วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยิ่งลักษณ์ช่วยคนไทยได้ ถูกทั้งแผ่นดิน!! แล้ว





ชื่อบทความนี้ คือ ยิ่งลักษณ์ช่วยคนไทยได้ ถูกทั้งแผ่นดิน!! แล้ว หมายถึงอะไร?

ก็ตามข่าวนี้ครับ

รัฐตัดงบรายหัวสปสช.ลง4.9%กระทบ30บาท-บริการคุณภาพต่ำ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!


เป็นไงล่ะครับ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ช่วยคนไทยถูกทั้งแผ่นดินแล้วจริงๆ นั่นก็คือ ชีวิตราคาถูกทั้งแผ่นดินไงครับ

ด้วยการลดคุณภาพการรักษาพยาบาลคนไทยให้ด้อยลง

ตอนหาเสียง ปากก็หลอกประชาชนว่า จะนำ30บาทรักษาทุกโรคกลับมาใหม่ จะเก็บ30บาท เพื่อให้คนไทยมีศักดิ์ศรีเวลามารักษาพยาบาล และจะทำให้การบริการ30บาทรักษาทุกโรคดีขึ้นกว่าเดิม

แล้วสุดท้ายเป็นไง ถูกหลอกทั้งแผ่นดิน!!

---------------------

ทีนี้เรามาดู นายกยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์แก่สื่อว่า คนไทยรู้สึกไปเองว่าของแพง

ตามเนื้อหาข่าวตามนี้

"เรื่องน้ำมันที่อาจจะมีส่วนให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น แต่ในส่วนของผู้ประกอบการก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ทางรัฐบาลได้ตรึงราคาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของ LPG ที่ใช้ในครัวเรือนต่างๆ โดยในบางส่วนนี้ต้องไปดูต้นทุนจริงๆ ว่ามีค่าประกอบการทั้งหมด ส่วนต้นทุนที่เป็นตัวหลักน้ำมันก็อาจจะมีส่วนแต่ไม่ใช่เป็นตัวประกอบหลัก ส่วนปลายทางก็ยังไม่ได้ถูกปรับลงตามนั้น ดังนั้นจึงถือว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการปรับตัวค่อยๆ ลดลง แต่ก็ต้องเรียนว่าในความรู้สึกของผู้บริโภคก็อาจจะมีความรู้สึกว่าของแพง ซึ่งรัฐบาลเองก็ต้องมองทั้งสองส่วน ทั้งในส่วนความรู้สึกของประชาชน และที่สำคัญต้องดูตัวเลขที่เป็นตัวเลขที่จับต้องได้จริงๆ ซึ่งในเรื่องของเศรษฐกิจนั้นตัวเลขที่แท้จริงทั้งหมดหลังจากที่มีการแถลงไตรมาส 1 แล้วก็คงจะเห็นตัวเลขอย่างแท้จริง" นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าว


-----------------


แม้แต่ ฐานเศรษฐกิจ ในเครือมติชน ก็คิดไปเองว่าของแพง??

ใครๆ ก็รู้ว่า มติชน เป็นสื่อเชียร์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ยังรู้ว่าของแพง แต่ยิ่งลักษณ์ไม่รู้!!


ในยามนี้หากถามถึงความเครียดของคนไทย มี 2 เรื่องใหญ่จะมาเป็นอันดับต้น ๆ เรื่องแรกจากสภาพที่ร้อนและแล้งจัดที่แผ่รังสีไปทั่ว ทำให้คนเกิดความหงุดหงิดและใจร้อนขึ้นตามอุณหภูมิ อีกเรื่องหนีไม่พ้นภาวะเครียด จากราคาสินค้าและบริการที่มีผลต่อค่าครองชีพ จ่อปรับตัวสูงขึ้นอีกระลอกใหญ่ ซึ่งการปรับขึ้นของราคาสินค้าและบริการในรอบนี้ จะถือเป็นบททดสอบครั้งสำคัญ ว่า รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"จะเอาอยู่หรือไม่ เพราะเป็นรอบเผาจริง ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ผู้มีรายได้น้อยประเภทหาเช้ากินค่ำ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ รวมถึงมนุษย์เงินเดือน หากไม่ระมัดระวังหรือวางแผนในการใช้จ่ายให้ดี จะต้องใช้ชีวิตด้วยความลำบากขึ้นอย่างแน่นอน

-สินค้า-บริการดาหน้าปรับขึ้น

สำหรับบริการของรัฐที่จะปรับขึ้นในช่วงจากนี้ไป จากการวบรวมของ "ฐานเศรษฐกิจ"พบข้อมูลยาวเป็นหางว่าว ไล่ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าผันแปรงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ที่จะปรับขึ้นอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย ค่าก๊าซแอลพีจี หรือก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน จะทยอยปรับขึ้นในไตรมาสที่ 4

มาตรการค่าไฟฟ้าฟรี จาก 90 หน่วยจะลดลงเหลือ 50 หน่วย 
ค่าโดยสารรถร่วม ขสมก. มินิบัส ร้องขอปรับเพิ่มอีก 1-2 บาท บนเงื่อนไขราคาก๊าซเอ็นจีวีปรับขึ้นเหนือระดับ 9.50 บาท/ลิตร
รถสองแถว ร้องขอปรับค่าโดยสารเป็น 7 บาท
รถ บขส.และรถร่วมขอปรับอีก 4 สตางค์ต่อกิโลเมตร
แท็กซี่ขอปรับราคาอีก 50 สตางค์ต่อกิโลเมตร
ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสขอเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายช่วงอ่อนนุช-แบริ่งอีก 15 บาท (จากเดิมฟรี) ดีเดย์รับวันแรงงาน 1 พฤษภาคมนี้แล้ว

ครั้นหันมาดูสินค้าอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันพ่อบ้านแม่บ้านต้องเป่าปาก เพราะสินค้าหลายรายการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้าหลัก อาทิ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ผลจากอากาศที่ร้อนทำให้หมู ไก่ เป็ด เกิดความเครียด กินอาหารลดลง และเติบโตช้าลง ส่งผลถึงผลผลิตที่ลดลง ดันราคาขยับสูงขึ้น ขณะที่ผักสดผลไม้ได้รับผลกระทบจากอากาศที่ร้อนและแล้ง ทำให้มีผลผลิตเสียหายออกสู่ตลาดลดลง ราคายังอยู่ในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นมะนาว ผักบุ้ง ผักคะน้า ผัดกาดขาวปลี กลุ่มเครื่องดื่มทั้งน้ำดื่ม น้ำหวาน กาแฟกระป๋อง แอบปรับราคาไปแล้ว ตามต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน

ส่วนข้าวแกงตามตรอกซอกซอยย่านชุมชนต่าง ๆ ยังขายระดับสูงมากกว่าจานละ 30 บาทขึ้นไป โดยราคาแนะนำของกระทรวงพาณิชย์ก่อนหน้านี้แทบไม่มีความหมาย

ขณะราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 40% ในการใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อ ของกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุดสินค้าหมวดนี้ในเดือนเมษายน ดัชนีราคาขยับสูงขึ้น 4.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยยังสูงอยู่ที่ระดับ 3.16% ยิ่งใกล้เปิดเทอมกลางเดือนพฤษภาคมนี้ ผู้ปกครองต้องวิ่งหาเงินกันขาขวิด เพราะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายค่าชุดนักเรียนใหม่ของบุตรหลาน รวมถึงอุปกรณ์การเรียนที่จะปรับตัวสูงขึ้น ไม่นับรวมถึงค่าแป๊ะเจี๊ยะ ที่ต้องจ่ายให้กับโรงเรียนอีกก้อนใหญ่

-รัฐงัดมาตรการสู้
ตัวอย่างสินค้าและบริการจำเป็นที่เตรียมปรับขึ้นพร้อม ๆ กันเหล่านี้ แน่นอนว่านับจากนี้ไป คนไทยจะมีภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในเรื่องนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทราบดี และอยู่ในอาการนั่งไม่ติด เพราะหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แน่นอนว่าต้องเสียรังวัด และเสียคะแนนนิยมเป็นแน่แท้

ล่าสุดได้สั่งการให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เร่งหามาตรการบรรเทาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพของประชาชนอย่างเร่งด่วน สรุปมาตรการสำคัญไล่ตั้งแต่การอนุมัติงบโครงการโชวห่วยช่วยชาติ ตั้ง "ร้านถูกใจ" จำนวน 10,000 ร้านทั่วประเทศ ขายสินค้าบริโภคจำเป็น 20 รายการ ในราคาต่อกว่าท้องตลาด 10-20 % ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ การจัดคาราวานสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่ปฏิบัติมาทุกปี (ล่าสุดโครงการร้านถูกใจทำท่าจะไปไม่รอดแล้ว คลิกอ่านข่าว)

การตรึงราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนขนาดถัง 4 กก.ไว้เท่าเดิม จากที่ครัวเรือนส่วนใหญ่สัดส่วนกว่า 50% ใช้ขนาดถัง 15 กก. การต่ออายุรถเมล์ และรถไฟชั้น 3 ฟรีอีก 3 เดือน การต่ออายุการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเหลือ 0.005 บาท/ลิตรไปถึงเดือนกันยายน 2555

นอกจากนี้สั่งให้ชะลอการปรับภาษีสรรพสามิตสินค้าบาป เหล้า ไวน์ บุหรี่ออกไป การชะลอปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) และล่าสุดนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศเตรียมงัดมาตรการอุดหนุนและชดเชยราคาสินค้าจำเป็นออกมาใช้ เช่น กรณีก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือน หากมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมในปลายปีนี้ รัฐจะชดเชยส่วนต่างราคาให้กับ 20 ล้านครัวเรือน เป็นต้น

-เลิกอุดหนุนหวั่นเอาไม่อยู่
จากค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นระลอกใหญ่ข้างต้น เปรียบเทียบกับมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาลแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเป็นเพียงมาตรการเพื่อบรรเทาไม่ใช่แก้ปัญหาถาวร เมื่อมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้สิ้นสุดลง ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ จะดีดขึ้นอีกเป็นระลอก ส่วนสินค้าและบริการที่ปรับขึ้นไปแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อขึ้นแล้วยากที่จะลง ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ รัฐคงต้องหามาตรการประชานิยมมาอุดหนุนอีกไม่รู้จบ ต่อเมื่อรัฐไม่สามารถแบกรับภาระการอุดหนุน ซึ่งถือเป็นมาตรการประชานิยมได้เมื่อใด และปล่อยให้ราคาสินค้าและบริการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงตามกลไกตลาดเมื่อใด แรงกระแทกจะแรงมาก
คำถามคือประชาชนคนรายได้น้อยจะอยู่ในสภาพใด หากรายได้ไม่พอรายจ่าย และไม่มีทางออก ปัญหาสังคมที่จะตามมาหนีไม่พ้นการฉกชิงวิ่งราว ปล้นจี้ ค้ายาเสพติด โสเภณี ฆ่าตัวตาย ที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น

-ปัจจัยดันต้นทุนสูง
อย่างไรก็ดีจากสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น หากวิเคราะห์ย้อนกลับไป ปัจจัยที่มีผลกระทบ มีทั้งจากปัจจัยภายนอก และภายในประเทศ โดยปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ การปรับขึ้นของราคาน้ำมันและก๊าซในตลาดโลก ส่งผลถึงราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังอยู่ในระดับสูง กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการขนส่งต่าง ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลจากอากาศที่ร้อนผิดปกติและภัยแล้ง ทำให้สินค้าพืช ผัก ผลไม้ และสินค้าปศุสัตว์ ได้รับความเสียหาย มีผลผลิตลดลง ราคาปรับตัวสูงขึ้น

ประการสำคัญเป็นผลจากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ใน 7 จังหวัดนำร่อง (กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี) และปรับเพิ่ม 40% ใน 70 จังหวัดที่เหลือ เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ที่แม้จะส่งผลดีต่อลูกจ้างมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น แต่ก็จะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งได้เริ่มส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สายป่านไม่ยาว และไม่มีความพร้อมรับมือ ซึ่งผลสำรวจของมหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์ระบุผลกระทบจากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน มีแนวโน้มที่เอสเอ็มอีจะปิดกิจการ 8 หมื่น-1 แสนรายในอีก 18 เดือนข้างหน้า ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถอยู่รอดได้คงต้องขอปรับราคาสินค้าเป็นระลอก

-จี้ลดต้นทุนระยะยาว
สอดคล้องกับความเห็นของ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ระบุว่า จากราคาน้ำมัน ราคาก๊าซแอลพีจี ก๊าซเอ็นจีวี ค่าไฟฟ้า ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบกับหลายสินค้าในช่วงที่ผ่านมา ได้อั้นการปรับราคามานาน ช่วงนี้ไปจะได้เห็นสินค้าและบริการในประเทศปรับตัวอีกระลอกใหญ่ ในเรื่องนี้รัฐบาลทราบดี และได้ทยอยปล่อยราคาสินค้าและบริการปรับขึ้นตามกลไกตลาด ควบคู่ไปกับมาตรการบรรเทาผลกระทบ ซึ่งในระยะสั้นในเชิงนโยบายถือว่าใช้ได้ แต่ในระยะยาวรัฐบาลควรเร่งนโยบายลดต้นทุนให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ เช่น การลงทุนระบบชลประทาน การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การลงทุนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมทั้งถนน ไฟฟ้า และอื่นๆ

เช่นเดียวกับนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ที่กล่าวว่าราคาสินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น นอกจากปัจจัยค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด และค่าพลังงานแล้ว ยังเป็นผลจากนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการรับจำนำข้าวเปลือกราคาสูงของรัฐบาล ส่งผลให้ราคาข้าวสาร เมล็ดพันธุ์สูงขึ้นตาม ส่วนการนำงบประมาณมาชดเชยส่วนต่างราคาสินค้าและบริการที่จะปรับตัวสูงขึ้น ที่ต้องใช้งบอีกจำนวนมากและเป็นภาระของรัฐบาล

ประเด็นหนึ่งอยากแนะนำให้รัฐบาล ทบทวนการจัดเก็บค่าสัมปทานปิโตรเลียม ที่ปัจจุบันรัฐบาลจัดเก็บจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานเพียง 12.5% ของยอดขายผลิตภัณฑ์ ควรมีการจัดเก็บในอัตรา 30% เช่นเดียวกับประเทศอื่น ทั้งนี้เพื่อรัฐบาลจะได้มีงบประมาณมาอุดหนุนช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนได้มากขึ้น

ราคาสินค้าและบริการที่อยู่ในช่วงขาขึ้นระลอกใหญ่นับจากนี้ไป ไม่ว่ารัฐบาลจะเข็นมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ปัญหาเฉพาะ เพื่อลดผลกระทบความเดือดร้อน แต่สรุปก็คือจากนี้ไปค่าครองชีพของคนไทยจะปรับตัวสูงขึ้น และจะอยู่ด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น

และมีแนวโน้มรัฐบาลจะ "เอาไม่อยู่" ดังนั้น สิ่งที่จะสามารถบรรเทาผลกระทบได้ คงถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ให้อยู่รอด เช่น การใช้จ่ายให้พอดีกับเงินในกระเป๋า ลดบริโภคสิ่งฟุ่มเฟือย มีการเก็บออมหากมีเงินเหลือ เลิกพฤติกรรมรสนิยมสูงรายได้ต่ำ ใช้ชีวิตบนความพอเพียง ฯลฯ ซึ่งไม่ว่ารัฐจะเอาอยู่ หรือไม่อยู่จะได้ไม่เดือดร้อนมาก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,736 3-5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


คลิกอ่าน แม้แต่ข่าวสดยังสงสัย ทำไมขึ้นค่าไฟฟ้าFT

2 ความคิดเห็น:

  1. 5000 แจกง่ายๆผมก็ยังไม่ได้เลยทั้งที่เขตที่ผมอยู่ทั้งอำเภอเป็นคนพรรคนี้หมด เฮ้อ....ควายแท้เหลา

    ตอบลบ
  2. กำลังนึกอยู่ว่าระหว่าง ตอบแบบนี้กับไม่พูดอะไรเลย
    แบบไหนจะเลวร้ายกว่ากัน
    ทีราคาข้าวของไม่เห็นต้องรอตกเบิกเหมือนเงินเดือนเลย
    ^^

    ตอบลบ

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก