทั้ง ๆ ที่ สิ่งที่ราชบัณฑิตควรทำที่สุดคือ ควรออกมาสอนให้สื่อทุกสื่อใช้คำว่า พม่า ซึ่งเป็นคำไทยในการเรียกประเทศทางฝั่งตะวันตกของไทยมาช้านานแทนคำว่า เมียนมาร์ จึงจะถูกต้อง

เพราะ พม่า คือ ภาษาไทย

ส่วนเมียนมาร์ เป็นชื่อในภาษาสากล

คลิกอ่าน สื่อไทยมันโง่ที่เรียก พม่า ว่า เมียนมาร์


วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ย้อนรอย เกิดอาเพศเมื่อเสนียดเฉียดกรายพระธาตุเชิงชุม








6 มี.ค.2557 - นายกรัฐมนตรีเดินทางไปห่มผ้าพระธาตุเชิงชุม ที่วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร ด้านเจ้าอาวาสให้พรขอให้เป็นนายกฯ ไปนานๆ พร้อมให้ข้อคิดคนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปห่มผ้าพระธาตุเชิงชุม ที่วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร สักการะหลวงพ่อพระองค์แสน โดยพระเทพสิทธิโสภณ

เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อวยพรให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีไปนานๆ ให้อยู่กับที่ไม่ต้องไปไหน และให้ข้อคิดเป็นกำลังใจว่า "คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก"

ทำให้นายกรัฐมนตรีกล่าวตอบว่า "ตนโดนหนักมากกว่าใครๆ โดนทุกวันวันละ 3 เวลาเลย"

ต่อจากนั้นนายกฯ ได้เป็นประธานในพิธีถวายผ้าห่มองค์พระบรมธาตุเชิงชุมที่เขียนชื่อของนางสาวยิ่งลักษณ์บนผืนผ้าเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยมีพระเทพสิทธิโสภณเป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ซึ่งนายกก็ได้นำคณะจับด้ายสายสิญจน์จนจบพิธีและกล่าวสาธุ 3 ครั้ง

และต่อจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้ากราบลาเจ้าอาวาส ซึ่งเจ้าอาวาสได้พูดกับนางสาวยิ่งลักษณ์ว่า "อย่าไปไหนเด้อ ขอให้นั่งเก้าอี้เดิม ผูกข้อมือไว้ให้แล้ว" 

ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ยกมือสาธุอีกครั้งก่อนเดินไปทักทายประชาชนอีกครั้งก่อนเดินทางออกจากวัดไปภารกิจต่อไป

(ข่าวสำนักข่าวไทยและกรุงเทพธุรกิจ)

==================

หลังผ่านไป 14 วัน

---------------------
พายุร้อนซัดเมืองสกลนคร ยอดฉัตรพระธาตุเชิงชุมหักเอียง

21 มี.ค. 57 สกลนคร - พายุฤดูร้อนซัดถล่มตัวเมืองสกลนคร พัดยอดฉัตร พระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ซึ่งอยู่ระหว่างการบูรณะปิดทองหักเอียง บ้านเรือนประชาชนพังยับ ต้นไม้-เสาไฟฟ้า-เสาวิทยุชุมชนหักโค่นทับบ้านเรือน ส่งผลไฟฟ้าดับทั้งเมือง

ผู้สื่อข่าวจังหวัดสกลนครรายงานว่า เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 20 มีนาคม  2557 เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำเขตเทศบาลนครสกลนคร อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายหลายแห่ง โดยเฉพาะองค์พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสกลนครเคารพกราบไหว้นับกว่า 100 ปี ถูกลมพายุพัดยอดฉัตรของพระธาตุ ซึ่งอยู่ในระหว่างการบูรณะปิดทองหักจนมีสภาพเอียงพิงอยู่กับนั่งร้านไม้ไผ่ 

ชึ่งชาวบ้านเกรงว่าหากพายุพัดผ่านมาอีกรอบอาจจะทำให้ยอดพระธาตุตกลงมาได้



นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายหลายหลังคาเรือน รวมทั้งเสาส่งวิทยุชุมชน 3 ต้น ซึ่งสูงกว่า 90 เมตรหักโค่นทับบ้านเรือนและรถยนต์ ต้นไม้ เสาไฟฟ้าหักโค่น ทำให้ไฟฟ้าดับทั้งเมือง

(ข่าว astv)

----------

หลังจากนั้นอีก 2 เดือนกับ 2 วัน ก็เกิดการรัฐประหารโดย คสช. 

คลิกอ่าน สมชายโฉด หญิงยิ่งชั่ว ก่อเสนียดบังอาจไม่เจียมตน






วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มุมมองต่าง รัฐบาลเพิ่มวันหยุดยาวยิ่งฉุดเศรษฐกิจไทยตก






เกริ่น

สมัยตอนผมเด็ก ๆ วันสงกรานต์จะมีวันหยุดแค่เพียงวันเดียวคือ วันที่ 13 เมษายนเท่านั้น ไม่เคยมีรัฐบาลในยุคนั้นประกาศให้มีวันหยุดเพิ่ม

แต่ต่อมา ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นสมัยรัฐบาลชาติชาย ที่มองเห็นว่า วันสงกรานต์เป็นวันสำคัญของคนไทยที่จะได้เดินทางกลับไปหาพ่อแม่ ญาติพี่น้อง จึงประกาศให้มีวันหยุดในช่วงสงกรานต์เพิ่มมากขึั้น คือเพิ่มวันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัวเข้าไปอีก เพื่อให้คนไทยที่มาทำงานต่างถิ่นมีเวลาเดินทางได้สะดวกและยาวนานขึ้น

และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สงกรานต์ก็เลยเป็นวันหยุดยาวโดยจะพ่วงเสาร์อาทิตย์เข้าไปด้วย แถมการเล่นน้ำสงกรานต์ก็กลายเป็นมหกรรมเล่นน้ำทั่วประเทศที่หนักหน่วงขึ้นและเสื่อมมากขึ้น

หลายครั้งที่วันหยุดสงกรานต์เป็นช่วงกลางสัปดาห์ แล้วอาจเจอวันศุกร์ที่ต้องกลับมาทำงาน หลายรัฐบาลก็มักประกาศให้หยุดยาวต่อเสาร์อาทิตย์ไปเลย โดยอ้างว่า เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย กระตุ้นการใช้จ่ายของผู้คน กระตุ้นเศษฐกิจ

ทีนี้ผมได้เจอข้อเขียนของอาจารย์พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ กูรูเรื่องรถยนต์ ในเว็บข่าวคมชัดลึก โดยอาจารย์พัฒนเดชได้มีมุมมองที่แตกต่างว่า การที่มีวันหยุดยาวน่าจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจให้ตกมากกว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ลองอ่านกันดูก่อนครับ แล้วผมจะสรุปปิดท้าย



-------------------------

วันหยุด...ฉุดเศรษฐกิจไทย

โดย พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ

ดูท่าจะเป็นประเพณีของรัฐบาลไทยทุกรัฐบาลไปเสียแล้ว สำหรับการประกาศให้วันทำงานที่อยู่ระหว่างวันหยุดที่เรียกกันว่า “วันฟันหลอ” เป็นวันหยุดต่อเนื่องเพิ่มไปจากวันหยุดตามเทศกาลหรือวันหยุดราชการต่างๆ โดยหลักปฏิบัติดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ครั้ง พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อเป็นของขวัญให้แก่ประชาชน

ก่อนหน้านั้นไม่ว่าวันหยุดในเทศกาลใด ๆ จะมีกี่วัน และจะมีวันทำงานคั่นกลางหรือไม่ก็ตาม การประกาศวันหยุดอย่างเป็นทางการจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวันหยุดของธนาคาร ซึ่งกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จะไม่มีการหยุดต่อเนื่องอย่างเป็นทางการเกินกว่าจำนวน 4 วัน ด้วยเกรงว่าจะส่งผลกระทบไปยังผู้ประกอบการธุรกิจทั้งหลายด้วย

ในขณะที่ภาครัฐคิดว่า การประกาศให้มีวันหยุดเพิ่มขึ้นคือการให้ของขวัญแก่ประชาชน

แต่ในขณะเดียวกันวันหยุดยาวกลับสร้างเสียหายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจก็มีไม่น้อย เช่น ภาคการผลิตที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ก็จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานเท่ากับการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด หรือบางหน่วยการผลิตอาจจะถึงขั้นขาดแรงงานที่จำเป็นต้องทำงานไป

เงินทองที่หวังว่าจะสะพัดตามแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศก็เปลี่ยนไป เพราะคนไทยยุคสมัยนี้นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศกันมากขึ้น ยิ่งมีวันหยุดยาวต่อเนื่องกันหลายวันจำนวนคนที่เดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นย่อมหมายถึง เงินจำนวนมากต้องไหลออกไปยังต่างประเทศ

สิ่งสำคัญที่สุดในการมีวันหยุดยาวต่อเนื่องโดยไม่จำเป็น คือเป็นการเพาะนิสัยให้คนไทยขาดวินัย, ความอดทน และความรับผิดชอบต่อการทำงาน เพราะเท่าที่ผ่านมาทุกเทศกาลที่มีการประกาศวันหยุดพิเศษเพิ่มให้ของทุกปี คนไทยจำนวนไม่น้อยก็ยังหยุดทำงานหรือหยุดทำมาค้าขาย มากขึ้นไปกว่าวันหยุดที่ได้รับจากการประกาศนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพอิสระเช่น ผู้ค้าขายรายเล็กรายน้อยหรือผู้รับจ้างทำงานรายวัน

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ซึ่งมีวันหยุดตามประกาศต่อเนื่องกันนานถึง 5 วัน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า มีคนหยุดงานล่วงหน้าหนึ่งถึงสองวัน ด้วยข้ออ้างว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางที่คับคั่งเต็มไปด้วยรถยนต์บนเส้นทาง และอีกจำนวนมากที่หยุดต่อเนื่องในวันทำงานอีก 2 วัน เพื่อไปบรรจบกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ต่อไป ทำให้กลายเป็นมีวันหยุดไม่ต้องทำงานยาวถึง 9 วัน โดยสังเกตได้จากสภาพการจราจรในกรุงเทพ ฯ และจำนวนรถยนต์ที่วิ่งกันบนท้องถนนทั้งในกรุงเทพ ฯ และบนเส้นทางที่ทอดตัวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

การใช้ชีวิตที่ชอบวันหยุดยาวนานมากขึ้น และมีรายจ่ายทางการเงินมากขึ้นเช่นนี้ ทำให้ภาคการผลิตหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว เพราะมีความมั่นคงมากกว่าที่จะพึ่งพาแรงงานไทยด้วยกัน

และธุรกิจที่ทำการค้าอย่างมีระบบมีวันหยุดงานและวันทำงานชัดเจน สามารถสร้างกำไรและขยายสาขาเติบโตทิ้งห่างการค้าแบบอิสระในรูปแบบไทย ๆ ไปไกลมากขึ้น

จนท้ายที่สุดคนไทยในอนาคตคงยากที่จะแข่งขันกับธุรกิจการค้าเต็มรูปแบบ หรือไม่อาจจะแข่งขันแย่งตำแหน่งงานในตลาดแรงงานได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของประเทศไทยครับ


--------------------

akecity สรุปท้ายบทความ

คือ รัฐบาลหลายรัฐบาลพยายามส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวยาวมากขึ้น หวังกระจายรายได้สู่ภูมิภาค แต่ในมุมกลับกัน ก็เป็นการบ่มเพาะให้คนไทยขี้เกียจทำงานมากขึ้นไปด้วย คือ ชอบแต่จะหยุดยาว ชอบเที่ยวมากกว่าชอบทำงาน แต่รายได้ของคนไทยชอบเที่ยวนั้นกลับเป็นผู้ประกอบการต้องเป็นผู้แบกภาระ

อย่างหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา ก็มีข่าวว่า โรงรับจำนำทั่วประเทศคึกคักทันที เพราะผู้คนคงเที่ยวจนเงินหมด ก็เลยต้องนำข้าวของมาจำนำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนไทยจำนวนมากเน้นเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญมาเป็นอันดับแรก เงินจะหมดก่อนสิ้นเดือนก็ไม่สน ขอกูเที่ยวให้สะใจในช่วงเทศกาลให้เต็มที่ไว้ก่อน

หรืออย่างกรณีที่มีคนไทยที่พอมีฐานะดีหน่อย ชอบไปเที่ยวต่างประเทศในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งทำให้เงินตราต้องรั่วไหลออกนอกนั้น ผมเสนอว่า รัฐบาลไทยควรเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการเดินทางออกนอกประเทศในช่วงเทศกาลหยุดยาวด้วย เพื่อให้ประเทศมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

คือแต่เดิมทุก ๆ รัฐบาลจะยึดถือว่า หยุดยาวแค่ไหนก็ต้องไม่เกิน 4 วัน เพราะเห็นใจผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างเหมือนเดิม แต่กลับไม่ได้ปริมาณงาน หรือต้องจ่ายเงินพิเศษให้ลูกจ้างที่มาทำงานในวันหยุด  ซึ่งมันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ก็เป็นผลให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย

และเมื่อสินค้าไทยต้องแพงขึ้นโดยไม่จำเป็นจากเทศกาลหยุดยาวแบบนี้ ก็ทำให้การแข่งขันของสินค้าไทยที่จะส่งออกไปต่างประเทศก็แย่ลง จึงเป็นผลพลอยให้ภาคส่งออกไทยติดลบมากขึ้น คือถ้ารัฐบาลโง่ ๆ ก็จะคิดไม่ถึงในเรื่องนี้ แต่คนทำธุรกิจจะรู้ซึ้งดีถึงประเด็นนี้

ส่วนภาพที่เห็นว่าเงินสะพัดในช่วงท่องเที่ยวในเทศกาลนั้น มันก็ใช่ครับ เพราะทำให้เกิดการกระจายรายได้ออกสู่ภูมิภาค แต่ในอีกส่วนหนึ่งกลับเป็นการทำลายภาคการผลิตและการส่งออกสินค้าไทยเช่นเดียวกัน ดังนั้นขึ้นอยู่กับอย่างไหนจะส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่า

เพราะคนไทยจำนวนมากตอนนี้กลายเป็นคนจำพวก ไม่ชอบทำงานหนัก ชอบเลือกงาน แต่กลับอยากได้ค่าแรงสูง ๆ สุดท้ายมันก็กระทบภาคเศรษฐกิจไทยในที่สุด แล้วผู้ที่เข้ามาแทรกในจุดนี้ ก็คือ แรงงานต่างด้าว นั้นเอง

เมื่อแรงงานต่างด้าวเข้ามาแทรกในภาคการผลิตของไทยมากขึ้น แต่ถ้าวันใดที่แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทยน้อยลง เพราะประเทศเขาก็พัฒนาขึ้นต้องการแรงงานมากขึ้น วันนั้นเศรษฐกิจไทยจะยิ่งทรุดหนักกว่านี้แน่นอน เพราะแรงงานไทยส่วนใหญ่สันดานขี้เกียจไปแล้ว

ฉะนั้นที่ทุกวันนี้เห็นเศรษฐกิจไทยไม่ค่อยโต นักลงทุนต่างชาติเริ่มหาแหล่งผลิตในประเทศอื่น ๆ แทนประเทศไทย ก็เพราะเขาเบื่อคนไทยขี้เกียจ ชอบเที่ยวยาว ๆ นี่แหละครับ ที่เป็นสาเหตุหนึง

ทุกอย่างมีเหรียญ 2 ด้านเสมอ การหยุดยาวบางครั้งบางคราวก็มีข้อดีมาก แต่ถ้าหยุดยาวบ่อยไปมากไป มันก็อาจเป็นข้อเสียได้

เศรษฐกิจจะโตได้ต้องเกิดจากภาคการผลิตขับเคลื่อนได้ดี หากภาคการผลิตแย่ สุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อภาครวมของเศรษฐกิจประเทศแน่นอน

ยิ่งถ้ามองในแง่ร้าย วันหยุดยาวก็คือ เทศกาลเพิ่มอุบัติเหตุและเพิ่มคนตาย ครับ จริงไหม ?

------------------

หมายเหตุ

โดยส่วนตัว ผมไม่ได้คัดค้านวันหยุดยาว แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย ที่รัฐบาลชอบประกาศวันหยุดเพิ่มขึ้น ที่ถูกต้องคือ วันหยุดมีเท่าไหร่ก็ควรมีเท่านั้น

ที่สำคัญกรณีวันหยุดชดเชย ผมว่า ถ้าเลิกได้ก็จะดี แต่อาจจะอนุโลมให้เฉพาะโรงเรียนหยุดในวันหยุดชดเชยได้ก็พอ ส่วนข้าราชการ รัฐวิสาหกิจและบริษัทห้างร้านจะหยุดยาวอะไรนักหนา เศรษฐกิจหยุดชะงักกันพอดี

ส่วนบทความนี้ผมเขียนในช่วงวันหยุดยาว 5 วัน ที่รัฐบาล คสช. ประกาศให้วันจันทร์ที่ 4 พ.ค. 2558 เป็นวันหยุดพิเศษเพิ่มขึ้นอีก

คลิกอ่าน ค่าแรงแพงแต่คุณภาพต่ำ ระวังตกงานเพราะหุ่นยนต์