วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นิทาน พระเจ้า กับ นายไปรษณีย์ใจบุญ !!







เรื่องสั้น “คลาสสิก” เรื่องหนึ่งจากอเมริกาใต้ชื่อ “จดหมายถึงพระเจ้า” แปลเป็นภาษาไทยเมื่อราวสามสิบปีมาแล้ว โดย “หมอแอ็คติวิสต์” คนหนึ่งคือนายแพทย์เหวง โตจิราการ

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน บอกว่า เรื่องสั้นเรื่องนี้นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่นอกแวดวงแอ็คติวิสต์ คงไม่เคยอ่าน จึงขอนำมาเล่าให้ฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง โดยจะเล่าจากความทรงจำเพราะไม่มีเวลาไปค้นหนังสือมาอ่านทบทวน

-----------------------

“จดหมายถึงพระเจ้า” 

เป็นเรื่องราวของชาวนายากจน ซึ่งเป็นตัวอย่างของชาวนายากจนทั่วๆไป คือ นอกจากยากจนแล้วยังมีลูกมาก ชีวิตต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืช ราคาผลผลิตถูกกดราคาให้ตกต่ำ...ชาวนาคนนี้ชื่อ “เมอโซ”

ปีหนึ่งแล้งจัด เมอโซและลูกๆ อยู่ในภาวะอดอยากหิวโหย จนผ่ายผอมเพราะอดโซ แต่เมอโซยังมีความหวัง เพราะเขายังศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ทุกวันอาทิตย์เมอโซจะไปโบสถ์เป็นประจำ

เช้าวันอาทิตย์วันหนึ่ง เมอโซไปโบสถ์ตามปกติ หลังกลับจากโบสถ์ด้วยความสุข เพราะมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งได้ไปพบพระผู้เป็นเจ้า เมื่อกลับถึงบ้านเมอโซจึงหาทางติดต่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า

แม้เมอโซจะอดอยากยากจนมาตั้งแต่ครั้งปู่ยาตายาย แต่เขายังพออ่านออกเขียนได้ เขาจึงเขียนจดหมายถึงพระเจ้า รำพันถึงชะตากรรมอันโหดร้ายของตัวเองและลูกๆ บอกว่า ทุกคนกำลังจะอดตายอยู่แล้ว จึงขอให้พระเจ้าส่งเงินมาให้สัก 100 เปโซ เพื่อให้สามารถใช้ประทังชีวิตต่อไปได้...

หลังเขียนจดหมายเสร็จ เมอโซจ่าหน้าซอง “ถึงพระเจ้า” แล้วนำไปส่งที่ไปรษณีย์

เมื่อพนักงานไปรษณีย์พบจดหมายนี้ ก็ไม่รู้จะส่งไปที่ไหนตามกฎของไปรษณีย์เมื่อจดหมายจ่าหน้าไม่ชัดเจนส่งให้ผู้รับไม่ได้ จะต้องมีการประชุมพิจารณาว่าจะทำอย่างไร วิธีการหนึ่งที่ใช้กันเสมอคือเปิดจดหมายออกอ่าน เผื่อจะมีข้อมูลให้สามารถส่งถึงผู้รับได้...

จดหมายของเมอโซก็ได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือให้เปิดออกอ่าน

นายไปรษณีย์อ่านจดหมายแล้ว นอกจากเวทนาสงสารในชะตากรรมของเมอโซแล้วยังรู้สึกได้ถึงความศรัทธาอันเปี่ยมล้นของเมอโซที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า นายไปรษณีย์ไม่ต้องการให้เมอโซสูญเสียความศรัทธานี้ จึงชักชวนให้พนักงานไปรษณีย์ร่วมกันบริจาค

ในท้องที่ยากจนเช่นนั้น ไม่ใช่แต่เมอโซเท่านั้นที่ยากจน บรรดาพนักงานไปรษณีย์ก็มีฐานะพออยู่พอกินเท่านั้น จึงรวบรวมเงินบริจาคได้ทั้งสิ้นเพียง 70 เปโซ นำใส่ซองปิดผนึก แล้วจ่าหน้าซองถึงเมอโซ

วันอาทิตย์ถัดมา เมอโซไปโบสถ์ตามปกติ ขากลับเขาแวะที่สำนักงานไปรษณีย์ ถามหาว่ามีจดหมายถึงเขาบ้างไหม นายไปรษณีย์ยื่นซองจดหมายจ่าหน้าถึงเมอโซให้ด้วยความปลาบปลื้ม และภาคภูมิใจในกุศลกรรมที่ตนเองและพนักงานร่วมกันสร้างขึ้นครั้งนั้น

ทันทีที่กลับถึงบ้าน เมอโซเปิดซองจดหมายเห็นธนบัตรเก่าๆ ในซองนั้น ก็รู้สึกดีใจอย่างมาก รีบนับเงินได้ 70 เปโซพอดี โทสะของเมอโซพลุ่งพล่านขึ้น!!

เขารีบเขียนจดหมายถึงพระเจ้าอีกฉบับ ข้อความว่า ถึงพระเจ้า ขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาการุญของพระองค์ที่ส่งเงินไปให้ ด้วยเงินจำนวนนั้น เขาและลูกๆ คงจะรอดพ้นความอดตายไปได้ แต่เขานับเงินที่พระเจ้าส่งไปให้แล้ว มีเพียง 70 เปโซ ขาดไป 30 เปโซ

“ฉะนั้นโปรดส่งเงินที่เหลืออีก 30 เปโซ ไปให้ผม แต่คราวนี้ขอให้ส่งถึงผมโดยตรง อย่าส่งผ่านทางไปรษณีย์ เพราะไปรษณีย์พวกนี้มันขี้ฉ้อคดโกงทั้งนั้น”

---------------------

คุณหมอวิชัยบอกว่า กรณีที่กำลังเกิดกับองค์การเภสัชกรรม ทั้งกรณีปัญหาตัวยาพาราเซตามอล กรณีการก่อสร้างโรงงานยาต้านไวรัสเอดส์ และโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กำลังถูกกระทำให้ตกอยู่ในสภาพคล้ายคลึงกับกรณีของพนักงานไปรษณีย์กับเมอโซ

กรณียาพาราเซตามอล เป็นความพยายามในการพัฒนาการผลิตอย่างรับผิดชอบ ทั้งการปรับปรุงโรงงานเพื่อผลิตเอง และการสำรองยาไว้เพื่อมิให้ขาดแคลน โดยเฉพาะในยามฉุกเฉิน แต่ต่อมามีปัญหาว่าตัวยาอาจไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งน่าจะเกิดจากการปนเปื้อน (Contamination) แต่ก็ถูกบิดเบือนว่าเป็นการปลอมปน (Counterfeit) และแท้จริงแล้วยังไม่รู้ว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร

รวมทั้งยังมิได้มีการนำไปผลิตจำหน่ายแต่อย่างใด ก็กลับทำให้เป็นเรื่องราวใหญ่โตกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือที่สั่งสมกันมายาวนานขององค์การเภสัชกรรม

กรณีโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปัญหาใหญ่เกิดจากความไม่รู้ และความไม่เข้มแข็งทางวิชาการของประเทศ และเหตุปัจจัยอันอยู่ “นอกการควบคุม” ขององค์การเภสัชกรรมแทบทั้งสิ้น

โรงงานยาเอดส์ ก็เช่นกัน แม้จะล่าช้าเพราะปัญหาอุปสรรคมากมาย แต่จุดที่ควรแก่การชื่นชม คือ สามารถปรับปรุงแบบและเทคโนโลยี จนสามารถเพิ่มการผลิตจากปีละ 80 ล้านเม็ด เป็น 3,500 ล้านเม็ด โดยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ กลับเจอแต่การ “จับผิด”...“หาเรื่อง”

ในเรื่องจดหมายถึงพระเจ้า ไม่พูดถึงว่าบรรดาพนักงานไปรษณีย์ได้เปิดจดหมายฉบับที่สองของเมอโซออกอ่านหรือไม่ ก็ได้แต่หวังว่าพวกเขายังคงมั่นคงในความมีใจการุญต่อไป

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ย้ำว่า ผู้บริหารและพนักงานองค์การเภสัชกรรม ขออย่าได้ “หวั่นไหวในโลกธรรม” และขอให้เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม คือ ทำดีดี...ทำชั่วชั่ว

สิ่งที่พวกท่านได้กระทำเป็นกุศลกรรม คือ ความดีแน่นอน ส่วนที่พวกท่านถูกกระทำจาก “โทสจริต” และ “โมหจริต” นั้น เป็นอกุศลกรรมอย่างชัดแจ้ง


องค์การเภสัชกรรมเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลเรื่องยาซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นของประชาชน เป็นสินค้าที่มีความละเอียดอ่อนและอ่อนไหวง่าย

เมื่อองค์การเภสัชกรรมอ่อนแอลง ก็ไม่สามารถทำหน้าที่สำคัญของรัฐวิสาหกิจที่ดีได้ ทั้งในเรื่อง

