กองทุนการเงินระหว่างประเทศ"International Monetary Fund (IMF)
เคยทำให้คนไทยทั้งเกลียด และกลัวมาแล้วไม่น้อย ถึงขนาดทำให้หลายๆ คนกลัวมาจนทุกวันนี้!!!
ที่ผ่านมาตลอด 10 เราอาจจะทำความรู้จักกับ IMF น้อยไปสักหน่อย จึงเกิดความเข้าใจที่ผิดๆ ในบางเรื่อง และซ้ำร้ายกว่านั้น IMF ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ฟาดฟันทางการเมืองจากนักการเมืองอย่างไม่ละอาย ให้ข้อมูลที่ผิด และชี้นำให้เห็นว่า IMF นั้นเหมือนยาขม
บทความนี้ไม่ได้เชิญชวนให้รัก IMF และก็ไม่ได้ให้เกลียด IMF แต่ต้องการให้.......ข้อมูล
ถ้าอย่างนั้นเรามาขจัดความรู้สึกด้วยความรู้กันดีกว่า...
ที่ผ่านมาตลอด 10 เราอาจจะทำความรู้จักกับ IMF น้อยไปสักหน่อย จึงเกิดความเข้าใจที่ผิดๆ ในบางเรื่อง และซ้ำร้ายกว่านั้น IMF ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ฟาดฟันทางการเมืองจากนักการเมืองอย่างไม่ละอาย ให้ข้อมูลที่ผิด และชี้นำให้เห็นว่า IMF นั้นเหมือนยาขม
บทความนี้ไม่ได้เชิญชวนให้รัก IMF และก็ไม่ได้ให้เกลียด IMF แต่ต้องการให้.......ข้อมูล
ถ้าอย่างนั้นเรามาขจัดความรู้สึกด้วยความรู้กันดีกว่า...
IMF คือองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถือกำเนิดขึ้นจากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference เมื่อปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ อันจะเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการค้าโลก และเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
IMF เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
มีหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงิน, การค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน, สร้างรายได้, สร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยน, ป้องกันการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อชิงความได้เปรียบทางการค้า, ให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก ในการปรับฐานะดุลการชำระเงินให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นและประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดยส่วนรวม เป็นต้น
ถ้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกของ IMF ได้ เมื่อเป็นสมาชิก IMF แล้วก็จะได้ "โควตา" โดยจำนวนโควตาจะขึ้นกับขนาดของเศรษฐกิจ, เงินสำรอง ของประเทศนั้นๆ เมื่อได้จำนวน "โควตา" ก็จะรู้ว่าประเทศนั้นๆ สามารถกู้เงินจาก IMF ไปได้จำนวนเท่าใด และ "โควตา" ก็ใช้เป็นหลักในการคิด "คะแนนเสียง" เช่นกัน
เงินทุนที่ IMF ใช้จะเรียกว่า "resources" หรือ "ทรัพยากร" (เงินนั่นเอง) ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ (ค่าสมาชิก)
แต่ว่า IMF ไม่ได้ให้กู้เงินเป็น US ดอลลาร์ โดยจะใช้หน่วยเงินเป็น SDR (Special Drawing Rights) คือ สิทธิพิเศษถอนเงินเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศ
SDR ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ไทยเป็นสมาชิก IMF เมื่อ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 44 โดยมีโควตาปัจจุบันเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR คะแนนเสียง 11,069 คะแนน หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 0.52 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น
นับตั้งแต่เป็นสมาชิก IMF ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR โดยเข้าโครงการ Stand-by
- ครั้งแรกเมื่อปี 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR
- ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR
- ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDR
- ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR
- ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDR
IMF ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงินและวิชาการ
ทางด้านความช่วยเหลือด้านการเงิน IMF ได้เตรียมทรัพยากรไว้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกภายใต้โครงการเงินกู้ (facility) หลายชนิดตามลักษณะปัญหาดุลการชำระเงินแต่ละกรณี โดยประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF จึงจะได้รับอนุมัติเงินกู้
ทางด้านความช่วยเหลือด้านวิชาการ IMF จะมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับประเทศสมาชิกเพื่อทบทวนสถานการณ์และนโยบายเศรษฐกิจการเงินของสมาชิกเป็นประจำทุกปี (Article IV Consultation) นอกจากนี้ IMF จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปทำการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การจัดองค์งาน และการทำรายงานสถิติ
ประโยชน์จากการได้รับความช่วยเหลือจาก IMF ได้แก่
1. ด้านวิชาการ คือการได้รับคำแนะนำด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจปรับสู่เสถียรภาพโดยเร็วที่สุด
2. ประโยชน์ทางอ้อม คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และอาจช่วยให้ประเทศสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนเอกชนได้เองเร็วขึ้น
3. การเข้าโครงการ Stand-by ครั้งล่าสุดของไทย
2. ประโยชน์ทางอ้อม คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และอาจช่วยให้ประเทศสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนเอกชนได้เองเร็วขึ้น
3. การเข้าโครงการ Stand-by ครั้งล่าสุดของไทย
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้ถูกบ่มเพาะมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายปี...IMF ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา แท้จริงคือการที่คนไทยใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย หลงในอำนาจเงิน อำนาจทุน ไม่ต่างกับแมลงเม่าที่หลงแสงไฟ บินเข้าหาภัยโดยไม่รู้ตัว
ดร.ไสว บุญมา เคยเขียนไว้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 31 มี.ค. 49 ความตอนหนึ่งว่า
"...พันธกิจหนึ่งของ IMF ได้แก่ การให้ประเทศสมาชิกกู้เงินในยามวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้กู้จะนำเงินที่กู้ได้ไปทดแทนทุนสำรองของตนซึ่งร่อยหรอลงจนทำให้เกิดวิกฤต เงินที่กู้ไปจาก IMF จึงมิได้ถูกนำไปใช้ หากถูกนำไปฝากไว้กับธนาคารใหญ่ๆ ที่มีความมั่นคงสูง หรือซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีพลังทางเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เงินกู้นี้จึงมีรายได้ในรูปของดอกเบี้ยซึ่งใกล้เคียงกับดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่ายให้แก่ IMF
"...พันธกิจหนึ่งของ IMF ได้แก่ การให้ประเทศสมาชิกกู้เงินในยามวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้กู้จะนำเงินที่กู้ได้ไปทดแทนทุนสำรองของตนซึ่งร่อยหรอลงจนทำให้เกิดวิกฤต เงินที่กู้ไปจาก IMF จึงมิได้ถูกนำไปใช้ หากถูกนำไปฝากไว้กับธนาคารใหญ่ๆ ที่มีความมั่นคงสูง หรือซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีพลังทางเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เงินกู้นี้จึงมีรายได้ในรูปของดอกเบี้ยซึ่งใกล้เคียงกับดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่ายให้แก่ IMF
การกู้เงินของ IMF มาทำเงินสำรองมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ประเทศที่กำลังประสบวิกฤตจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตออกไปได้สำเร็จ ผู้กู้จะเบิกเงินกู้เป็นงวดๆ และก่อนจะเบิกได้แต่ละครั้งก็ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและบรรลุเป้าหมายตามที่ IMF กำหนด"
รู้อย่างนี้แล้วยังกลัวไหมครับ? ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
=
=
ขอขอบคุณ บทความจาก oknation โดย คุณกฤษณกมล blog
=
=
ขอขอบคุณ บทความจาก oknation โดย คุณกฤษณกมล blog
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก