
กรณีถุงยังชีพชองกระทรวงพลังงานที่นายอภิสิทธิ์ไปช่วยแจกที่พิษณุโลก ที่เป็นประเด็นอภิปรายในสภาที่ผ่านมา
ผู้ว่าปรีชา เรืองจันทร์ คนดังที่ออกสะเก็ดข่าวประจำ เพราะแกลุยทุกงานชาวบ้าน ก็รีบทำหนังสือมาถึงมหาดไทยเพราะตนเองเกรงกลัวรัฐบาลเอาเรื่อง ว่าไปเข้าข้างฝ่ายค้าน ตามนี้

ตัวท่านผู้ว่าก็ชี้แจงเองว่า ไม่รู้ว่ามีถุงยังชีพของกระทรวงพลังงานมีอยู่ที่สำนักงานพลังงานจังหวัด
พอสส. พิษณุโลกเขารู้ว่ายังมีถุงยังชีพเหลืออยู่ เขาประสานขอมาเพื่อเอาไปช่วยแจก แล้วท่านผู้ว่าก็ให้เขาไปน่ะถูกแล้ว จะเก็บไว้ไม่แจกไปทำซากอะไรล่ะครับ
ผู้ว่าไม่รู้ว่ามีถุงยังชีพเหลือ ถือว่า บกพร่องในการจัดการอยู่แล้ว อย่ามาบกพร่องเหมือนสันดานศปภ. ที่กั๊กของบริจาคจนขายขี้หน้าเขาไปทั้งประเทศเลยครับ
ความอึดอัด น่ะ คนเรามีเกิดขึ้นได้ทุกคน
แต่ถ้าเอาเรื่องในใจตนเอง ไปบอกเพียงเพราะเกรงกลัวอำนาจรัฐแบบนี้
ผู้ว่าปรีชา ผมผิดหวังกับท่านมากครับ
ผมakecityเสียดาย ที่ชื่นชมท่านผู้ว่า มาหลายปี!!
ต่อมานายศิริโชค โสภา สส.ฝ่ายค้าน ตอบโต้ผู้ว่าปรีชา ผ่านเฟซบุ้ก ตามนี้
นายศิริโชค โสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงกรณี “จดหมาย ผู้ว่าพิษณุโลก” และตอบโต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ถอดรหัสกรณี ผู้ว่า พิษณุโลก ตอกย้ำ กั๊ก ถุงยังชีพ เลือกปฎิบัติ คิดถึงแต่การเมือง ไม่มีใจให้ชาวบ้าน
1)ในเอกสารผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ระบุชัดว่า "ไม่ทราบว่ามีถุงยังชีพ 500 ถุงอยู่ที่สำนักงานพลังงานจังหวัดพิษณุโลก" ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความล้มเหลวในการบริหารถุงยังชีพเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
มีเพียงสองเหตุผลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจอนุมัติถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้ประชาชนจะไม่รับทราบข้อมูลดังกล่าว คือ
1 ผู้ว่า บกพร่องในหน้าที่จนปล่อยให้ถุงยังชีพตกค้างในสำนักงานพลังงานจังหวัดพิษณุโลก ทั้ง ๆ ที่ยังมีประชาชนต้องการความช่วยเหลือ หรือ
2 กระทรวงพลังงานกั๊กถุงยังชีพไว้ด้วยเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่ด้วยเหตุเพื่อช่วยชาวบ้าน
2) "ในสถานการณ์นั้น ข้าพเจ้ามีความรู้สึกอึดอัดและกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง หากจะปฏิเสธการสนับสนุนกรณีดังกล่าวก็เห็นว่าผู้ที่ร้องขอมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกต้องการที่จะนำไปช่วยเหลือราษฎรและอาจถูกตำหนิได้ว่าไม่ให้ความสนใจดูแลประชาชน เป็นเสมือนสถานการณ์บังคับให้ข้าพเจ้าต้องอนุญาตให้ไปตามจำนวนเท่าที่สำนักงานพลังงาน จ.พิษณุโลก มีอยู่"
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ว่าฯเองก็รับทราบดีว่า ส.ส.มีสิทธิ์ที่จะขอความอนุเคราะห์จากทางราชการเพื่อนำสิ่งของไปช่วยผู้ประสบภัย ไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธ ไม่เช่นนั้นผู้ว่าฯคงไม่พูดถึงความรู้สึกของตัวเองเกรงว่า "อาจถูกตำหนิได้ว่าไม่ให้ความสนใจดูแลประชาชน เป็นเสมือนสถานการณ์บังคับให้ข้าพเจ้าต้องอนุญาต"
แต่ที่ผู้ว่าฯรู้สึกอึดอัดเป็นเพราะคนที่ขอความอนุเคราะห์เป็นส.ส.ฝ่ายค้านใช่หรือไม่ จะไม่ให้ก็ไม่ได้เพราะเป็นสิทธิที่ส.ส.จะขอความอนุเคราะห์จากทางราชการในการช่วยเหลือประชาชน นี่คือสถานการณ์บังคับทำให้ผู้ว่าปฏิเสธคำร้องขอนี้ไม่ได้ ไม่ใช่เพราะ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ไปบีบบังคับผู้ว่าฯแต่อย่างใด
3 )เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวยิ่งตอกย้ำว่ารัฐบาลบริหารถุงยังชีพโดยยึดผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นที่ตั้ง ไม่มีใจให้ประชาชนที่กำลังเดือดร้อน บีบบังคับให้ข้าราชการทำงานลำบาก เพราะมีการเลือกปฏิบัติกีดกัน ส.ส.ฝ่ายค้านไม่ให้ได้รับความอนุเคราะห์จากทางราชการ ทั้ง ๆ ที่เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน สะท้อนถึงความคับแคบของรัฐบาล จึงต้องตั้งคำถามไปยังผู้ว่าฯว่า หากเป็นส.ส.รัฐบาลขอความอนุเคราะห์เรื่องถุงยังชีพท่านพร้อมที่จะดำเนินการให้ทันทีใช่หรือไม่?
นอกจากนี้การที่รมว.พลังงานพูดในสภาว่า กรณีที่ผู้ว่าฯมอบถุงยังชีพให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กระทบกับแผนในการแจกจ่ายถุงยังชีพของท่านนั้น น่าสงสัยว่า จะมีแผนอะไรสำหรับรัฐบาลมากไปกว่าการเร่งรีบกระจายถุงยังชีพไปบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่ใช่แผนทางการเมืองที่รัฐบาลมีเจตนาใช้เงินภาษีของประชาชนสร้างคะแนนเสียงบนความทุกข์ยากของประชาชนใช่หรือไม่ ยอมทำแม้กระทั่งกั๊กถุงยังชีพเอาไว้โดยที่แม้แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ยัง ไม่ทราบว่ามีถุงยังชีพอยู่ในความดูแลของตัวเอง
4) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ.ยืนยันมาโดยตลอดว่าถุงยังชีพของทางราชการไม่ได้เลือกปฏิบัติให้เฉพาะ ส.ส.รัฐบาล แต่ส.ส.ฝ่ายค้านก็มีสิทธิ์ขอได้ด้วยการทำเรื่องไปยัง ศปภ.
ซึ่งกรณีนี้ นายแพทย์วรงค์ก็ขออนุมติจากผู้ว่าฯ ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนและในการแจกถุงยังชีพก็ระบุชัดว่าเป็นของกระทรวงพลังงานไม่ได้มีการแอบอ้างว่าเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ หรือสวมรอยใส่ชื่อของตัวเอง ซึ่งพรรคยังยืนยันว่า หากมีการแอบอ้างเหมือนที่เกิดขึ้นในหลายกรณีที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
น่าแปลกใจว่านายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รมว.มหาดไทย เพิ่งออกมาปกป้อง ส.ส.รัฐบาลที่ใส่ชื่อตัวเองไปใส่ในถุงยังชีพด้วยการตอบคำถามผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 28 พ.ย.เกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า "ไม่มีใครว่างคิดมากอย่างนั้น เพราะประชาชนกำลังอดอยาก จะทำอย่างไรก็ได้ ขออย่าให้ประชาชนเดือดร้อนก็พอ"
จึงต้องตั้งคำถามกลับไปว่า ทำไมการที่ส.ส.ฝ่ายค้านนำถุงยังชีพของกระทรวงพลังงานไปแจกจ่ายให้ประชาชน โดยไม่มีการแอบอ้างมาเป็นของตัวเองเพื่อประโยชน์ทางการเมือง กล่าวขอบคุณกระทรวงพลังงานว่าเป็นผู้อนุเคราะห์ถุงยังชีพให้ประชาชนอย่างตรงไปตรงมากลับมีคนว่างคิดมาก
ในขณะที่ประชาชนกำลังอดอยาก ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ถ้าไม่ใช่เพราะ รมว.พลังงานต้องการหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นการเมืองกลบเกลื่อนการกระทำผิดของพรรคพวกตัวเอง
5) การที่ รมว.พลังงาน กล่าวหาว่า การประสานเพื่อขอความอนุเคราะห์นำถุงยังชีพมาแจกจ่ายให้ประชาชน เป็นการกระทำที่บีบบังคับผู้ว่า กทม.เข้าข่ายกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 266 นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผู้พูดขาดความเข้าใจในข้อกฎหมายโดยสิ้นเชิง และยังขาดแคลนปัญญาที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างการประสานเพื่อขอความอนุเคราะห์กับการที่ ผอ.ศปภ.มีคำสั่งแต่งตั้ง ส.ส.เพื่อไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ซึ่งทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปแทรกแซงฝ่ายบริหาร ถือเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจน
จึงขอท้าให้ รมว.พลังงาน ยื่นถอดถอนนายแพทย์วรงค์ ควบคู่ไปกับการที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังจะยื่นถอดถอน 9 ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย เพราะบุคลากรของพรรคประชาธิปัตย์เคารพการตรวจสอบ จะไม่มีการไปฟ้องดำเนินคดีแพ่งและอาญากับท่านเหมือนที่นายจตุพรขู่จะดำเนินการกับพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน
เรื่องนี้ผมเข้าใจความหมายของคำว่าผู้มีปัญญาแพ้คนหน้าด้าน แต่ผมยืนยันได้ว่าคนมีปัญญาอย่างพรรคประชาธิปัตย์จะยืนหยัดทำในสิ่งถูกต้อง ไม่มีทางยอมแพ้อย่างแน่นอน
------------------------
ดูคลิปข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ในนาที 3.25เป็นต้นไป
ฟังคุณสรยุทธและน้องไบร์ทเล่า ว่า นายปรีชา เรืองจันทร์ ผจว.พิษณุโลกให้สัมภาษณ์ขัดแย้งกับเอกสารด้านบน ที่ส่งไปที่มหาดไทยอย่างไร?
คลิก ทีวีไทยเจาะลึกถุงยังชีพฉาวของศปภ.!!