1) การป้องกันแก้ไขปัญหาขาดแคลนยา โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน ภัยพิบัติ
2) การตรึงราคายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น และโดยเฉพาะที่ต้องใช้จำนวนมาก เพื่อประหยัดเงินของ ประเทศชาติและประชาชน
 3) การจัดหายากำพร้าที่บริษัทยาไม่สนใจจำหน่ายเพราะทำกำไรไม่ได้ และเสี่ยงสูงต่อการขาดทุน 4) การทำซีแอลยา ในกรณีจำเป็นเพื่อช่วยชีวิตของผู้ป่วยจำนวนมาก และเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

ถ้าองค์การเภสัชกรรมอ่อนแอลง ก็ย่อมเป็นที่ยินดีของบริษัทยาเอกชน โดยเฉพาะบริษัทยาข้ามชาติ ที่มีข่าวว่ามีการ “ลงขัน” กันเพื่อทำลายองค์การเภสัชกรรม

ประเด็นน่าสนใจไปกว่านั้นมีข่าวค่อนข้างชัดเจนว่า คนใหญ่ฝ่ายการเมืองที่จ้องทุบ ทำลายองค์การเภสัชฯ กำลังจะหาทางแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือ...องค์การเภสัชกรรมเพื่อให้เป็นบริษัทมหาชน น่าสงสัยว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ทุบหุ้น” แล้วฉวยโอกาสเข้า “ดักซื้อ” หรือไม่

พฤติกรรมอันน่าจะ “มิชอบ”...ถือเป็นโชคร้ายของประเทศไทย.


เขียนโดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม อดีต ปธ.บอร์ดองค์การเภสัชฯ และผู้เขียนหนังสือ กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ

ที่มา http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/348233


----------------------

นิทานจดหมายถึงพระเจ้า ฉบับภาษาอังกฤษ

Letter to God

Lencho's little house is near a small hill. Nearby you can see a river and fields of healthy corn and flowering beans. Everything promises to be a great harvest, but everyone thinks a few good rains or at least one good shower will help bring in a good harvest.

Starting early in the morning, Lencho looks to the sky toward the northeast, hoping for rain.

"Now, if only it would rain," he says aloud.

Nearby, his wife is preparing dinner, and remarks, "It will rain if God wishes!"

Their older chidren are out in the fields weeding, while the younger ones play near the house.

The wife calls out "Time to eat!"

While eating dinner, huge drops of rain begin to fall. Enormous dark clouds advance from the northeast. The air becomes cool and scented, and Lencho watches the fields with pleasure. Suddenly though, a strong wind begins blowing and hail begins to fall.

Lencho exclaims, "This is getting ugly!"

It does get ugly; within an hour hail falls upon the house, upon the corn, upon the beans, upon the whole valley. The fields are white, like they were covered with salt. The trees, without a single leaf. The beans, without any flowers.

Lencho becomes more and more anguished, and when the storm is finished, with a sad voice, he says to his sons, "This is worse than the locusts! The hail has left us with nothing! We won't have any corn or beans this year."

It's a night of very sad complaints.

"All our work is lost!"

"No one will be able to help us!"

"This year we will go hungry!"

In their hearts though was the hope that God would help the people of the valley in some way.

Lencho tells everyone, "Although the damage is very bad, no one could die of hunger: God would help! God is good! No one will die of hunger!"

Lencho thinks hard about their future. Although he is a rough man who works like a beast in the fields, he knows how to write. So, he decides to write a letter and deliver it himself to the post office.

It is a letter to God:

"God, if you do not help, we will go hungry during the next year. I need a hundred pesos to plant some more beans and corn and to live while we wait for the next harvest, because of the hailstorm...."

He writes "To God" on the paper and puts it in an envelope. He goes to the village post office and buys a stamp to mail the letter. He drops it in the mail box.
An employee notices it later, opens it and reads it, and laughing, he shows it to the postmaster.

The postmaster, big and kindhearted, also laughs after reading it, but very quickly becomes serious and exclaims, "The faith! What incredibly pure faith! This man really believes, and for that belief he's writing to God!"

Not wanting to disillusion such a man of strong faith, the postmaster decides to answer the letter. But first, he rounds up some money from the employees and from some of his friends.

He's not able to raise enough of what Lencho wants, but at least gets a little more than half of what Lencho was asking for. He puts the money in an envelope addressed to Lencho and with it a letter consisting of one word: GOD.

A week goes by and Lencho returns and asks if he's gotten any mail. Yes, he has, but he shows no surprise whatsoever. Nor is he surprised to see the money, since he has faith in God and hope. But upon counting the money, he becomes furious. Immediately he goes up to a window, gets some paper and ink, then goes to a table to write:

"God: about the money I asked you for. Only a little less than sixty pesos arrived. Send the rest, because I need it very much, but don't send it to me through the post office because all the employees at the post office are a bunch of theives.

Yours,LENCHO."



คลิกอ่าน ทำไมทหารต้องฆ่าช่างภาพอิตาลีเมื่อปี 53


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก