ผมเพิ่งได้อ่านบทความทาง astv เกี่ยวกับต้นตระกูลกฤดากร และต้นตระกูลภิรมย์ภักดี จึงได้เห็นถึงส่วนสำคัญอย่างมาก ที่อยากให้ตระกูลภิรมย์ภักดี ควรตระหนักและพึงระลึกไว้เสมอว่า
รัชกาลที่ 7 และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการของเบียร์สิงห์อย่างไร
ไม่ใช่เอาแต่เห็นแก่ธุรกิจตัวเองเท่านั้น จนลืมนึกถึงการปกป้องชาติและสถาบันกษัตริย์แบบที่นายสันติ ภิรมย์ภักดี ได้แสดงจุดยืน
หรือที่นายเต้ ภิรมย์ภักดีอ้างว่า คุณทวดสั่งไว้ไม่ให้คนในตระกูลภิรมย์ภักดีเล่นการเมือง
พวกคุณไม่รู้เหรอว่า ทักษิณ มันจาบจ้วงและชุบเลี้ยงพวกล้มสถาบันกษัตริย์ไว้มากมาย !!
โดยเฉพาะนายเต้ ภูริต หัดแยกแยะบ้างว่า ประชาชน 5.6ล้านคนบนท้องถนน เขาก็ไม่ได้มาเล่นการเมือง แต่เขาออกมาเพื่อปกป้องชาติให้พ้นจากพวกโกงกิน ออกมาเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ให้พ้นภัยจากพวกหนักแผ่นดิน เข้าใจไหม ?
เสียดายนะที่นายเต้ เสือกคิดแยกแยะไม่เป็น
-----------------
ต้นตระกูลภิรมย์ภักดี
ต้นสกุลภิรมย์ภักดี คือ บุญรอด เศรษฐบุตร หรือ พระยาภิรมย์ภักดี (พ.ศ.2415-2493) เป็นบุตรของพระภิรมย์ภักดี (ชม เศรษฐบุตร) กับนางมา เศรษฐบุตร เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2415 ที่ย่านจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
บุญรอด เศรษฐบุตร หรือ พระยาภิรมย์ภักดี (พ.ศ.2415-2493) ต้นสกุลภิรมย์ภักดี
ข้อมูลจาก “ภิรมย์ภักดี...จากตระกูลขุนนางสู่เส้นทางธุรกิจ" โดย วิมล อุดมพงษ์สุข ระบุว่า “นายบุญรอด เศรษฐบุตร มุ่งที่จะเจริญรอยตามบิดาในเส้นทางราชการ ด้วยความเฉลียวฉลาดและใฝ่รู้ทางการศึกษาพระยาภิรมย์ภักดีจึงได้รับคัดเลือกให้เป็นครู
หากแต่เมื่อสอบเข้าเป็นเลขานุการกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ได้กลับถูกยับยั้งไม่ให้ออก พระยาภิรมย์ภักดีจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูไปทำงานเป็นเสมียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษที่โรงเลื่อยของห้างกิมเซ่งหลี และห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซัน การเลือกเส้นทางธุรกิจแทนการรับราชการของคนไทยแท้ๆ อย่างพระยาภิรมย์ภักดี จึงเป็นการแหวกกฎเกณฑ์ค่านิยมของสังคมไทยในยุคนั้น
“ประสบการณ์ ทักษะและความจัดเจนทางธุรกิจได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการสะสมทุน พระยาภิรมย์ภักดีจึงตัดสินใจพลิกชีวิตของตนมาเป็นเจ้าของกิจการ จากกิจการค้าไม้ การเดินเรือโดยสาร และริเริ่มความคิดที่จะก่อตั้งโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกขึ้นในประเทศ ในขณะที่มีอายุ 57 ปี”
ทั้งนี้ นายบุญรอด เศรษฐบุตร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อตอนจะก่อตั้งโรงเบียร์ โดยมีบันทึกไว้ในสารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย โดยระบุไว้โดยสรุปได้ดังนี้
ในปี พ.ศ.2473 พระยาภิรมย์ภักดี ยื่นเรื่องขออนุญาตผลิตเบียร์ต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งมีพระยาโกมารกุลมนตรี เป็นเสนาบดี พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโดยเห็นว่า เบียร์เป็นสินค้าที่ชาวต่างประเทศได้ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศสยามนานแล้ว ทำให้มีเงินออกนอกประเทศมาก ถ้าสามารถผลิตขึ้นได้เองก็จะป้องกันเงินออกนอกประเทศ และประหยัด รวมทั้งได้ประโยชน์ที่จะสามารถขายได้ราคาถูกกว่า สามารถใช้ปลายข้าวแทนข้าวมอลต์ ทำให้กรรมกรไทยมีงานทำ
