วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รัฐธรรมนูญปี50 ให้สิทธิและอำนาจประชาชนมากขึ้นกว่าปี40





ในบรรดาฟายแดงส่วนใหญ่ ต่างหลงเชื่อคำพูดหลอกลวงของแกนนำฟายแดง ที่ตราหน้ารัฐธรรมนูญ50 ให้เป็นผู้ร้าย บรรดาพรรคเพื่อควาย ใช้สำนวนว่า ต้นไม้พิษย่อมได้ผลไม้พิษ

แต่ความจริงกลับไม่ใช่ตามที่พวกเพื่อควายพยายามหลอกลวง เพราะ

แม้รัฐธรรมนูญ50 จะมีกำเนิดร้ายจากผลพวงคมช. แต่กลับมีปลายดีกว่ารธน.40 ดั่งคำที่ว่า ต้นร้ายปลายดี เพราะประชาชนได้ลงประชามติเป็นครั้งแรกเพื่อรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้

หากใครได้เคยดูรายการต่างๆ ทางทีวีไทย ที่เขานำชาวบ้าน ผู้นำชุมชนต่างๆ มาเสวนาปัญหาในท้องที่ เราจะทราบได้เลยว่า รัฐธรรมนูญปี50 ให้อำนาจประชาชนมากขึ้นเพื่อตรวจสอบนักการเมืองทุกระดับ ซึ่งผมได้ฟังคำพูดจากผู้นำชุมชนในหลายแห่งพูดเองว่า รธน.50 ให้อำนาจประชาชนมากขึ้น

หรือในหลายๆ มาตรา ที่ปี40 ให้สิทธิแก่ประชาชนอยู่แล้ว รธน.50 ก็เพิ่มให้มีมากขึ้น

ถามว่า ทำไมนักการเมืองพรรคเพื่อไทย ถึงได้เกลียดรธน.50 นัก ?

คำตอบคือ เพราะรัฐธรรมนูญ50 ให้อำนาจประชาชนในการตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น ให้ประชาชนสามารถเสนอกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนได้ง่ายขึ้น  ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้พวกนักการเมืองชั่วๆ ผูกขาดอำนาจได้ยากขึ้น ทำชั่วได้ยากขึ้น โกงได้ยากขึ้น แถมเพิ่มโทษนักการเมืองชั่วมากขึ้น เพราะมีประชาชนและองค์กรอิสระสามารถตรวจสอบนักการเมืองได้ง่ายขึ้นนั่นเอง อีกทั้งป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองกับธุรกิจให้ทำได้ยากขึ้นด้วย

แบบนี้แหละ ที่ทำให้นายทุนการเมืองอย่างทักษิณ เครือญาติและพวกพ้อง คิดจ้องหาผลประโยชน์จากชาติไม่ชอบ จึงพยายามล่อลวงว่า รธน.50 ไม่ดี กลั่นแกล้งทักษิณ ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ที่เอาผิดทักษิณล้วนอ้างอิงกฎหมายมาจากรธน.40ทั้งนั้น

ทีนี้ หากละอคติในใจลง แล้วมาดูกันชัดๆ ว่า เนื้อหาของรัฐธรรมนูญปี50 กับรัฐธรรมนูญปี40 อย่างไหนดีกว่ากัน อย่าทำตัวเหมือนพวกฟายแดงที่ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญ แต่เจือกเชื่อว่า รัฐธรรมนูญ50 ไม่ดีตามที่แกนนำชั่วๆ สนตะพายให้ 

ผมเองตอนลอกบทความนี้มาลง ขณะผมเน้นข้อความ ก็ได้อ่านไปทีละมาตรา ซึ่งได้ความรู้มากขึ้น แม้จะยาวสักหน่อย แนะนำให้ลองอ่านดูครับ

------------------

จากกรุงเทพธุรกิจ

วิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ 2550 กับ 2540

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลซึ่งแถลงไว้ต่อรัฐสภา "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" เปรียบเทียบให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยรัฐธรรมนูญ 2550-2540


หมวดที่ 3 เสรีภาพของชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญ 2550
บุคคลสามารถใช้สิทธิ์ทางศาลบังคับให้รัฐปฏิบัติตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิ์นั้น (ม. 28)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัติลักษณะนี้ โดยบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพบุคคล จะมีคำว่า “ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎมายบัญญัติ” กำกับไว้ ทำให้สิทธิหลายประการไม่ถูกปฏิบัติเนื่องจากรัฐบาลล่าช้า หรือไม่ออกกฎหมายรับรองสิทธิ์ดังกล่าว

รัฐธรรมนูญ 2550
ตัดคำวา “โทษประหาร” ออกจากการบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ผลคือแม้โทษประหารยังอาจมีได้ตามดุลยพินิจของศาล แต่เปิดทางให้ยกเลิกโทษประหารในอนาคต (ม. 32)
รัฐธรรมนูญ 2540
โทษประหารตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษที่ไร้มนุษยธรรม

รัฐธรรมนูญ 2550
บุคคลจะได้รับการคุ้มครองจากการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปหาประโยชน์โดยมิชอบ (ม.35)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองในกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ (ม.40)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
บุคคลมีสิทธิ์ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพเมื่อพ้นภาวะการทำงาน (ม.44)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพจะกระทำไม่ได้ (ม.45)
รัฐธรรมนูญ 2540
การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพจะกระทำไม่ได้

รัฐธรรมนูญ 2550
ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าของกิจการขัดขวางแทรกแซงการเสนอข่าวหรือความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ หากกระทำให้ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบ และไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่กระทำตามกฎหมายหรือเพื่อจริยธรรมแห่งการประกบอวิชาชีพ (ม.46)
รัฐธรรมนูญ 2540
ข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ มีเสรีภาพในการเสนอข่าวสรและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานรัฐ หรือเจ้าของกิจการ

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้องค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่กำกับการประกอบกิจการสื่อสารมวลชนกำหนดมาตรการป้องกันการควบรวมสื่อ ครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำสื่อ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกัน หรือบุคคลอื่น ซึ่งจะเป็นการขัดขวางหรือปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย (ม.47)
รัฐธรรมนูญ 2540
บัญญัติให้มีองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการสื่อสารมวลชน แต่ไม่ได้ระบุเรื่องอำนาจหน้าที่ในการปกป้องเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

รัฐธรรมนูญ 2550
ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้ถือหุ้นแทนเข้าเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม (ม.48)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มให้รัฐต้องจัดให้มีการศึกษาให้กับผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ เสมอภาคกับบุคคลอื่นที่ต้องได้รับการศึกษาฟรีไม่น้อยกว่า 12 ปี (ม.49)
รัฐธรรมนูญ 2540
รัฐต้องจัดให้มีการศึกษาฟรีไม่น้อยกว่า 12 ปี

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มการคุ้มครองแก่เด็กเยาวชน และบุคคลในครอบครัวให้ได้รับหลักประกันในการอยู่รอด และห้ามแทรกแซงหรือจำกัดสิทธิเพื่อให้สถาบันครอบครัวได้รับการดูแลอย่างอบอุ่น (ม.52)
รัฐธรรมนูญ 2540
เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มสิทธิของบุคคลในการได้รับความคุ้มครองการไม่มีที่อยู่อาศัย โดยรัฐจะต้องช่วยเหลือดูแล (ม.55)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นก่อนการวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองแบะวัฒนธรรม การเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน รวมทั้งการออกกฎที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน (ม.57)
รัฐธรรมนูญ 2540
บุคคลมีสิทธิ์ได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากรัฐ ก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชน และมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็น

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองบริโภค โดยมีตัวแทนผู้บริโภคให้ความเห็นประกอบในการออกกฎหมายและมาตราการในการคุ้มครองผู้ลริโภคโดนรัฐ (ม.60)
รัฐธรรมนูญ 2540
ให้มีกฎหมายตั้งองค์กรเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในช่วง 10 ปี ที่บังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เนื่องจากรัฐไม่ออกกฎหมายดังกล่าว)

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มเติมให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รัฐ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อใช้เป็นวิถีทางในการเจรจากับรัฐ แต่ต้องไม่เกิดผลกระทบกับงานของรัฐและการบริการสาธารณะ (ม.64)
รัฐธรรมนูญ 2540
มีบทบัญญัติคุ้มครองการชุมนุมของประชาชน แต่ไม่มีส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ

รัฐธรรมนูญ 2550
พรรคการเมืองใดล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษกัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้อำนาจมาโดยไม่ถูกวิถีทางของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญอาจมีคำสั่งยุบพรรค ต้องถูกยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบเป็นเวลา 5 ปี (ม.68)
รัฐธรรมนูญ 2540
พรรคการเมืองใดล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษกัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้อำนาจมาโดยไม่ถูกวิถีทางของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญอาจมีคำสั่งยุบพรรค ต้องถูกยุบพรรค


หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญ 2550
การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ผู้ไปใช้สิทธิ์อาจได้รับสิทธิ์ ผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์อาจเสียสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติ (ม.72)
รัฐธรรมนูญ 2540
การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์อาจเสียสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติ

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้บทบัญญัติในหมวดนโยบายแห่งรัฐ (ม.76 - 86) เป็นเจตจำนงเพื่อมีสภาพบังคับให้รัฐบาลต้องดำเนินการตรากฎหมาย หรือ กำหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ (ม.75)
รัฐธรรมนูญ 2540
กำหนดหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐเป็นเพียงแนวทางในการดำเนินการของรัฐบาล



สาระสำคัญแห่งหมวดที่ 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ 2550
(หมวดนี้ในรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติด้านต่าง ๆ ให้รัฐ)

แนวนโยบายด้านความมั่นคง (ม.76)
- รัฐต้องพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุทธนุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ

แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ม.78)
- รัฐต้องส่งเสริมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระ
- ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม (ม.79 - 80)
- เพิ่มหลักประกันให้รัฐคุ้มครองพระพุทธศาสนามากขึ้น โดยระบุข้อความเพิ่มว่า "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือมาช้านาน”
- ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรทางศานา และเอกชนมีส่วนร่วมจัด และพัฒนามาตรฐานคุณภาพศึกษา
- สนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ

นโยบายด้านกฎหมายการยุติธรรม (ม.80)
- ให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอิสระเพื่อพัฒนากฎหมายของประเทศ และปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
- ให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระเพื่อปรับปรุงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด

นโยบายด้านการต่างประเทศ (ม.82)
- รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ทำไว้กับนานาประเทศ

นโยบายด้านเศรษฐกิจ (ม.83 - 84)
- รัฐต้องสนับสนุนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาด
- สนับสนุนให้ใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาลควบคู่การประกอบกิจการ
- ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นธรรม
- คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร
- คุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เป็นอิสระ และการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ
- จัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และต้องไม่อยู่ในความผูกขาดของเอกชนอันอาจก่ออความเสียหายแก่รัฐ
- การดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ จะตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่า 51% จะกระทำมิได้
- สนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี การขนส่งทางราง และการจัดการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ
นโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ม.85)
- กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และให้คำนึงถึงความสอดคล้องด้านต่าง ๆ โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมตัดสินใจด้วย
- กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
- จัดให้มีการวางผังเมืองเพื่อประโยชน์ในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
- จัดให้มีแผนการจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ
- ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางป้องกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน (ม.86)
- รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายเพื่อสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านต่างๆ ตลอดจนต้องสนับสนุนงานวิจัย และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (ม.87)
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะ
- สนับสนุนให้ประชาชนรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
- การมีส่วนร่วมของประชาชนต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน


หมวดที่ 6 รัฐสภา

รัฐธรรมนูญ 2550
กกต. มีอำนาจส่งเรื่องการขาดสมาชิกภาพของ ส.ส. หรือ สว. ผ่านประธานแต่ละสภาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ม.91)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ส.ส. มีวาระ 4 ปี มีจำนวน 480 คน มาจากแบบเลือกตั้งแบ่งเขตเรียงเบอร์ 400 คน และมาจากแบบบัญชีรายชื่อกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่ม ๆ ละ 10 คนรวม 80 คน (ม.93)
รัฐธรรมนูญ 2540
ส.ส. มีวาระ 4 ปี มีจำนวน 500 คน มาจากมาจากแบบเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว 400 คน และมาจากแบบบัญชีรายชื่อระดับประเทศ 100 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
หลังการเลือกตั้งแล้วหากได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 95 % ให้ถือว่าเป็นสภาผู้แทน ฯ ได้ จากนั้นดำเนินการต่อให้ครบจำนวนใน 180 วัน (ม.93)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัติลักษณะนี้ แต่โดยผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทำให้หลังการเลือกตั้งต้องมี ส.ส. ครบ 100 % จึงจะถือเป็นองค์ประกอบของสภา

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคเดียวไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่กรณียุบสภาต้องเป็นไม่น้อยกว่า 30 วัน (ม.101)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคเดียวไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันลงสมัคร

รัฐธรรมนูญ 2550
บุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตห้ามสมัคร ส.ส. (ม.102)
รัฐธรรมนูญ 2540
บุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดีห้ามสมัคร ส.ส.

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งห้ามลงสมัคร ส.ส. ตลอดไป (ม.102)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งห้ามลงสมัคร ส.ส. จนกว่าจะพ้นกำหนด 5 ปี

รัฐธรรมนูญ 2550
ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ระหว่างอายุของสภา (ม.104)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ส.ส. ไปเป็นรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีไม่ต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. (ม.106)
รัฐธรรมนูญ 2540
ส.ส. ไปเป็นรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากการเป็น ส.ส.

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ส. ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา ผู้สมัคร สว. ต้องมีวุฒิมากกว่าหรือเทียบเท่าปริญญาตรี (ม.101 ,115)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้สมัคร ส.ส. และ สว. ต้องมีวุฒิมากกว่าหรือเทียบเท่าปริญญาตรี เว้นแต่เคยเป็น ส.ส. หรือ สว.

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ส. และ สว. ต้องเกิดในจังหวัดนั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัคร หรือเคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่ลงสมัครติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเคยศึกษาในจังหวัดนั้นไม่ต่ำกว่า 5 ปีการศึกษา อย่างใดอย่างหนึ่ง (ม.101 ,115)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้สมัคร ส.ส. และ สว. ต้องเกิดในจังหวัดนั้น หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตที่ลงสมัครติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 1 ปีนับถึงวันสมัคร เคยเป็น ส.ส. หรือสมาชิกหรือผู้บริหารท้องถิ่นในเขตนั้น หรือเคยศึกษาในจังหวัดนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา หรือเคยรับราชการหรือเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดในจังหวัดนั้นติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่ง

รัฐธรรมนูญ 2550
ส.ว. มีวาระ 6 ปี มีจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาจากกลุ่มสาขาอาชีพ 74 คน (ม.111)
รัฐธรรมนูญ 2540
ส.ว. มีวาระ 6 ปี มีจำนวน 200 คน มาจาการเลือกตั้งตามสัดส่วนประชากร โดยมีจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ว. หาเสียงได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ สว. (ม.112)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้สมัคร ส.ว. ห้ามหาเสียง

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเลือก ส.ว. ได้ 1 เสียงเลือกได้ 1 คน (ม.112)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเลือก ส.ว. ได้ 1 เสียงเลือกได้ 1 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
คณะกรรมการสรรหา ส.ว. จำนวน 7 คน ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธาน กกต. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธาน ป.ป.ช. ประธาน คตง. ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกมา 1 คน ผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกมา 1 คน (ม.113)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีระบบสรรหา ส.ว.

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ว. ที่จะได้รับการสรรหามี 5 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มภาควิชาการ ภาคองค์กรเอกชน ภาครัฐ และภาคอื่น ๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (ม.114)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีระบบสรรหา ส.ว.

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ว. ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ม.115)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้สมัคร ส.ว. ต้องไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือ ส.ส. หรือรัฐมนตรี หรือพ้นมาแล้วไม่ถึง 5 ปี (ม.115)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
พ้นจาก ส.ว. แล้วยังไม่เกิน 2 ปีห้ามเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมือง (ม.116)
รัฐธรรมนูญ 2540
พ้นจาก ส.ว. แล้วไม่เกิน 1 ปีห้ามเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมือง เว้นแต่จะเป็นการพ้นเพราะหมดวาระ

รัฐธรรมนูญ 2550
ส.ว.พ้นสภาพเมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้จะรอลงอาญา (ม.119)
รัฐธรรมนูญ 2540
ส.ว. พ้นสภาพเมื่อถูกคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

รัฐธรรมนูญ 2550
ประธานและรองประธานสภาผู้แทน ฯ เป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองไม่ได้ (ม.124)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัติห้าม

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์เหนือกฎหมายทั่วไป เสนอได้โดยคณะรัฐมนตรี ส.ส. หรือ ส.ว. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 10 หรือศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่รักษาการตาม พ.ร.บ. นั้น และกรรมวิธีการพิจารณา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญแตกต่างจาก พ.ร.บ.ทั่วไป (ม.139 ,140)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ก่อนนำทูลเกล้า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกครั้ง โดยให้แล้วเสร็จใน 30 วัน (ม.141)
รัฐธรรมนูญ 2540
ส่งร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต่อเมื่อ ส.ส. หรือ ส.ว. หรือนายก ฯ เห็นว่ามีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ 2550
การเข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ต้องใช้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ (ม.158)
รัฐธรรมนูญ 2540
การเข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ต้องใช้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่

รัฐธรรมนูญ 2550
เมื่อญัตติอภิปรายรัฐมนตรีถูกเสนอแล้ว แม้ว่ารัฐมนตรีดังกล่าวจะเปลี่ยนไปเป็นรัฐมนตรีอื่น ก็ยังคงต้องถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ม.159)
รัฐธรรมนูญ 2540
เมื่อญัตติอภิปรายรัฐมนตรีถูกเสนอแล้ว แต่รัฐมนตรีดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นรัฐมนตรีอื่น ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นอันตกไป

รัฐธรรมนูญ 2550
หากฝ่ายค้านมี ส.ส. ไม่ถึง 1 ใน 5 กรณีญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายก ฯ หรือ 1 ใน 6 กรณีญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี อาจเข้าชื่อด้วยจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้เมื่อรัฐบาลบริหารเกินกว่า 2 ปีแล้ว (ม.160)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้


หมวดที่ 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายในหมวดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ (ม.163)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายในหมวดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้

รัฐธรรมนูญ 2550
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเข้าชื่อยื่นเสนอ จะต้องมีผู้แทนของประชาชนผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 (ม.163)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่กระทำผิด ทุจริตได้ (ม.164)
รัฐธรรมนูญ 2540
ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน เข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่กระทำผิด ทุจริตได้

รัฐธรรมนูญ 2550
การออกเสียงประชามติ ดำเนินการได้ 2 ทางคือคณะรัฐมนตรีเสนอให้มีการออกเสียงประชามติ หรือมีกฎหมายบัญญัติเรื่องการออกเสียงประชามติ ทั้งนี้ผลประชามติให้มีผลเป็นข้อยุติ หรือแค่การให้การปรึกษาก็ได้ (ม.165)
รัฐธรรมนูญ 2540
หากคณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการใดกระทบประชาชนหรือประเทศ อาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือ ประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ ทั้งนี้ผลประชามติให้มีผลแค่การปรึกษาเท่านั้น ไม่ได้บังคับรัฐบาลให้ต้องปฏิบัติ


หมวดที่ 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (ม.166 - 170)

สาระสำคัญแห่งหมวด การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มีเฉพาะรัฐธรรมนูญ 2550)
- กำหนดให้การเสนอร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องแสดงข้อมูลรายรับและสถานะทางการเงิน การคลังที่ผ่านมา อันกระทบถึงการจ่ายเงินและภาระผูกพันทางทรัพย์สิน
- ให้มีการตรากฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อเป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรอบการใช้จ่าย การวางแผนการเงิน การจัดหารายได้ การก่อหนี้ ฯลฯ เพื่อกำกับการใช้จ่ายเงินให้มีเสถียรภาพ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม
- ให้มีการชี้แจงเงินรายได้ ที่ไม่ต้องนำส่งคลังต่อรัฐสภาเพื่อให้ตรวจสอบได้
- ให้ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญสามารถแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการหากเห็นว่า งบประมาณที่ได้รับจัดสรรนั้นไม่เพียงพอ


หมวดที่ 9 คณะรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ 2550
นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. จะต้องดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีไม่ได้ (ม.171)
รัฐธรรมนูญ 2540
นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. แต่ไม่มีข้อจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง

รัฐธรรมนูญ 2550
รัฐมนตรีต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (ม.174)
รัฐธรรมนูญ 2540
รัฐมนตรีต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

รัฐธรรมนูญ 2550
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถ้ารัฐมนตรีผู้ใดเป็น ส.ส. ในขณะเดียวกัน ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นออกเสียงลงคะแนนให้เรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น (ม.177)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่คณะรัฐมนตรีรักษาการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือใช้อำนาจจนเกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดิน งบประมาณ การบริหารบุคคลของภาครัฐ การอนุมัติโครงการใหม่ที่สร้างผลผูกพันต่อรัฐบาลใหม่ (ม.181)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะรัฐมนตรีรักษาการณ์จะใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้าย หรือปลดข้าราชการ พนักงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจได้ต่อเมื่อ กกต.เห็นชอบ

รัฐธรรมนูญ 2550
ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดเมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอลงโทษเว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุด หรือรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือ ความผิดฐานหมิ่นประมาท (ม.182)
รัฐธรรมนูญ 2540
ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดเมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก (เคยมีคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญว่าหมายถึงคดีถึงที่สุดและมีการจำคุกจริงเท่านั้น)

รัฐธรรมนูญ 2550
รัฐต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชน และจัดรับฟังความคิดเห็นก่อนการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ หากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นมีผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว (ม.190)
รัฐธรรมนูญ 2540
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติเพื่อเป็นไปตามสัญญา และต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา


หมวดที่10 ศาล

รัฐธรรมนูญ 2550
ศาลรัฐธรรมนูญมีวาระ 9 ปี ประกอบด้วยตุลาการ 9 คน มาจาก
1. ผู้พิพากษาในศาลฏีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา จำนวน 3 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน
2. คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ จำนวน 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินจำนวน 2 คน (ม.204)
รัฐธรรมนูญ 2540
ศาลรัฐธรรมนูญมีวาระ 9 ปี ประกอบด้วยตุลาการ 15 คน มาจาก
1.ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 5 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน
2. คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 3 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
คณะกรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฏีกา ประธานศาลปกครองสูงสุดประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 1 คน (ม.206)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา คณะบดีคณะนิติศาสตร์ของรัฐเลือกกันเอง 4 คน คณะบดีรัฐศาสตร์ของรัฐเลือกกันเอง 4 คน ผู้แทนพรรคการเมืองในสภาพรรคละหนึ่งคนเลือกกันเองเหลือ 4 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง หากไม่อาจเรียกร้องตามวิธีอื่น (ม.212)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระดับชาติ และศาลอุทธรณ์เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่น (ม.219)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ และกรรมผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คนมาจากศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการแต่ละชั้นศาล และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 คน ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา (ม.221)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ และกรรมผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการชั้นศาลละ 4 คน ที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการในทุกชั้นศาล และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 คน ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มเติมองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้อยู่ใต้เขตอำนาจของศาลปกครองให้ชัดเจนขึ้น (ม.223)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้ เป็นเหตุให้ต้องมีการตีความเขตอำนาจของศาลปกครองกรณีที่เป็นคดีเกี่ยวกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ


หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ 2550
กกต. มีวาระ 7 ปี มีจำนวน 5 คน มาจากการสรรหาแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกให้คณะกรรมการสรรหาจำนวน 7 ทำหน้าที่สรรหา กกต. 3 คน แล้วเสนอต่อประธานวุฒิสภา ส่วนที่สองให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาสรรหา กกต. อีก 2 คน แล้วเสนอต่อประธานวุฒิสภา (ม.229 ,232)
รัฐธรรมนูญ 2540
กกต. มีวาระ 7 ปี มีจำนวน 5 คน มาจากการสรรหาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้คณะกรรมการสรรหาจำนวน 10 คนสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. 5 คน และส่วนที่สอง ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. จำนวน 5 คน เพื่อให้วุฒิสภาเลือกเหลือ 5 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้มีคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระชุด 7 คนประกอบด้วยประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา และที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกมาฝ่ายละหนึ่งคน โดยต้องไม่ใช่ผู้พิพากษา หรือกรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่น (ม.231)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการสรรหา กกต.ในส่วนแรก 10 คนประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.เลือกกันเองให้เหลือสี่คน

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มเติมให้ กกต. มีอำนาจวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง และข้อห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ขณะรักษาการณ์เพื่อป้องกันการใช้อำนาจที่ไม่ชอบ หรือ เอาเปรียบพรรคการเมืองคู่แข่ง (ม.236)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
หากมีหลักฐานพอเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลยไม่ยับยั้งการที่ผู้สมัครคนใดในพรรคทุจริตการเลือกตั้ง ส.ส. และ สว. ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นมีความผิดฐานการได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบตามมาตรา 68 อันมีผลให้ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และตัดสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี (ม.237)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้ และพรรคการเมือง หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับผิดเนื่องจากการทุจริตการเลือกตั้งของผู้สมัครของพรรค

รัฐธรรมนูญ 2550
ในกรณีประกาศผลเลือกตั้งแล้ว ถ้า กกต. เห็นควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งผู้เป็น ส.ส. หรือ สว. ให้เสนอความเห็นต่อศาลฎีกา หรือกรณีการเลือกตั้งท้องถิ่น ให้เสนอความเห็นต่อศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัย (ม.239)
รัฐธรรมนูญ 2540
กกต. เป็นผู้วินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งผู้เป็น ส.ส. หรือ สว. หรือสมาชิกสภาท้อนถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นตลอดขบวนการ จนหลังจากประกาศผลไปแล้ว 1 ปี

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวน 3 คน เลือกกันเองเป็นประธาน 1 คน มีวาระ 6 ปี มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระชุด 7 คนตามมาตรา 231 (ม.242 ,243)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกิน 3 คน ไม่มีประธาน มีวาระ 6 ปี ให้วุฒิสภาเป็นผู้ลงมติคัดเลือกแล้วเสนอแต่งตั้ง

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มอำนาจหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการในกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเอาผิดวินัยข้าราชการที่ฝ่าฝืนมาตรฐานในประมวลจริยธรรม และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรในกระบวนการยุติธรรม (ม.244)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและสอบสวนหาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา

รัฐธรรมนูญ 2550
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระ 9 ปี มีจำนวน 9 คน สรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา 5 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน ฯ (ม.246)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระ 9 ปี มีจำนวน 9 คน สรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธาน กกต. ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 1 คน ส.ส.ฝ่ายค้าน 1 คน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเลือกกันเองให้เหลือ 6 คน คณะกรรมการสรรหาจะสรรหารายชื่อ 2 เท่าเพื่อให้วุฒิสภาเลือกเหลือ 9 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มสิทธิ์ให้ประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอน ป.ป.ช. (ม.241)
รัฐธรรมนูญ 2540
กระบวนการถอดถอน ป.ป.ช. เริ่มโดย ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของที่มีอยู่เท่านั้น

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. โดยดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป รวมทั้งกำกับดูแลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ม.250)
รัฐธรรมนูญ 2540
ดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดทุกระดับ

รัฐธรรมนูญ 2550
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มี 7 คน มีวาระ6ปี สรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระชุด 7 คนตามมาตรา 231 (ม.252)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มี 10 คน มีวาระ6ปี สรรหาตามที่ พรบ.ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาบัญญัติ


องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการเป็นอิสระและเป็นกลาง (ม.255)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้ โดยองค์กรอัยการขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ 2550
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมี 7 คน มีวาระ 6 ปี มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระชุด 7 คนตามมาตรา 231 (ม.256)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมี 11 คน มีวาระ 6 ปี มีที่มาตาม พรบ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีมีผู้ร้องว่ากฎหมายใดกระทบสิทธิมนุษยชนและขัดรัฐธรรมนูญ ยื่นเสนอเรื่องศาลปกครองกรณีมีผู้ร้องว่ากฎ คำสั่งหรือการกระทำทางปกครองใดกระทบสิทธิมนุษยชนและขัดรัฐธรรมนูญ รวมทั้งให้ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ม.257)
รัฐธรรมนูญ 2540
อำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเดิมมีเพียงการเสนอแนะ ทำรายงานต่อรัฐสภา ประสานรหว่างองค์กร และส่งเสริมการศึกษาวิจัยในด้านสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มอำนาจสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นเกี่ยวกับการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจและสังคม (ม.258)
รัฐธรรมนูญ 2540
อำนาจเดิมของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือให้คำปรึกษารัฐบาลในปัญหาที่เกี่ยวเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเห็นชอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก่อนประกาศใช้


หมวดที่ 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

การตรวจสอบทรัพย์สิน

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้ได้รับมอบอำนาจไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง (ม.259)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

รัฐธรรมนูญ 2550
บัญชีทรัพยสินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี ส.ส. และ สว. ต้องถูกนำออกเปิดเผยต่อสาธารณะภายใน 30 วัน (ม.261)
รัฐธรรมนูญ 2540
บัญชีทรัพยสินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ต้องถูกนำออกเปิดเผยต่อสาธารณะภายใน 30 วัน

รัฐธรรมนูญ 2550
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยกรณียื่นบัญชีเท็จ ทั้งนี้ผู้กระทำผิดต้องออกจากตำแหน่งทางการเมืองและห้ามดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาวินิจฉัย (ม.263)
รัฐธรรมนูญ 2540
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยกรณียื่นบัญชีเท็จ ทั้งนี้ผู้กระทำผิดต้องออกจากตำแหน่งทางการเมืองและห้ามดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์

รัฐธรรมนูญ 2550
ห้าม ส.ส. และ สว. เป็นหุ้นส่วนกิจการผูกขาด การแทรกแซง การเป็นคู่สัญญา รับสัมปทาน หรือการถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งการรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ โดยรวมไปถึงคู่สมรสและบุตร หรือผู้ได้รับมอบหมายกระทำการแทน (ม.265)
รัฐธรรมนูญ 2540
ห้าม ส.ส. และ สว. เป็นหุ้นส่วนกิจการผูกขาด การเป็นคู่สัญญา รับสัมปทาน หรือการถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งการรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ

รัฐธรรมนูญ 2550
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิตภาวะ รวมทั้งผู้กระทำการแทน ห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นหุ้นส่วน หรือถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ หรือมีส่วนในการบริหารใน ห้างหุ้นส่วนบริษัท เว้นแต่แจ้งต่อ ปปช. เพื่อโอนให้บริษัทนิติบุคคลจัดการทรัพย์สินดำเนินการแทน (ม.269)
รัฐธรรมนูญ 2540
รัฐมนตรีห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นหุ้นส่วน หรือถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ หรือมีส่วนในการบริหารใน ห้างหุ้นส่วนบริษัท เว้นแต่แจ้งต่อ ปปช. เพื่อโอนให้บริษัทนิติบุคคลจัดการทรัพย์สินดำเนินการแทน

การถอดถอนจากตำแหน่ง

รัฐธรรมนูญ 2550
วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ม.270)
รัฐธรรมนูญ 2540
วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

รัฐธรรมนูญ 2550
การยื่นคำร้องให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนมีสามทาง คือ ส.ส. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนที่มีอยู่ สว. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ต่ำกว่า 20,000 คน (ม.271)
รัฐธรรมนูญ 2540
การยื่นคำร้องให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนมีสามทาง คือ ส.ส. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนที่มีอยู่ สว. ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ต่ำกว่า 50,000 คน

รัฐธรรมนูญ 2550
หลังรับคำร้องให้วุฒิสภาส่งต่อให้ ปปช. ดำเนินการไต่สวนให้เสร็จโดยเร็ว แล้วรายงานต่อวุฒิสภาว่ามีมูลหรือไม่ (ม.272) หลังรับคำร้องให้วุฒิสภาส่งต่อให้ ปปช. ดำเนินการไต่สวนให้เสร็จโดยเร็ว แล้วรายงานต่อวุฒิสภาว่ามีมูลหรือไม่
รัฐธรรมนูญ 2540
กรณีที่ ปปช. มีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งว่าผู้ดำรงตำแหน่งรายใดมีมูลความผิด ผู้นั้นต้องหยุดการปฏิบัติงาน (ม.272) กรณีที่ ปปช. มีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งรายใดมีมูลความผิด ผู้นั้นต้องหยุดการปฏิบัติงาน

รัฐธรรมนูญ 2550
หากวุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและรับราชการเป็นเวลา 5 ปี (ม.274)
รัฐธรรมนูญ 2540
หากวุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและรับราชการเป็นเวลา 5 ปี

การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

รัฐธรรมนูญ 2550
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน หรือผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินผลประโยชน์แก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องถูกดำเนินคดีโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ม.275)
รัฐธรรมนูญ 2540
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ต้องถูกดำเนินคดีโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


หมวดที่ 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้มีประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ม.279)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐฝ่าฝืนมีความผิดทางวินัย (ม.279)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
หากผู้ดำรงตำแหน่งฝ่าฝืน และเป็นความผิดร้ายแรงให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ ปปช. และถือเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยมติวุฒิสภาได้ (ม.279)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้


หมวดที่ 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้มีมาตรฐานกลางเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกไปปฏิบัติได้ รวมทั้งมีกลไกตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก (ม.282)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่มีโครงสร้างการบริหารที่แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ก็ได้ แต่ผู้บริหารต้องมาจากการเลือกตั้ง (ม.284)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้

รัฐธรรมนูญ 2550
ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกระทำใดขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่น ต้องมีการแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้ทราบเป็นเวลาพอสมควร และหากมีการร้องขอต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อน หรือให้ลงประชามติก่อนดำเนินการ (ม.287)
รัฐธรรมนูญ 2540
(ไม่มีบทบัญญัตินี้)

รัฐธรรมนูญ 2550
ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น และมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารบุคคล (ม.288)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้


หมวดที่ 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ 2550
ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทน ฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือ สภาผู้แทน ฯ และวุฒิสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 50,000 คน (ม.291)
รัฐธรรมนูญ 2540
ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทน ฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือ สภาผู้แทน ฯ และวุฒิสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนที่มีอยู่ ในกรณีของสภาผู้แทน ฯ ต้องมีมติเห็นชอบของพรรคการเมืองที่สังกัดกำหนดด้วย

รัฐธรรมนูญ 2550
กรณีที่เป็นญัตติของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอนั้น ในวาระการพิจารณาที่สอง ต้องจัดให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้เข้าชื่อด้วย (ม.291)
รัฐธรรมนูญ 2540
ไม่มีบทบัญญัตินี้


บทเฉพาะกาลสำหรับวาระเริ่มแรกของการประกาศให้รัฐธรรมนูญปี 2550

- ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทน ฯ และวุฒิสภาจนกว่าจะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก แต่หากวันดังกล่าวยังไม่มีวุฒิสภา ก็ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ต่อไป ยกเว้นการเห็นชอบหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญนี้ (ม.293)
- การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และห้ามคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัคร ส.ส. และ สว. ภายใน 2 ปี (ม.294)
- ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับได้แก่ พรบ.เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง สว. พรบ. พรรคการเมือง และ พรบ. กกต. ให้เสร็จตามกำหนดในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 (ภายใน 45 วันหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) (ม.295)
- ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ภายใน 90 วัน และดำเนินการได้มาซึ่ง สว. ภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับมีผลบังคับใช้ (ม.296)
- ในการเลือกตั้งครั้งแรก ผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกสังกัดพรรคการเมืองเดียวไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง มีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่ลงสมัครมากกว่า 1 ปี และเคยศึกษา หรือรับราชการที่จังหวัดที่ลงสมัครไม่ต่ำกว่า 2 ปี (ม.296)
- ห้าม สว. ชุดที่รับเลือกตั้งเมื่อปี 2543 ลงสมัคร สว. (ม.296)
- สว. ที่มาจากการสรรหาชุดแรกมีวาระเพียงครึ่งหนึ่ง หรือ 3 ปี แต่มีสิทธิ์ลงสมัครหรือได้รับการสรรหาต่อเนื่องอีกครั้ง (ม.296)
- ให้รัฐบาลนี้และ คมช. พ้นไปเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ (ม.298)
- ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญนี้ และอยู่ในตำแหน่งจนหมดวาระ โดยนับวาระตั้งแต่วันที่ทรงแต่งตั้ง (ม.299)
- ให้ กกต. ปปช. และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คงดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นวาระ โดยเริ่มนับวาระตั้วแต่วันที่ทรงแต่งตั้ง (ม.299)
- ให้กรรมการสิทธิมนุษยชนดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งชุดใหม่ ในกรณีที่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่เกิน 1 ปีให้มีสิทธิ์ได้รับเลือกโดยต่อเนื่องได้ (ม.299)
- ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ต่อ จนกว่าจะมีศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านไปแล้วภายใน 150 วัน และให้โอนคดีที่ยังไม่แล้วเสร็จให้ศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ดำเนินการต่อ (ม.300)
- ให้สรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินภายใน 120 วันนับแต่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทน ฯ และผู้นำฝ่ายค้าน (ม.301)
- รับรอง พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่เดิม 4 ฉบับคือ พรบ. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พรบ. ปปช. พรบ. การตรวจเงินแผ่นดิน และ พรบ. วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีผลใช้ต่อไป และให้ประธานแต่ละองค์กรเดป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย และดำเนินการปรับปรุง พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งให้ กกต. เสนอร่าง พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ภายใน 1 ปี นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จากนั้นให้สภาผู้แทน ฯพิจารณาร่าง พรบ. ทั้งหมดที่เสนอมาให้เสร็จภายใน 120 วัน และให้วุฒิสภาพิจารณาต่อให้เสร็จภายใน 90 วัน (ม.302)
- ให้รัฐบาลชุดก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอิสระภายใน 90 วัน เพื่อศึกษาและเสนอแนะการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นเพื่ออนุวัติการตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้คณะกรรมการชุดนี้จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายในเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (ม.308)
- บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ 2549 ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (ม.309)


----------------------------


ผมจึงขอให้คำนิยามรัฐธรรมนูญ2550 ว่า

"แม้กำเนิดจากเผด็จการทหาร แต่กลับส่งมอบให้อำนาจที่มากขึ้นแก่ประชาชน ลดอำนาจนักการเมือง ป้องกันเผด็จการรัฐสภา"


วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รวมเพลงผู้หญิง เพราะๆ โดนใจ akecity






ขอรวบรวมเพลงในช่วงยุค พ.ศ.2540 เป็นต้นมา แต่น่าจะไม่เกินปี 48-49

ถ้าถามว่า แต่ละเพลงเพราะมั้ย? ก็เพราะ

แต่ ตอนที่ผมฟังใหม่ๆ หลายเพลงก็เฉยๆ นะ แต่กลับยิ่งฟังก็ยิ่งเพราะ และเมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายปี พอผมย้อนฟังทีไร มันรู้สึกโดนเข้าไปถึงข้างในเลย รู้สึกมีความสุขที่ได้ฟังเพลงเหล่านี้ อาจเพราะบรรยากาศเก่าๆ ในช่วงฟังเพลงนั้นมาช่วยด้วยก็ได้ ถึงทำให้รู้สึกเพลงเพราะมากขึ้น

เพลงแรก ของเคท ไบรโอนี่

เพลง จะบอกว่ารัก



เพลง จะบอกว่ารัก ของเคท ไบรโอนี่ เป็นอะไรที่ตลกมากสำหรับผม คือ

ตอนที่เพลงนี้ออกมาใหม่ ๆ ผมก็ไม่ได้ชอบอะไรเป็นพิเศษเลยนะ เฉย ๆ ซะด้วยซ้ำ

แต่พอผ่านไปจากนั้นอีก 5 ปี ผมได้ฟังเพลงนี้ในขณะรถติด วิทยุได้เปิดเพลงนี้ขึ้นมา ผมฟังแล้วก็อยู่ ๆ ก็กลับหลงรักเพลงนี้อย่างมาก มาจนวันนี้เลย



เพลงที่2 ของวงZAZA ร้องโดย พิมมาดา หรือพิมซาซ่า

เพลง เข้าใจใช่ไหม








เพลงที่ 3 ของ Niece

เพลง บีบมือ







เพลงที่ 4 ของ โบ สุนิตา

เพลง อยากให้เธออยู่ตรงนี้



เพลงนี้ของ โบ ออกมาเมื่อ พ.ศ.2538 เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง พริกขี้หนูกับหมูแฮม เป็นเพลงแจ้งเกิดจริง ๆ ของโบ สุนิตา



เพลงที่ 5 ของ คริสติน

เพลง ดาว







เพลงที่ 6 ของโปรเจค H

เพลง ความลับ (เวอร์ชั่นออริจินอล)







เพลงที่ 7 ของ โหน่ง พิมพ์ลักษณ์

เพลง คนเดียวจริงๆ







เพลงที่ 8 ของ นิโคล เทริโอ

เพลง พอแล้ว



ยุคที่นิโคล โด่งดังขึ้นมา ถือว่า เธอกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ที่โด่งดังมากคนนึงในยุคนั้น

และเพลงพอแล้ว จัดเป็นเพลงช้าที่โดนใจผมมาก เพราะมีเนื้อหาที่สอนให้คนเราอย่าหลงโง่งมงายไปกับคนที่เขาไม่สนใจใยดีเราอีกเลย สอนให้คนที่รักคนอื่นข้างเดียวเข้มแข็งขึ้น และรักศักดิ์ศรีของตัวเองซะบ้าง





เพลงที่ 9 ของ ตอง ภัครมัย

เพลง หากฉันรู้



ตอง เป็นนักร้องที่หน้าตาสวยมาก และเธอร้องเพลงช้าได้ดีมาก ๆ จนน่าเหลือเชื่อในยุคนั้น เพลงของเธอดังทุกเพลงในยุคที่อยู่กลับแกรมมี่ โดยเฉพาะเพลง "หากฉันรู้" เพลงนี้ของตอง

สำหรับความเห็นผมนะ ผมให้เป็นเพลงช้าที่ไพเราะที่สุดของตองเลยครับ

เธอไม่น่าย้ายค่ายไป RS ตามคำชวนของเพื่อนสนิทเธอ อย่างนายดัง พันกร เลยจริง ๆ น่าเสียดาย เพราะย้ายแล้ว ตองดับเลยในวงการเพลงและสำหรับการเป็นนักร้องระดับซุปเปอร์สตาร์ระดับแนวหน้าของไทย





เพลงที่ 10 ของ แอน ธิติมา

เพลง เสียงของหัวใจ

เพลงนี้ออกมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2543 ตอนที่ผมได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกนะ ผมเสมือนตกอยู่ในภวังค์โดยทันที เพลงอะไรช่างไพเราะเหมือนราวกับนางฟ้าลงมาขับร้องให้ฟัง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่ทำให้คุณแอน ดังระเบิดในช่วงนั้นด้วย

หลังจากนั้น เพลงนี้ก็อยู่ในใจผมตลอดมา แล้วก็ทำให้ผมหลงรักเสียงของแอน ธิติมา ว่าเป็นนักร้องหญิงในดวงใจผมมาจนวันนี้

สำหรับผมแล้ว เสียงร้องของแอน ธิติมา โดนใจผมที่สุด เพลงนี้ผมฟังแล้วฟังอีกจนนับครั้งไม่ถ้วน