วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554
ความจริงที่ นิติราษฎร์ชอบรัฐประหาร!!
โดย ดร.ป. เพชรอริยะ
อ่านแถลงการณ์ของคณาจารย์ ม. ธรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ก็รู้ว่าพวกเขารับรองการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ฉบับ 40 และต่อต้านรัฐประหาร แสดงว่าคณาจารย์กลุ่มนี้เป็นแนวร่วมทางตรงให้พรรคคอมมิวนิสต์นั่นเอง ทั้งนี้เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ มันจะพยายามรักษาระบอบเผด็จการไว้ให้ยาวนานที่สุด และเมื่อประชาชนทนไม่ได้ทหารก็จะออกมาทำรัฐประหาร จากนั้นจึงนำมวลชนที่ไม่รู้เท่าทันออกมาต่อต้านคณะรัฐประหาร เพื่อโค่นกองทัพแห่งชาติ หากโค่นสำเร็จทุกอย่างก็อยู่ในกำมือของพรรคคอมมิวนิสต์
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ จะต้องมีปัญญาจริงๆ อย่างง่ายๆ ตื้นๆ ว่า เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาย่อมเป็นเหตุของรัฐประหารหรือรัฐประหารเป็นผลจากการปกครองเผด็จการรัฐธรรมนูญ
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เป็นแนวร่วมทางตรงให้กับพรรคคอมมิวนิสต์ ท่านทั้งหลายต้องต่อต้านระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ อันเป็นอุปสรรคร้ายแรงของชาติมายาวนาน 79 ปี อันเป็นแนวคิดลัทธิรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร ที่มีแนวคิดผิดพลาดอันใหญ่หลวง คือยกร่าง เขียนร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ความเห็นผิดนี้เด่นชัดในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นคณะราษฎรอีกปีกหนึ่ง ที่จู่ๆ ก็บัญญัติขึ้นในรัฐธรรมนูญมาตรา 2 ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ไม่มีการสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) แบบประชาธิปไตยขึ้นเลยแม้แต่น้อย
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ก็เช่นกัน เป็นทายาทคณะราษฎรที่สืบทอดลัทธิรัฐธรรมนูญ มาจากรุ่นแรก 2475 ท่านทั้งหลายคงจะเห็นชัดว่า การปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภามาคู่กับการรัฐประหารสลับกันเป็นเหตุเป็นผล นี่คือความหลงผิดอย่างร้ายแรงที่เห็นการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญเป็นระบอบประชาธิปไตย
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เป็นแนวร่วมให้กับพรรคคอมฯ ไม่อยากเห็นรัฐประหาร ก็ต้องเสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยออกมาซิ ปากร้องว่าต้องการประชาธิปไตย แต่ไม่เสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย มันเป็นแนวทางเดียวกับพวกลัทธิเผด็จการทั้งหลายที่ “ปิดหลักการ เปิดไม่ได้เพราะมีนัยแฝงอยู่ เช่น โค่นสถาบันหลักของชาติ เป็นต้น เปิดแต่วิธีการ เช่นที่ทำอยู่”
ท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลาย รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่เคยมีหลักการปกครองประชาธิปไตยซึ่งก็คือไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง มันมีแต่เพียงรูปแบบการปกครอง (ระบบรัฐสภา) และวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ และการเลือกตั้งเท่านั้น แล้วโกหกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่มันก็ช่วยกันหลอกประชาชนมายานานตั้ง 79-80 ปี)
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ขอถามว่า ระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย อะไรต้องเกิดก่อนหรือมาก่อน คนมีสติดีก็ต้องตอบว่า จุดมุ่งหมายต้องมาก่อน นายวรเจตน์ กลับเห็นว่าวิธีการต้องเกิดก่อนและเถียงกันว่าวิธีการฝ่ายรัฐประหารเราไม่เอา เราชอบวิธีการรัฐธรรมนูญปี 40 มันก็เห็นผิดเหมือนกันทั้งคู่ คิดง่ายๆ “ดวงอาทิตย์ต้องมาก่อนดาวเคราะห์และเป็นศูนย์กลางของดาวเคราะห์ ฉันใด” “หลักการปกครองหรือระบอบโดยธรรมต้องมาก่อน และเป็นศูนย์กลางของรัฐธรรมนูญฉันนั้น”
พวกลัทธิรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งคณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ มีความเห็นผิดอย่างร้ายแรง 6 ประการ ได้แก่
1) เข้าใจผิดในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างระบอบกับรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญของไทยเราทั้ง 18 ฉบับ ไม่เคยมีหลักการปกครองโดยธรรมหรือตัวที่บ่งชี้ให้รู้ว่าเป็นระบอบอะไรมีเพียงรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา และวิธีการปกครอง ได้แก่ หมวด และมาตราต่างๆ
2) ความเข้าใจผิดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญคือการสร้างระบอบประชาธิปไตย ความถูกต้องคือรัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายหน้าที่ของกฎหมาย คือ รักษาคุ้มครองและสะท้อนความเป็นระบอบนั้นๆ การเอากฎหมายไปสร้างระบอบร้อยครั้ง พันฉบับ นอกจากจะไม่ได้ระบอบที่แท้จริงแล้ว จะทำให้ล้มเหลวซ้ำซาก และเกิดวิกฤตชาติหายนะเรื่อยไป โดยไม่รู้จบสิ้น
3) เข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย “รัฐธรรมนูญไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย” ก่อนอื่นต้องสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองขึ้นมาก่อนโดยพระเจ้าแผ่นดิน จากนั้นจึงร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับหลักการปกครองจึงจะถูกต้อง และเป็นการแก้ไขเหตุวิกฤตชาติให้ตกไปได้
4) เข้าใจผิดว่ารูปการปกครอง (Form of Government) เป็นระบอบประชาธิปไตย คือเข้าใจผิดว่าระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นระบอบประชาธิปไตย อันที่จริงรูปการปกครองมีไว้เพื่อสัมพันธภาพขององค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะถ่วงดุลอำนาจกันอย่างไร ซึ่งไม่เกี่ยวว่าจะเป็นระบอบอะไรก็ได้
5) เข้าใจผิดว่าการเลือกตั้งเป็นระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองซึ่งเป็นของกลาง หมายความว่าระบอบอะไรๆ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ ก็นำไปใช้ได้ทั้งนั้น
6) เข้าใจผิดว่าประมุขแห่งชาติเป็นประมุขระบอบ พวกเขาชอบพูด-เขียนกันเหลือเกินว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเห็นผิดและเขียนผิด กลายเป็นทำลายพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ตาม เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐจึงจะถูกต้อง
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เสนอหลักการปกครองโดยธรรม ก็แสดงให้เห็นว่านิติราษฎร์ เบื้องลึกอยากให้มีรัฐประหาร พวกเธอเป็นพวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญฝ่ายซ้ายตรงข้ามพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายขวา และเป็นแนวร่วมทางตรงให้พรรคคอมมิวนิสต์กลุ่มโค่นเจ้า โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
http://astv.mobi/A9Ubunh
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554
แฉ!! กลโกงในการจองหุ้นปตท.วันแรก
คุณผู้อ่านครับ ผมเคยเขียนเรื่อง นโยบายน้ำมันไทยห่วยจริงๆ ซึ่งเป็นบทความยอดนิยมบทหนึ่งของผม
มีการเดินหน้าทวงคืนปตท. ให้กลับคืนมาเป็นของชาติทั้งหมด ด้วยแนวคิดที่ว่า ปตท.กำไร1แสน3หมื่นล้านบาท รายได้เข้ากระทรวงการคลังประมาณครึ่งนึง แต่อีกประมาณ6หมื่นล้านบาท ต้องไปเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น
ถ้ารายได้ทั้งหมดเข้ารัฐ ในแต่ละปีรัฐก็จะมีเงินเหลือมาพัฒนาประเทศโดยเฉพาะระบบการขนส่งมวลชนระบบรางได้ทั่วประเทศอย่างสบายๆ
รายละเอียดกลโกงทั้งเรื่องกำหนดราคาน้ำมัน การหลอกเรื่องแก๊สไม่พอใช้ ผมเคยนำคลิปที่คุณรสนาพูดในคมชัดลึกมาครั้งนึงแล้ว
แต่วันนี้ ทางกลุ่มพธม.พยายามทวงคืนทรัพย์สินของชาติกลับมาเป็นของชาติ100% ถ้าทำสำเร็จผลประโยชน์ก็ตกอยู่กับคนไทยที่จะได้เป็นเจ้าของปตท.ทุกคน ไม่ได้ตกไปอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ที่จริง ผมไม่ได้คัดค้านการแปรรูป ถ้าการแปรรูปนั้นโปร่งใส เป็นไปเพื่อประโยชน์ประชาชนอย่างแท้จริง แต่กรณีปตท.เป็นการแปรรูปอย่างเลวทรามต่ำช้าที่สุด เพราะแปรรูปเพื่อขูดรีดคนไทย และผลประโยชน์กลับไม่ได้เป็นเพื้อประเทศชาติอย่างแท้จริง
อยากให้ดูทนายพธม. ทีอุตส่าห์พยายามหาหลักฐานอย่างยากลำบากในความฉ้อฉลในการขายหุ้นปตท.วันแรก โดยที่ประชาชนไม่ได้เลยสักหุ้น แต่หุ้นปตท.กลับถูกยักยอกไปให้ใครบ้าง ไปดูกันครับ
-----------------------------
"ทนายสุวัตร" ซัดธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมมือปตท.ฉ้อโกงประชาชน เผยใช้เทคนิคกรอกเอกสารจองหุ้นแบบย่อ ทำให้ธนาคารอื่นที่กรอกครบถ้วนจองไม่ทัน พร้อมเปิดรายชื่อผู้ถือหุ้นปตท.รายย่อยที่ละเมิดทีโออาร์ ทั้งซื้อก่อนเวลาจอง - ฮุบเกินแสนหุ้น คนตระกูล "มหากิจสิริ - จิราธิวัฒน์" ติดโผ
astv กล้าประกาศไม่กลัวการถอนโฆษณาจากปตท. ทั้งๆที่สื่อทุกสื่อกลัว!! จึงไม่กล้าไปทำข่าวการทวงคืนปตท. สื่อทุกสื่อไม่กล้าทำข่าวเกี่ยวกับการเอาเปรียบประชาชนของปตท. ------------------------ คลิป2 ดูกลโกงเรื่องก็าซของปตท. ที่โกงประชาชนอย่างหน้าด้าน ถ้าคุณได้รู้ มันช่างเจ็บปวดใจนัก ผู้บริหารปตท.มันเลวจริงๆ ------------------------------------ คลิป3 แฉ!! การเติมคาร์บอนไดออกไซค์ในแก๊สของปตท. หลังจากดูทั้ง3คลิปจบแล้ว ผมฟันธงเลยว่า ปตท.คือบริษัทที่เลวที่สุดในประเทศไทย!!
ป้ายกำกับ:
จอง ขายหุ้นปตท. แปรรูป ทวงคืน ตระกูลดัง พธม.
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
สุดยอดสารคดี ต้องเอาตัวรอดจากสึนามิญี่ปุ่น!!
คุณผู้อ่านครับ สารคดีสึนามินี้เป็นสารคดีที่ดีมากๆ ให้เห็นถึงเบื้องหลังการหนีเป็นหนีตายของชาวญี่ปุ่นที่รอดชีวิตจากสึนามิครั้งใหญ่ที่ผ่านมา
ได้สาระ ความรู้ และชวนติดตามมากๆ กับคลิปเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ที่เราอาจไม่เคยเห็น
ไม่ควรพลาดครับ น่าติดตามตลอดรายการเลยครับ ทำให้เราได้รู้จักสึนามิในมุมมองของผู้ประสบกับเหตุการณ์จริงๆว่า เขารอดเพราะอะไร แล้วเขาเกือบไม่รอดเพราะอะไร
1.
2.
3.
4.
ขอขอบคุณ คุณTheGuardianAngle1 หรือคุณladyEdnaMode ด้วยครับ
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
อดีตบก.มติชนวิพากษ์2มาตรฐานของกรมสรรพากร
วันนี้ผมขอนำบทความของอดีตบก.มติชน ผู้ที่ถูกกระแสจากสื่อซื้อได้กดดันให้ลาออกเพราะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายทุนการเมือง
อดีตบก.มติชนได้เขียนบทความที่แสดงถึงสภาวะที่คนชั่วครองเมือง ข้าราชการสรรพากรเลียนักการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ภาษีมูลค่าหมื่นล้านแก่นายทุนการเมือง แต่กลับตามบดขยี้ตามไล่ล่าภาษีจากประชาชนธรรมดามูลค่าแต่สองร้อยกว่าบาท!!
V
V
"ประสงค์" อัดสรรพากรสองมาตรฐาน ไล่ล่าภาษีชาวบ้าน 235 บาท จนถึงฎีกาโดยไม่สนว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ขณะที่ภาษีโอนหุ้นชินคอร์ป 1.2 หมื่นล้านบาท ของตระกูลชินวัตร กลับไม่ยอมอุทธรณ์
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ , หนังสือพิมพ์มติชน และอดีตนายกสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่เพิ่งลาออกจากสังกัด “มติชน” ที่เขาทำงานมาอย่างยาวนาน 26 ปี ได้เผยแพร่บทความผ่านเว็ปไซต์ www.prasong.com เรื่อง "เปิด(ไร้?)มาตรฐานสรรพากร ภาษีแค่ 235 บ. ยื่นอุทธรณ์ แต่ภาษีชินวัตรหมื่นล.อุ้มเฉย?" วิพากษ์วิจารณ์มาตรฐานของกรมสรรพากร ในการจัดเก็บภาษีที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยมีการยื่นอุทธรณ์กรณีที่ประชาชนคนหนึ่งไม่เสียภาษีจำนวน 235 บาท เปรียบเทียบกับกรณีภาษีโอนหุ้นชินคอร์ป มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท ของตระกูลชินวัตร กลับไม่ยื่นอุทธรณ์ใดๆ ทำให้ถูกมองว่ากรมสรรพากรเอื้อประโยชน์ต่อครอบครัวชินวัตรหรือไม่ โดย มีรายละเอียดดังนี้....
"เปิด(ไร้?)มาตรฐานสรรพากร ภาษีแค่ 235 บ. ยื่นอุทธรณ์ แต่ภาษีชินวัตรหมื่นล.อุ้มเฉย?"
โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
สำหรับนักวิชาการด้านกฎหมายภาษีแล้ว การที่กรมสรรพากรไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกากรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 ให้นายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชนะคดีที่ยื่นฟ้องกรมสรรพากรซึ่งเรียกเก็บภาษีโอนหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น จำกัดหรือชินคอร์ป มูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างยิ่ง
เพราะที่ผ่านมา กรมสรรพากรมักตามไล่ล่าภาษีจากชาวบ้านแบบไม่ลดละไม่ว่าจำนวนเงินจะมากน้อยขนาดไหนก็ต้องสู้กันถึงศาลฎีกา
คดีที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่างเป็นชาวบ้านที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่กรมสรรพากรเห็นว่า ขาดไปเพียง 235 บาท จึงเรียกเก็บ ชาวบ้านไม่ยอมยื่นฟ้องกรมสรรพากรต่อศาลภาษีอาการกลาง
ปรากฏว่า กรมสรรพากรแพ้ แต่ไม่ยอมยุติคดี ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยไม่สนใจว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าใช้จ่ายในศาลและของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายมหาศาลเพียงใด
แม้ชนะคดีก็ได้เงินเข้าคลังมาเพียงไม่กี่ร้อยบาท ขณะที่คดีภาษีโอนหุ้นชินคอร์ปที่มีการประเมินภาษีสูงเกือบ 12,000 ล้านบาท แต่กรมสรรพากรกลับไม่ยอมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาให้วินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นบรรทัดฐานทั้งๆที่ไม่เคยมีกรณีเช่นนี้มาก่อน
พฤติกรรมของผู้บริหารกรมสรรพากรทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ต้องการเอื้อประโยชน์ครอบครัวชินวัตรเหมือนที่เคยทำมาแล้วในช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี
คดีการหลีกเลี่ยงภาษีโอนหุ้นสืบเนื่องจาก นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวน 329.2 ล้านหุ้นจาก บริษัท แอมเพิลริช อินเวสท์เมนท์ จำกัด ในราคาหุ้นละ 1 บาท เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนที่จะขายต่อให้แก่บริษัท เทมาเส็กโฮลดิ้ง ของสิงคโปร์ผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ในราคา 49.25 บาท ทำให้ได้ผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้นละ 48.25 บาท
ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)ไต่สวนพบว่า เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี จึงส่งให้กรมสรรพากรประเมินภาษีบุคคลทั้งสอง คนละ 5,675 ล้านบาท บุคคลทั้งสองจึงยื่นฟ้องกรมสรรพากร
อย่างไรก็ตามศาลภาษีฯวินิจฉัยว่า บุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริงเพราะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาในคดียึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร์(ชินวัตร) เป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง การที่กรมสรรพากรจะเก็บภาษีหุ้นจากบุคคลทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบ
ด้านนางจิตรมณี สุวรรณพลู รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรไม่ยื่นอุทธรณ์ เนื่องจากยึดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง จึงต้องคืนเงินสด 200 ล้านบาท และหลักทรัพย์ที่ดินอีก 1,000 ล้านบาท ที่อายัดไว้ คืนให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา มิเช่นนั้นกรมสรรพากรอาจจะถูกฟ้องได้ ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้ขอความเห็นจากกระทรวงการคลังแล้ว พร้อมยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลใหม่
ขณะที่นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการ คตส.กล่าวว่า การไม่ยื่นอุทธรณ์ของกรมสรรพากร ไม่น่าจะถูกต้อง แต่หากไม่ยื่นควรเรียกเก็บภาษีจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ทันที หรือหากคิดว่า เรียกเก็บภาษีจากอดีตนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ก็ต้องอุทธรณ์เก็บภาษีจากบุตร และธิดาทั้ง 2 คนให้ถึงที่สุด เพื่อไม่ให้รัฐเกิดความเสียหาย หากเก็บไม่ได้ผู้บริหารกระทรวงการคลัง และกรมสรรพากร จะมีความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157(อ้างอิงจากเว็บสถานีโทรทัศน์ TPBS วันที่ 8 สิงหาคม 2554)
(อ่าน “ชำแหละการยุติคดีภาษีชินคอร์ป มูลค่าหมื่นหนึ่งพันล้านบาทของชินวัตร” ประกอบ(ดาวน์โหลดได้จากเว็ปไซต์ www.isranews.org))
สำหรับคดีตัวอย่างที่กรมสรรพากรไล่เก็บภาษีชาวบ้านอย่างเอาเป็นเอาตาย(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2549) นางศิรินันท์ ศันสนาคม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมสรรพากรว่าจำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2542 เพิ่มอีก 235.88 บาท เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ที่คำนวณถึงวันที่ 30 เมษายน 2545 อีก 88.50 บาท
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมิน แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ที่ขอให้เพิกถอน การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยจึงยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยให้เพิกถอน การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้จำเลย(กรมสรรพากร)ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 300 บาท
จำเลย(กรมสรรพากร)อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า กรณีที่โจทก์แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 เบญจ เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) โดยมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วย โจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (1) ประเภทเดียวเต็มจำนวน 60,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 ทวิ หรือไม่
เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ทวิ เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะได้รับประโยชน์ในการ หักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ของตน ทั้งที่เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ตามมาตรา 40 (1) และเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ไม่ว่า จะเป็นค่านายหน้า เบี้ยประชุม ตามมาตรา 40 (2) โดยยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่จะหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ทั้งสองประเภทดังกล่าวรวมกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท โดยมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดเป็นการบังคับว่าต้องหักจากเงินได้พึง ประเมินประเภทใด ในสัดส่วนเท่าใด หรือต้องถัวเฉลี่ยกันอย่างไร ดังนี้ จึงหาใช่ว่า กรณีมีเงินได้พึงประเมินทั้งสองประเภทจะต้องถัวเฉลี่ยกันดังที่จำเลยเข้าใจและยึดเป็นแนวปฏิบัติไม่
เมื่อกฎหมายเปิดช่องไว้เช่นนี้ จึงเท่ากับมอบอำนาจในการตัดสินใจให้แก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินว่า ควรเลือกหักค่าใช้จ่ายในเงินได้ประเภทใด อย่างไร ในกรณีที่ผู้นั้นมีเงินได้พึงประเมินที่อาจหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งสองประเภท ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการบรรเทาภาระภาษีตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในส่วนนี้ ดังเช่น กรณีที่โจทก์เลือกหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เต็มจำนวน 60,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 ทวิ วรรคหนึ่ง เพียงประเภทเดียว ไม่ประสงค์จะหักค่าใช้จ่ายตามสิทธิจากเงินได้ในมาตรา 40 (2) ซึ่งสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีในส่วน เงินได้พึงประเมินของโจทก์ผู้เป็นภริยาตามความในมาตรา 57 ตรี
ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบ แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 200 บาท แทนโจทก์
( ธนพจน์ อารยลักษณ์ – ทองหล่อ โฉมงาม – โนรี จันทร์ทร องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา)
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว เห็นชัดว่า การประเมินเรียกเก็บภาษีจากนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา มีปัญหาในข้อกฎหมายเช่นเดียวกันจึงควรให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อเป็นบรรทัดฐาน แม้ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะวินิจฉัยว่า บุคคลทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นแทน พ.ต.ท.ทักษิณและพจมานก็ตาม แต่ประมวลรัษฎากรมาตรา 61 ก็ให้อำนาจกรมสรรพากรในการจัดเก็บภาษีจากบุคคลที่มีชื่ออยู่ในหนังสือสำคัญซึ่งแสดงว่า เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่มีเงินได้
การที่ผู้บริหารกรมสรรพากรด่วนสรุปไม่ยอมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาทั้งๆที่เป็นเงินกว่า 11,000 ล้านบาท แต่เงินแค่ 235 บาทกลับยื่นอุทธรณ์แบบเอาเป็นเอาตาย ทำให้สงสัยว่า มุ่งเอื้อประโยชน์ให้แก่ครอบครัวชินวัตรหรือไม่?
http://astv.mobi/AR1qaCs
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)