.
สื่อที่ชื่อ นาย Andrew Walker เขาได้รับข้อเขียนจากนาย Robert Woodrow อดีตบรรณาธิการยิตยสารรายสัปดาห์ regionly newsmazine จึงได้นำมาลงในเว็บ New Madala
ซึ่งนายโรเบิร์ต ได้เขียนถึงสิ่งดี ๆ ในชนบทไทย ที่มีมาก่อนที่ทักษิณจะมาเป็นนายกฯ เสียอีก
---------------
10 May 2010
เรื่องคนจนในชนบทเมืองไทยที่ถูกกดขี่ มันอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิด
โดย โรเบิร์ต วู้ดโรว์
ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับคนจนในชนบทของประเทศไทย พวกเขาร่ำรวยที่สุดในบรรดาคนยากจนในชนบทแห่งประเทศโลกที่สามทั้งหลาย และเขาไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณทักษิณในฐานะความเป็นอยู่ใดๆทั้งสิ้น
ทักษิณเป็นนักโทษหนีคดี เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและมหาเศรษฐีพันล้านที่ทางการไทยกำลังต้องการตัวในคดีคอร์รัปชั่นและหนีภาษีรวมกันแล้วมูลค่ามหาศาล สิ่งที่เขาทำได้ดีเป็นพิเศษคือสามารถทำให้โลกเชื่อว่าเขาเป็นขวัญใจคนยากจนแห่งชนบทเมืองไทย และสามารถทำให้เชื่อไปอีกว่า ความกินดีอยู่ดีของคนชนบทเหล่านี้เป็นเพราะตัวเขา แต่ในความเป็นจริงโครงการช่วยเหลือชนบทที่อ้างว่าเป็นของเขานั้นได้มีมาก่อนยุคทักษิณนับเป็นสิบๆปีมาแล้ว เขาเพียงแต่ใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ต่างๆที่เขาได้ทุ่มเงินให้เป็นจำนวนมากเปลี่ยนชื่อโครงการเหล่าให้หวือหวาขึ้นเท่านั้น
ชาวไร่ชาวนาในยุโรปและอเมริกามักมีฐานะดี แต่การเปรียบเทียบกับฐานะของชาวไร่ชาวนาไทยนั้นเป็นเรื่องไร้ความหมาย ลองนึกเปรียบเทียบช่างไม้ในชนบทอีสานกับช่างไม้แห่งเมืองเล็กๆในมลรัฐไอโอวาดู แม้ช่างไม้ไทยจะดูอนาถา ที่อยู่อาศัยของเขาในสายตาอเมริกันนั้นจะดูไม่มีอะไรเลย และจะดูเหมือนเขาไม่ค่อยมีความหวังอะไรในชีวิต
แต่! ทว่าในความเป็นจริงคนไทยมักอาศัยในที่ของพ่อแม่พี่น้องเขาโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ในอากาศเย็นสบายในชนบทไทยเขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเพื่อต่อสู้กับความหนาวเหน็บเช่นในไอโอวา พวกเขาปลูกผักเลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงหมูไว้บริโภคในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อกิน เขามีมอเตอร์ไซค์เพื่อขี่ไปทำงาน เขามีทีวีดู ชีวิตความเป็นอยู่แบบอเมริกันที่เขาเห็นในทีวีก็แตกต่างกับการดำเนินชีวิตแบบไทยๆ ที่เขาคุ้นเคยเสียจนไม่มีความรู้สึกอิจฉาชาวอเมริกันเลยสักนิด
ทุกๆหมู่บ้านในไทยมีไฟฟ้าใช้มานานมากก่อนยุคทักษิน ชาวบ้านมีตู้เย็นหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทีวีวิทยุและพัดลมไฟฟ้าใช้มาเป็นเวลานานแล้ว เกือบทุกบ้านในชนบทมีมอเตอร์ไซค์แม้มันจะโทรมหรือเก่าแค่ไหนก็ตาม ในทุกๆหมู่บ้านจะมีหลายครอบครัวที่มีรถปิคอัพใช้ ชาวนาเลิกใช้วัวควายไปแล้วเหลืออยู่ก็แต่ในท้องที่ไกลมากๆ ถ้าชาวไร่ชาวนาใดไม่มีรถอีแต๋นไว้ใช้ทำไร่ทำนาพวกเขาก็สามารถเช่าหรือยืมได้จากเพื่อนบ้าน
ชาวไร่ชาวนาไทยที่ไร้ที่ทำกินนั้นมีอยู่ แต่ก็มีเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับในฟิลิปปินส์ อินเดียและประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้ ในไทยเราแทบไม่เคยเห็นเศรษฐีเจ้าของที่นาที่ไม่ได้เป็นชาวนาเอง ชาวนาไทยส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของที่นาผืนเล็กๆที่ปลอดจำนอง ที่ปลอดจำนองนั้นเป็นเพราะกฏหมายคุ้มครองล้าสมัยฉบับหนึ่งที่ไม่อนุญาติให้เอาที่ดินประเภทนี้ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม แต่พวกเขาสามารถใช้ผลผลิตที่จะได้รับในฤดูเก็บเกี่ยวถัดไปใช้ค้ำประกันได้ พวกเขามักขายผลผลิตให้กับสหกรณ์ ลูกหลานพวกเขามักหารายได้เพิ่มเติมโดยเข้าไปทำงานในเมือง
เมืองไทยก็เหมือนที่สหรัฐอเมริกาที่มีผู้ยากไร้ด้อยโอกาสอยู่จำนวนหนึ่ง ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยนั้นก็เหมือนที่อื่นๆที่เราต้องดูโดยใช้วิจารณญาน (* ที่มาของตัวเลขสถิติที่จะนำมาใช้ถัดจากนี้ให้ดูที่หมายเหตุท้ายบทความ) ตัวเลขเป็นทางการไทยผู้ยากจนมี10% ของประชากรทั้งหมด เทียบกับ 12%ในอเมริกา 14%ในอังกฤษและ36%ในบ้งคลาเทศ แน่นอนเส้นวัดระดับความยากจนของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันเพราะการดำเนินชีวิตที่ต่างกัน ความยากจนในเมืองไทยจึงไม่จำเป็นต้องแปลว่าการไม่มีทีวีดู หรือไม่มีมอเตอร์ไซค์เก่าๆใช้
สถิติการว่างงานในไทยอยู่ที่ 1.4% ซึ่งจัดว่าอยู่ในกลุ่มต่ำที่สุดในโลก แต่เป็นที่รู้กันว่าตัวเลขสถิติการว่างงานมักเชื่อถือไม่ค่อยได้ แม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้วนักเศรษฐศาสตร์ยังถกเถียงกันว่าจะรวมถึงพวกทำงานไม่เต็มเวลาหรือพวกที่ไม่ยอมหางานทำดีหรือไม่ แต่สำหรับเมืองไทยงานไร้ฝีมือค่าแรงต่ำนั้นหาง่าย ตึกอพาร์ทเม้นต์ที่ผมเช่าอยู่ในกรุงเทพนั้นมีป้ายติดประกาศรับพนักงานรักษาความปลอดภัยมาหลายสัปดาห์แล้วก็ยังติดอยู่อย่างนั้น
ในช่วงฤดูแล้งชาวไร่ชาวนาจำนวนมากเข้ามาเป็นกรรมกรก่อสร้างในเมือง ส่วนที่เหลือเลือกที่จะมีชีวิตอย่างง่ายๆถึงไม่หรูหราแต่ก็อุดมสมบูรณ์อยู่ที่บ้านในชนบท สองสามปีที่แล้วผมต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการหาช่างเพื่อมาต่อห้องน้ำเพิ่ม ชาวไร่ชาวนาหลายรายที่มีหัวการค้าได้กลายมาเป็นเจ้าของกิจการและทำได้ดีทีเดียว นโยบายของรัฐบาลทักษิณไม่ได้มีผลอะไรที่ชัดเจนกับแรงงานทั้งหลายเหล่านี้เลย
ไทยไม่มีปัญหาประชากรล้นเกิน ผู้หญิงมีบุตรกัน1.6คนโดยเฉลี่ยซึ่งต่ำกว่าอัตราการตายซึ่งหมายความว่าจำนวนประชากรจะลดลงหากไทยไม่สนับสนุนการอพยพของชนชาติอื่นให้เข้ามาอยู่อาศัย การลดของขนาดครอบครัวไทยเป็นผลมาจากการให้ความรู้เรื่องผลดีทางเศรษฐกิจที่มีต่อครอบครัวขนาดเล็กซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่ใช้ได้ผลทำให้ประชากรลดลงมาแล้วในยุโรปและญี่ปุ่น ในเมืองไทยการรณรงค์เหล่านี้ได้เริ่มมาร่วมห้าสิบปีแล้ว
ปัญหาการกระจายความร่ำรวยในไทยนั้นไม่ได้เลวร้ายไปกว่าชาติอุตสาหกรรมใดๆเลย คนยากจนที่สุด10% ของประชากรไทยเป็นเจ้าของ2.6%ของทรัพย์สินทั้งหมด คนรวยที่สุด10% ของประชากรไทยเป็นเจ้าของ33.7%ของทรัพย์สินทั้งหมดที่มีในชาติ เมื่อเทียบกันสหรัฐอเมริกามี2% และ30% อังกฤษมี2.1% และ28.5% ตามลำดับทรัพย์สินของคนจนสุด10% และรวยสุด10%
ถึงแม้ตัวเลขสถิติเหล่านี้จะเชื่อไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ที่น่าเชื่อถือได้อย่างไม่มีข้อสงสัยเลยก็คือ การกระจายรายได้ของไทยนั้นมีความเท่าเทียมกันมากกว่าในประเทศจีน อินเดีย บราซิล หรืออาฟริกาใต้
แม้แต่หมู่บ้านถิ่นธุรกันดารของไทยโดยเฉพาะในบริเวณที่ราบภาคกลางก็ยังดูมั่งคั่งกว่าหมู่บ้านในชนบทของประเทศปากีสถาน และจะกลายเป็นแดนในอุดมคติไปในทันทีเมื่อเทียบกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ในประเทศไนจีเรีย กองทุนหมู่บ้านที่ทักษิณภูมิใจนักหนานั้นมันได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ร่วมสี่สิบปีมาแล้ว
ถนนเมนทุกสายในเมืองไทยเป็นถนนราดยางหรือไม่ก็คอนกรีต ซึ่งดีเทียบเท่ามาตรฐานประเทศโลกที่หนึ่ง ถนนรองส่วนใหญ่ก็ราดยางซึ่งถนนเข้าหมู่บ้านชนบทห่างไกลรวมทั้งในอีสานและเหนือแม้จะเป็นหมู่บ้านจนที่สุดก็มีถนนดีพอกัน ถนนเหล่านี้มีใช้กันแล้วก่อนที่ทักษิณลาออกจากตำรวจและเขาอยู่ในสภาพล้มละลาย
ในกรุงเทพนั้นมีสลัม แต่ในเมื่อทุกคนมามีงานทำในกรุงเทพพวกเขาก็มักเลือกที่จะอยู่ในสลัมเพราะอยู่ฟรีโดยไม่เสียค่าเช่าที่ดินเหล่านี้เพราะมันเป็นที่หลวง โสเภณีนั้นหาได้ไม่ยากเพราะรายได้จากการขายตัวนั้นมากกว่ารายได้จากการทำงานในโรงงานถึงห้าเท่าตัวหรือมากกว่า ส่วนคนตาบอดหรือพิการสามารถขอเงินช่วยเหลือได้จากรัฐแต่ทว่าการขอทานจะมีรายได้งามกว่า เขาต่างก็เลือกทางเดินชีวิตเองและดีชั่วอยู่ย่อมอยู่ที่ตัวเขาเองทั้งนั้น
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอนาถา(ไม่ต้องเสีย30บาทด้วย) โดยโรงพยาบาลรัฐนั้นมีมานานมากก่อนที่ทักษิณจะมาเสนอโครงการ30บาทรักษาทุกโรค ซึ่งไม่ได้บริการแตกต่างกันจากระบบเก่าเลย การรักษาผู้ป่วยอนาถาถึงมันจะไม่เป็นระดับโลก แต่มันก็ยังเป็นการรักษาพยาบาล ถ้าคนป่วยไม่มีสตางค์ค่าผ่าตัดซึ่งราคาก็ไม่ได้แพง เขาก็จะได้รับการยกหนี้ให้
ไม่มีคนป่วยรายใดที่โรงพยาบาลรัฐจะปฏิเสธไม่รับ แพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาก็ด้วยทุนของรัฐและจะต้องทำงานใช้หนี้รัฐโดยได้รับเงินเดือนไม่แพงในโรงพยาบาลชนบทไปจนกระทั่งชดใช้ค่าเล่าเรียนหมด
แทบไม่มีคนไทยคนไหนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เด็กผู้หญิงมีเวลาเรียนโดยเฉลี่ย14ปี และเด็กผู้ชายที่13ปี โปรดสังเกตุหญิงมีการศึกษามากกว่าชาย นักเรียนมัธยมปลายปีละร่วมสองล้านคนซึ่งคิดเป็น20%ของคนวัยเดียวกันได้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาทั้งสายอาชีพและปริญญา นักเรียนที่เรียนดีก็จะได้รับทุนเล่าเรียนหลวง เรื่องราวของเด็กยากจนที่ต่อมาเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จนั้นมีมากมายเสียกลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ การไต่เต้าทางสังคมลักษณะนี้ได้มีมาตลอดเป็นเวลาครึ่งค่อนศัตวรรษมาแล้ว
อัตราการตายในทารกแรกเกิดในไทยอยู่ที่17รายต่อ1,000 เทียบกับแองโกล่าอยู่ที่180 อัฟกานิสถานที่153 และ 6 ในสหรัฐอเมริกา สถิติช่วงเวลาการมีชีวิตของคนไทยอยู่ที่ 73.1ปีในขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่78.1ปี และรสเซียที่66.1ปี ในไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี1.4%เทียบกับสหรัฐอเมริกาอยู่ที่0.6%ของประชากร
ในประชากรทั้งหมด 66 ล้านคนในไทย มีโทรศัพท์มือถือลงทะเบียนถึง 62 ล้านเลขหมาย และอีก7ล้านเลขหมายเป็นโทรศัพท์มีสาย เครือข่ายการบริการเชื่อถือได้เทียบเท่าในยุโรป
คนไทยหนึ่งในสี่มีอินเตอร์เนตใช้ บริษัทโทรศัพท์ของทักษิณซึ่งรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยที่เขาเป็นนายก มีส่วนแบ่งการตลาดถึงหนึ่งในสามของผู้ใช้มือถือในไทย ต่อมาเขาได้ขายให้กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์โดยหลบเลี่ยงภาษีรายได้
ไทยมีการส่งออกมากกว่านำเข้าอยู่เป็นประจำและมีเสน่ห์ในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นจึงมีเงินทุนสำรองมหาศาล ถึงแม้จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ส่งออกมากนัก แต่ไทยก็ยังมีทุนสำรองอยู่ที่ 138,000ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐซึ่งมีมากเป็นอันดับสิบของโลก เทียบกับอังกฤษมี $56,000ล้าน ขณะที่ออสเตรเลียมี $45,000ล้าน
มีความเชื่อที่ผิดๆว่าไทยมีสินค้าการเกษตรเป็นสินค้าหลัก แต่ความจริงแล้วคือเป็นรถปิคอัพ มอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วนอาหลั่ยยานยนต์เป็นหลัก ซึ่งเป็นสาขาของบริษัทจากต่างชาติ รถปิคอัพซึ่งส่งออกได้มากที่สุดถ้านับแบบประเภทเดี่ยวของสินค้าส่งออกนั้น แทบไม่มีส่วนประกอบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเลย บริษัทผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นรายหนึ่งส่งรถปิคอัพหนึ่งตันจากเมืองไทยแหล่งเดียวเท่านั้นไปขายทั่วโลกรวมทั้งในญี่ปุ่นเอง เครื่องจักรกลก็เป็นสินค้าส่งออกหลักอีกประเภทหนึ่ง นอกนั้นยังมีชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อิเลคโทรนิค สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า อาหารสำเร็จรูป อาหารสัตว์ สิ่งที่ทำเงินตราต่างประเทศในระดับต่ำกว่านั้นก็จะเป็นข้าว น้ำตาลและตามด้วยการท่องเที่ยว
ในหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลสามารถทำการค้าได้เกินดุลย์ ทำบัญชีเดินสะพัดได้เกินดุลย์และทำงบประมาณได้เกินดุลย์เช่นกัน (แต่ปีนี้งบประมาณขาดดุลย์)
นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 ปีที่ทักษิณมีอายุได้เพียง 11 ขวบ เป็นต้นมา ไม่มีชาติที่กำลังพัฒนาชาติใดในโลกที่จะมีการเติบโตของค่าGDPเฉลี่ยต่อจำนวนประชากรได้เกินกว่าของประเทศไทย
ถึงแม้ชาวนาไทยยังยากจนในสายตาตะวันตก แต่พวกเขาก็ได้รับส่วนแบ่งจากความมั่งคั่งเหล่านั้น และพวกเขาก็มีความกินดีอยู่ดีมากกว่าคนในชนบทในประเทศใดๆในประเทศแห่งโลกที่สาม
* ตัวเลขสถิติทั้งหลายในบทความนี้แต่ละตัวได้ถูกตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับอย่างน้อยสามแหล่งจากหน่วยงานต่างๆดังนี้ UNICEF, UNDP,ธนาคารโลก, ADB, IMF, CIA, WHO, ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ไม่มีตัวเลขใดๆในบทความนี้ที่ยกเอามาจากหน่วยงานของไทยล้วนโดยไม่ปรียบเทียบกับตัวเลขของหน่วยงานนอกประเทศไทย
ขอขอบคุณ คุณRobert Woodrow
--------------------------------------
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
The Down-Trodden Rural Poor of Thailand: It’s not quite what you think
Here’s what you need to know about the rural have-nots of Thailand . They are the richest poor people in the Third World. And they owe none of their affluence to Thaksin Shinawatra.
Fugitive former Prime Minster Thaksin, a billionaire wanted in connection with corruption and tax-evasion on a staggeringly egregious scale, has done a remarkable job of convincing the world that he is the champion of the rural poor in Thailand, and that such prosperity as the farmer enjoys is in some way due to him. Yet all of “his” programs have been in place for decades. His well-financed public-relations machine merely invented catchy new terms for them.
In Europe and North America , farmers tend to be affluent. A comparison is therefore not at all meaningful. But take a village carpenter in Thailand ’s northeast and compare him with a wood-worker in a small town in Iowa . To the American, the Thai seems impoverished, his house appalling basic, his expectations in life distressingly limited. But the Thai carpenter probably lives on family land rent-free, pays nothing to moderate the climate, produces his own vegetables, chickens, eggs and pork, and rides his own motor-cycle to his jobs. He’s seen the American lifestyle on TV, and it’s so far beyond the range of his experience, he doesn’t feel deprived or envious.
ฝรั่ง
Every village in Thailand was on the electricity grid long before Thaksin came on the scene, and virtually every village family has a refrigerator, electric rice-cooker, TV, radio and a couple of oscillating fans. Almost all rural households have a motorcycle, though it may be old and battered. In every village several families own pickup trucks. Animals are no longer used for farm work except in extremely remote corners of the kingdom. If farmers don’t have a mini-tractor of their own, they rent or borrow one from a neighbor.
The “landless peasant” class exists, but is very small when compared with the Philippines , India and much of South America . The rich absentee farm landlord is almost unknown. Most farming families tend a small plot of land they own outright, mortgage-free (due to unscrupulous practices in the past, an outdated, paternalistic law prevents them putting up land as security with money-lenders, though they may borrow on anticipated harvests.) They sell a small cash crop through a co-operative. Their grown-up or adolescent children supplement the family income from jobs they hold in the cities.
Thailand, like the U.S. , has a fallen-through-the-cracks underclass. While statistics*, as everywhere, have to be taken with a large measure of scepticism, officially 10% of the population is below the poverty line (12% in the U.S. , 14% in Britain , 36% in Bangladesh ). Of course, that means the poverty line for Thailand and no international comparisons are invoked. Poverty doesn’t necessarily mean doing without TV or not being able to lean a beat-up old 100 c.c. Honda Dream by the door.
Unemployment in Thailand is 1.4% — among the lowest in the world. Here it has to be cautioned that employment statistics are notoriously unreliable. Even in advanced countries, economists cannot agree whether to include the under-employed and those not actively seeking work. But unskilled work, if not well-paid, is not hard to find. My Bangkok apartment building has had a “security guard wanted” sign out for weeks.
During the dry season, many farmers supplement their income with construction work in the cities. But some prefer to do without extra luxuries and live the slow-paced, well-fed rural life. Two or three years ago, I found it impossible for several weeks to find a plumber to put in a new bathroom. Many “peasants” have become self-employed entrepreneurs and done well for themselves. Thaksin’s policies had no discernible impact on the labor force.
There is no population pressure in Thailand , since each female, on average, gives birth to 1.6 children in her lifetime. That is well below replacement level, so the population will in time shrink unless immigration is vigorously promoted. Reduction in family size was achieved through education and the perceived economic benefits of smaller families, the same way it was reduced in Europe and Japan . This got started in the 1960s.
Wealth distribution in Thailand is no more extreme than in most industrialised countries. The poorest 10% of the people of Thailand own 2.6% of the nation’s wealth. The richest 10% own 33.7%. In the U.S. , the comparable figures are 2% and 30%, in the U.K. 2.1% and 28.5%. These statistics may not be wholly reliable, but distribution of wealth is unquestionably much more equitable than in China , India , Brazil or South Africa . Even isolated Thai villages, especially in the central plains, would seem very prosperous to rural Pakistanis and positively utopian to most Nigerians. Thaksin’s much-vaunted “village revolving development funds” financing local enterprise had their antecedents in the 1970s.
All main roads in Thailand are paved (close to First-World standards), and most secondary roads are surfaced, as are a good many of the tracks that lead into remote villages, even in the poorer north and northeast parts of the country. It was like this when Thaksin was still a bankrupt ex-cop.
There are slums in Bangkok , but you have to go out of your way to find them. Since almost everyone is employed, squatters on state land in the cities often live there by choice because it is rent-free. You certainly do not have to go out of your way to see red-light districts. Incomes from the sex industry (obviously denied to those lacking looks and personally) exceed factory wages fivefold or more. The blind and maimed can apply for state aid, but street begging is often more lucrative. One sets one’s own moral priorities.
There was care at government hospitals and health clinics long before Thaksin came along with his fancy $1 scheme. Treatment is not world-class but it is medical care nonetheless. People in need of operations get them for small fees, and if they have no money the charge is written off. No one is turned away from emergency rooms at government hospitals. Doctors who went through medical school on state scholarships owe as many years of modestly paid service in rural hospitals as they had in tuition.
Almost no Thais are unable read & write. Girls on average get 14 years of schooling and boys 13 years (note that girls are ahead). About 1.75 million post-secondary students (over 20% of their age group) are enrolled in universities (ranging from world-class to barely respectable), two-year colleges or vocational schools. Bright kids from poor families get government scholarships, so up-by-the-bootstraps success stories are so common as to be unremarkable. This high rate of upward social mobility goes back at least half a century.
Infant deaths per 1,000 live births in Thailand tallies 17, compared with 180 in Angola, 153 in Afghanistan and 6 in the U.S. Life-expectancy at birth is 73.1 years (78.1 in the U.S., 66.1 in Russia). HIV-positive people make up 1.4% of Thailand ’s population (0.6% in the U.S. )
With a population of 66 million, Thailand has 62 million registered cellphones and 7 million landlines. Service is as reliable as it is in Europe . One-fourth of the people regularly use the Internet. Thaksin’s own company, which prospered prodigiously while he was prime minister, had one-third of the nation’s mobile-phone customers. He sold the firm to an investment arm of the Singapore government (and paid no income tax).
Thailandroutinely exports more than it imports. It is attractive for foreign direct investment. It therefore has enormous foreign reserves, and even though the country has few natural resources to sell abroad, its reserves, at $138 billion, are the 10th highest in the world. ( Britain has $56 billion, Australia $45 billion). This means plenty of capital for employment-creating new manufacturing jobs, which entice rural folk seeking work in cities. The Thai currency is so strong that even recent political troubles have not budged it.
Contrary to a widespread perception, the country’s main exports are not agricultural products, but cars & trucks, motorcycles & vehicle parts (made by foreign-owned subsidiary companies). Exported pick-up trucks, the biggest single-selling item, contain negligible imported parts. One Japanese manufacturer sources its world-wide production of one-ton pickups, including those sold in Japan , from its Thai factories. Machinery is another big export, as are components for computers and other electronic goods, textiles, garments & footwear, processed food and animal fodder. Way down the list of foreign-currency earners are rice, sugar and tourism.
Over the years the Thai government has routinely produced a trade surplus, a current-account surplus and (though not this year) a budget surplus.
Since 1960 (when Thaksin was 11) no “developing” country has exceeded Thailand in average annual per-capita GDP growth. The farmers are still poor by western standards, but they’ve had their share of this rising affluence, and they are better off than rural folk in any other nation on earth for which we reserve the term Third World .
.
.
อยากให้ทุกคนอ่าน จะมีใครอ่านไหมน่อ
ตอบลบเมื่อฉันอ่านแล้ว ฉันรู้สึกตัวว่าฉลาดขึ้น แล้วฉันจะให้คนอื่นได้อ่านบ้างได้อย่างไร
ตอบลบขอบคุณค่ะ หนูติดตามบทความคุณตลอดเลย แต่มันก็หนักใจทุกครั้งเมื่อคิดว่า ทำยังไงเมื่อ ปชช ไม่ชอบอ่าน เรื่องแบบนี้ฟังแต่สื่อเพียงอย่างเดียวซึ่งวันๆก็มีแต่ผู้เป็นใหญ่เท่านั้นที่เสนอหน้าออกจอและเสนอผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองทั้งนั้น ปชชในวัยเดียวกับหนู 15 -20 ไม่มีใครสนใจเลย ค่ะ ทำไงดี
ตอบลบสู้ต่อไปครับ น้อง พยายามหาเพื่อนที่มีอุดมการณ์หรือความคิดเชิงบวก เห็นแต่ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ พลังเหล่านี้ส่งต่อกันได้หากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ตอบลบ