ความคิดที่จะผลิตเบียร์ขึ้นเองของพระยาภิรมย์ภักดีนั้น เนื่องมาจากท่านมีกิจการเดินเรือเมล์ระหว่างตลาดพลูกับท่าเรือราชวงศ์โดยใช้ชื่อว่าบริษัท บางหลวง จำกัด ต่อมารัฐบาลได้เริ่มสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและตัดถนนเชื่อมตลาดพลูและประตูน้ำภาษีเจริญ ทำให้ไม่สามารถเดินเรือได้ จึงต้องหาทางขยับขยายกิจการไปทำกิจการค้าอย่างอื่นเพื่อรองรับ เมื่อศึกษาเห็นว่าเบียร์สามารถผลิตในประเทศเขตร้อนได้ จึงได้เริ่มโครงการที่จะตั้งโรงงานผลิตเบียร์ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
เมื่อยื่นเรื่องขออนุญาตต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีการพิจารณากันอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลยังไม่เคยมีนโยบายมาก่อน
ระหว่างที่รอการอนุญาตจากทางรัฐบาล พระยาภิรมย์ภักดีได้เดินทางไปเมืองไซ่ง่อน ประเทศอินโดจีน ในปี 2474 เพื่อศึกษาแบบแปลนเครื่องจักร ตลอดจนวิธีผลิตเบียร์
หลังจากรัฐบาลพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิตเบียร์และการเก็บภาษีเบียร์ผ่านไปประมาณ 1 ปี จึงได้อนุญาตให้พระยาภิรมย์ภักดีผลิตเบียร์ได้ แต่ห้ามการผูกขาด และให้คิดภาษีเบียร์ในปีแรกลิตรละ 1 สตางค์ ปีที่สองลิตรละ 3 สตางค์ ปีที่สามลิตรละ 5 สตางค์ ส่วนปีต่อๆ ไปจะพิจารณาตามที่เห็นสมควร
ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2475 กระทรวงมุรธาธร โดยพระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลละอองธุลีพระบาท ความว่า ได้รับรายงานจากกรมสรรพสามิตว่า
นายลักกับนายเปกคัง ยี่ห้อ “ทีเคียว” ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตผลิตเบียร์ขึ้นจำหน่ายในพระราชอาณาเขต โดยรับรองว่า จะผลิตเบียร์ชนิดที่ทำด้วยฮ็อพและมอลต์ชนิดเดียวกับเบียร์ต่างประเทศ โดยจะผลิตประมาณ 10,000 เฮกโตลิตรต่อปี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชกระแสว่า...
“เป็นเรื่องแย่งกับพระยาภิรมย์ และถ้าให้ทำก็คงทำสำเร็จก่อนพระยาภิรมย์ภักดี เพราะฉะนั้นคนที่เริ่มคิดก่อนและเป็นพ่อค้าไทยกลับจะต้องฉิบหายและทำไม่สำเร็จ”
ทรงเห็นว่าไม่ควรอนุญาต
“พระยาภิรมย์ขอทำก่อน ได้อนุญาตไปแล้ว เวลานี้ยังไม่ควรอนุญาตให้ใครทำอีกเพราะจะมีผล 2 อย่าง คือ 1. คนไทยกินเบียร์กันท้องแตกตายหมดเพราะจะแย่งกันขายลดราคาแข่งกัน 2. คงมีใครฉิบหายคนหนึ่ง ถ้าหากไม่ฉิบหายกันหลายคน”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้กราบบังคมทูลสนับสนุนว่า “ไม่ควรอนุญาตให้ผลิตในเวลานี้ ควรรอดูว่า พระยาภิรมย์จะทำสำเร็จหรือไม่ และคอยสังเกตเรื่องการบริโภคก่อน นอกจากนั้นผู้ขออนุญาตรายนี้เป็นคนต่างด้าว จึงสามารถที่จะอ้างได้ว่า ต้องอุดหนุนคนไทยและอุตสาหกรรมที่มีทุนไทยก่อน”
รัชกาลที่ 7 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังตอบว่า
“ยังไม่ให้อนุญาต รัฐบาลได้อนุญาตไปรายหนึ่งแล้ว ต้องรอดูก่อนว่าจะได้ผลอย่างไร เพราะเรื่องนี้สำคัญสำหรับความสุขของราษฎร และฝ่ายพระยาภิรมย์จะใช้ข้าว และผลพลอยได้ (Byproduct) ของข้าวด้วยฝ่ายรายที่ขออนุญาตใหม่ไม่ใช้ข้าวเลย”
มีข้อที่น่าสังเกตที่พระยาวิษณุบันทึกไว้ว่า
1. ที่จะอนุญาตให้พระยาภิรมย์นั้น ดูมีพระราชประสงค์จะอุดหนุนการตั้งโรงงานของไทย
2. อัตราภาษี รายพระยาภิรมย์ภักดีนั้นเป็นทำนองรัฐบาลให้เป็นพิเศษแก่ผู้เริ่มคิด ให้ได้ตั้งต้นได้โดยใช้อัตราทั่วไป
3. รายใหม่นี้ในเงื่อนไขไม่ได้กำหนดภาษีลงไป แต่คลังรายงานเป็นทำนองว่า จะเก็บภาษีอัตราเดียวกับที่จะเก็บจากพระยาภิรมย์
4. แม้ตกลงไม่ให้โมโนโปลี (Monopoly) แก่พระยาภิรมย์ภักดี แต่ก็เคยมีพระราชดำริอยู่ว่าชั้นนี้ควรอนุญาตให้พระยาภิรมย์ทำคนเดียวก่อน ถ้าให้หลายคนก็เป็น อิคอนอมิก ซูอิไซด์ (Economic suicide)
โฆษณาเบียร์ตราว่าวปักเป้า และตราสิงห์ พ.ศ.2479
เบียร์ไทยที่ผลิตออกมาครั้งแรกในปี 2477 นั้นได้นำไปทดลองดื่มกันในงานสโมสรคณะราษฎรเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2477 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงเปิดป้ายบริษัทเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2477 เบียร์รุ่นแรกที่ผลิตออกมาและวางจำหน่ายในราคาขวดละ 32 สตางค์นั้นมีเครื่องหมายการค้าอยู่หลายตรา รวมทั้งตราสิงห์
ความเติบโตทางธุรกิจมาจนถึงรุ่นเหลนพระยาภิรมย์ภักดีในวันนี้ ในมุมมองของจึงแยกไม่ออกจากพระมหากรุณาธิคุณในสถาบันพระมหากษัตริย์ในอดีตแต่อย่างใด
----------------
ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งภิรมย์ภักดี
สำหรับ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี บิดาของ “ตั๊น จิตภัสร์” ก็ถือว่าเป็นหลาน “พระยาภิรมย์ภักดี” และถือเป็น “สิงห์” รุ่นที่ 3 โดยนายจุตินันท์เป็นบุตรของ นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี
ขณะที่นายใหญ่แห่งสิงห์ คอร์เปอเรชั่น คนปัจจุบัน นายสันติ ภิรมย์ภักดี นั้นเป็นบุตรชายของ นายประจวบ ภิรมย์ภักดี บุตรคนที่ 2 ของ “พระยาภิรมย์ภักดี” โดยนายประจวบถือเป็นหัวใหญ่ของบุญรอดในรุ่นที่ 2 ร่วมกับ วิทย์ และจำนงค์
โดยนายประจวบ ภิรมย์ภักดี ได้มีโอกาสไปเรียนวิชาผลิตเบียร์ที่มิวนิก ประเทศเยอรมนี จนสำเร็จเป็นบริวมาสเตอร์คนแรกของเมืองไทย
ซึ่งเมื่อพระยาภิรมย์ภักดีเสียชีวิตในปี พ.ศ.2493 ประจวบได้ขึ้นมารับตำแหน่งประธานบริษัท โดยมีวิทย์เป็นรองประธาน รับผิดชอบทางด้านการตลาด ส่วนจำนงค์เป็นกรรมการ รับผิดชอบด้านบัญชี
ขณะที่ทายาทสิงห์รุ่นที่ 3 ประกอบไปด้วย ปิยะ ภิรมย์ภักดี บุตรชายคนโตของประจวบซึ่งจบการศึกษาเรื่องเบียร์มาจากที่เดียวกับบิดา และได้ชื่อว่าเป็นบริวมาสเตอร์คนที่ 2 ของประเทศไทย และ นายสันติ ภิรมย์ภักดี บุตรชายคนรอง
ส่วนสาย วิทย์ ภิรมย์ภักดี มีบุตรชาย 2 คน คือ วุฒา และ วาปี ภิรมย์ภักดี ขณะที่ จำนงค์ ภิรมย์ภักดี มีบุตรชายเพียงคนเดียว คือ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี บิดาของ “ตั๊น จิตภัสร์”
ข้อมูลจาก http://astv.mobi/AzuzLl9
ผู้ชายที่นั่งบนเก้าอี้ซ้ายสุดคือ นายสันติ ภิรมย์ภักดี คนต่อมาคือ นายปิยะ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด
-----------------------
สรุปส่งท้าย
จะเห็นได้ว่า รัชกาลที่ 7 ได้ทรงช่วยปกป้องกิจการของคนไทยรายแรกที่บุกเบิกกิจการเบียร์ โดยพระองค์ทรงไม่มีพระบรมราชานุญาตให้ยี่ห้อเบียร์จากต่างชาติมาผลิตแข่งในไทยในช่วงแรก เพื่อต้องการให้กิจการเบียร์ของคนไทยไปรอด
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่7 ที่มีต่อตระกูลภิรมย์ภักดี และกิจการเบียร์สิงห์อย่างมาก
การที่มีทายาทรุ่นที่ 4 ออกมาปกป้องชาติและสถาบันกษัตริย์อย่างคุณตั๊น จิตภัสร์ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมอย่างมาก แต่นายสันติ ภิรมย์ภักดีและลูกชายคนโตของเขากลับไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
เกรงว่า ถ้าวิญญาณของพระยาภิรมย์ภักดี รับทราบเรื่องนี้ ท่านอาจจะบอกนายสันติ และลูกชายว่า
"วิญญาณปู่ภิรมย์ภักดี จะร้องว่า กูมีลูกหลานจั...?."
คลิกอ่าน เต้ ภิรมย์ภักดี ตอกย้ำว่าเป็นพวกเดียวกับลูกหลานทักษิณ