วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556
นิวยอร์คไทม์ส แฉทักษิณเชิดยิ่งลักษณ์ผ่านสไกป์
ขนาดนิวยอร์คไทม์สยังรู้
-----------------------------
นิวยอร์กไทม์ส สื่อดังของสหรัฐฯ ระบุ นักโทษหนีคดีชื่อดังของไทยอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกโค่นอำนาจ กำลังใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะโปรแกรมยอดนิยม “สไกป์” มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
โดยระบุ การตัดสินใจที่สำคัญทางการเมืองของไทยตลอดระยะเวลากว่าปีครึ่งที่ผ่านมาล้วนถูกถ่ายทอดมาจากผู้กุมอำนาจตัวจริงที่อยู่นอกประเทศอย่างทักษิณ
สื่อสิ่งพิมพ์เก่าแก่ของสหรัฐฯซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1851 ระบุว่า ในขณะที่ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกกำลังใช้ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการทำงานและการติดต่อถึงกัน แต่ดูเหมือนความล้ำสมัยของเทคโนโลยีโทรคมนาคมของโลก กำลังถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองในประเทศไทยที่เป็นบ้านของประชากรกว่า 65 ล้านคน เห็นได้จากการตัดสินใจทางการเมืองสำคัญๆในช่วงที่ผ่านมา ที่ตัวอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่อยู่ระหว่างหนีคดีทุจริต ได้สั่งการตรงมาจากต่างประเทศผ่านทางโปรแกรมสไกป์ และช่องทางการสื่อสารอื่นๆ
นิวยอร์ก ไทม์สระบุว่า เจ้าหน้าที่ในพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลขณะนี้ยอมรับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบรรดารัฐมนตรีหลายรายในรัฐบาลของน้องสาวตัวเอง คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมถึงการส่งข้อความผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆการใช้โปรแกรมแชท “whatsapp ” และ “LINE ” ไม่เว้นแม้แต่ การอ่านเอกสารของรัฐบาลทางอีเมล ซึ่งมีเหล่าข้าราชการผู้ภักดีต่อทักษิณ ส่งให้ถึงมือ
แต่ที่น่าจับตาที่สุด คือการทำหน้าที่บริหารประเทศและร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านโปรแกรมสไกป์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งช่วยให้อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ สามารถใช้อำนาจของตัวเองในการปกครองประเทศไทยได้อย่างเต็มพิกัด โดยไม่จำเป็นต้องเผชิญกับหมายจับ หรือสุ่มเสี่ยงกับการติดคุกแต่อย่างใด นับเป็นการหวนคืนอำนาจอีกครั้งของทักษิณ โดยที่ปัญหาเรื่องระยะทางและความห่างไกล ไม่เป็นอุปสรรคต่อทักษิณอีกต่อไป
รายงานระบุว่า แม้โดยทางการแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำรัฐบาลเมื่อปี 2011จะถือเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย แต่ทว่าอำนาจในการตัดสินใจและสั่งการกลับตกอยู่ในมือของทักษิณ ที่ดำเนินการ “ปกครองประเทศไทย” จากบ้านพักในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึง บ้านพักในกรุงลอนดอนของอังกฤษ โรงแรมในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง และเหมืองทองคำของทักษิณในทวีปแอฟริกาโดยอาศัยความล้ำสมัยของเทคโนโลยีต่างๆเป็นตัวช่วย
ขณะที่ตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ วัย 45 ปี มีหน้าที่เพียงแค่การเดินทางไป “ตัดริบบิ้นเปิดงาน” และคอย “กล่าวสุนทรพจน์” ในโอกาสต่างๆเท่านั้น แม้เธอจะยืนยันมาโดยตลอดว่า เธอคือนายกรัฐมนตรีตัวจริงเสียงจริงของไทย
แกนนำพรรคเพื่อไทยรายหนึ่งเผยว่า ทุกคนในรัฐบาลสามารถติดต่อกับทักษิณได้ตลอดเวลา จากผลของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นโลกที่ “ไร้พรมแดน”
รายงานข่าวล่าสุดของสื่อดังอย่างนิวยอร์กไทม์ส สอดคล้องกับการเปิดเผยของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำ “กลุ่มคนเสื้อเหลือง” หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พีเอดี) ที่ระบุว่า ทักษิณเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการบริหารประเทศทั้งหมด และทักษิณเป็นผู้ที่ตัดสินใจในทุกโครงการใหญ่ของรัฐบาลที่มีมูลค่าหลายพันล้านบาท
ข่าวจาก http://astv.mobi/AlglxUl
---------------------------------
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
In Thailand, Power Comes With Help From Skype
Thaksin Shinawatra, center in 2012 in Hong Kong, the former prime minister of Thailand, has been in self-imposed exile since 2008 to escape corruption charges. By THOMAS FULLER Published: January 29, 2013
BANGKOK — Millions of people across the globe have cut the tethers to their offices, working remotely from home, airport lounges or just about anywhere they can get an Internet connection. But the political party governing Thailand has taken telecommuting into an altogether different realm.
For the past year and a half, by the party’s own admission, the most important political decisions in this country of 65 million people have been made from abroad, by a former prime minister who has been in self-imposed exile since 2008 to escape corruption charges.
The country’s most famous fugitive, Thaksin Shinawatra, circles the globe in his private jet, chatting with ministers over his dozen cellphones, texting over various social media platforms and reading government documents e-mailed to him from civil servants, party officials say.
It might be described as rule by Skype. Or governance by instant messenger, a way for Mr. Thaksin to help run the country without having to face the warrant for his arrest in a case that many believe is politically motivated.
His (remote control) return to power, even if somewhat limited by distance, is a remarkable turnaround for the brash telecommunications billionaire who was deposed in a military coup in 2006, the catalyst for several years of brinkmanship between critics and supporters that led to four changes of government and violent street protests that left nearly 100 people dead.
Officially, his sister, Yingluck Shinawatra, is the prime minister (he nominated her for the job in 2011). But from his homes in Dubai and London, from the gold mines he owns in Africa and during regular visits to nearby Asian countries, Mr. Thaksin, 63, has harnessed the Internet and mobile technology to create one of the most unusual ways of governing a country.
“We can contact him at all hours,” said Charupong Ruangsuwan, the interior minister and secretary general of Mr. Thaksin’s Pheu Thai Party. “The world has changed. It’s a boundless world. It’s not like a hundred years ago when you had to use a telegraph.”
To illustrate the point during an interview, Mr. Charupong took out his iPhone and scrolled through a list of phone numbers for Mr. Thaksin. (Mr. Thaksin gives different numbers to different people, often depending on seniority, party officials say.)
“If we’ve got any problem, we give him a call,” Mr. Charupong said.
Mr. Thaksin himself declined to talk by phone, or Skype, for this article.
The day-to-day governance of the country is carried out by Ms. Yingluck, who is genial, photogenic and 18 years younger than Mr. Thaksin. She cuts the ribbons and makes the speeches. (ยิ่งลักษณ์มีหน้าที่ตัดริบบิ้นและกล่าวเปิดงาน)
Ms. Yingluck, 45, has on occasion sought to play down her brother’s role. Soon after taking office, when Mr. Thaksin joined a weekly cabinet meeting via Skype, reporters asked who was really the head of the government. Ms. Yingluck insisted that she was in charge and said Mr. Thaksin had joined the discussion to offer “moral support.” She has since consistently said she is in charge.
But if there is one thing that allies and enemies of Mr. Thaksin agree on, it is that he is the one making the big decisions.
“He’s the one who formulates the Pheu Thai policies,” said Noppadon Pattama, a senior official in Mr. Thaksin’s party who also serves as his personal lawyer. “Almost all the policies put forward during the last election came from him.”
Sondhi Limthongkul, a leader of the “yellow shirt” movement that has taken to the streets many times to demonstrate against Mr. Thaksin, agreed, saying, “He’s running the whole show.”
“If you want a huge project in Thailand worth billions of baht, you have to talk to Thaksin,” Mr. Sondhi, who seemed resigned to the turn of events, said in an interview.
Besides Skype, Mr. Thaksin uses various social media applications, including WhatsApp and Line, to keep in touch with the leaders of the party, senior party members say.
Many of the Skype sessions are reported in the Thai news media. This month, Mr. Thaksin had a video chat to discuss coming elections for governor in Bangkok. The one-hour video chat made news because party officials reported that Mr. Thaksin had told his colleagues that it did not matter whom they nominated because even a utility pole would defeat the opposition.
Mr. Thaksin remains a divisive figure. He retains a large and passionate following, especially among people in the Thai hinterland whom he championed as prime minister. His critics among the urban elite are equally adamant. They are still fearful that he and his party will upset the status quo that benefits them, but also angered by what they call his penchant for mixing the affairs of state with the expansion of his business empire and by his domineering personality.
But with Thailand’s economy doing well despite the global slump and its vaunted tourism industry doing even better than before the unrest, critics have been less able to drag anyone to the streets — even as they acknowledge that the man they long tried to drive from power is ruling from afar.
Mr. Thaksin’s political revival also fits in some ways with politics in Thailand, which can be difficult to explain to outsiders because it sometimes sounds too implausible to be true. The general who led the 2006 coup that deposed Mr. Thaksin is now a member of Parliament and chairman of the reconciliation committee. And the country’s former “sauna king,” who made a fortune operating illegal massage parlors is now an anticorruption crusader who regularly exposes illegal gambling dens.
The paradox for Thailand today is that despite its current odd governing arrangement, the country is enjoying what Thitinan Pongsudhirak, a professor of political science at Chulalongkorn University and one of the country’s leading political thinkers, calls “a kind of uneasy accommodation.”
“There are two ways you can look at this: you can make it into a farce, a ridiculous situation and the butt of a lot of jokes. The brother is pressing the buttons and the sister is a puppet,” Mr. Thitinan said in an interview. “But I’m beginning to take a slightly different view. This may be the best way to run Thailand.”
Many Thais believe that it might be better both for Mr. Thaksin and the country if he stayed abroad so that passions are not rekindled.
Mr. Charupong, the interior minister, says Mr. Thaksin’s distance gives him useful perspective and likened him to the coach of a soccer team (in this case, the cabinet).
Elaborating on the upsides of having the brother-sister team in charge, he said: “It’s like we have a prime minister in the country and another prime minister overseas. And we work together. This is our strength.”
For some decisions, Mr. Thaksin insists on meeting in person. He regularly summons politicians to meetings at his Dubai home and at hotels in Hong Kong, which he visits frequently, and it is a given in Thai politics today that anyone who wants an important job in government must fly to see Mr. Thaksin.
While Mr. Thaksin’s role in making appointments and setting policy is unusual by the standards of other democracies, voters knew what they were getting. His Pheu Thai Party’s widely publicized slogan during the 2011 election campaign was: “Thaksin thinks; Pheu Thai does.”
ข่าวจาก http://goo.gl/Nnhun
วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556
"ประชาธิปไตย ความรักชาติ ชาตินิยม" ในทัศนะสว.รสนา
เกริ่น
ประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องไม่ใช่รวยกระจุก จนกระจาย สำหรับความคิดผมนะ แค่กฎหมายภาษีที่ดินที่ควรรีบปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ที่พวกอสังหาริมทรัพย์ เช่น เอสซีแอสเสท หรือ แสนสิริ หรือ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และอื่นๆ อีกมากมาย
ที่มักไปกว้านซื้อที่ดินมาเก็บตุรไว้ นั่นแหละ ควรแก้ภาษีที่ดินก่อนเถอะ ถ้าหากรัฐบาลจริงใจ และต้องการกระจายรายได้จริง ๆ
ส.ส.ทั้งแบบบัญชีรายชื่อกับแบบแบ่งเขต ชุดปัจจุบัน (สส.ที่มาจากการเลือกตั้งใหญ่พ.ศ.2554) จำนวน 421 คน มีพื้นถือครองรวม 10,874,348.14 ตารางวา หรือ 27,185 ไร่ มูลค่ากว่า 15,794 ล้านบาท ถ้าคิดเฉลี่ยคนที่ถือครองที่ดินสูงสุดอยู่ที่ 810,504 ตารางวา หรือ 2,026 ไร่ มูลค่ากว่า 2,699 ล้านบาท
เพราะการกักตุนที่ดิน คือการเก็งกำไรที่ดินให้แพงขึ้น คนที่มีโอกาสน้อยจะยิ่งซื้อบ้านแพงมากขึ้น คนจนจะยิ่งไร้ที่ดินเป็นของตัวเองมากขึ้น ก็เพราะการกักตุนที่ดินของบรรดาเศรษฐีนั่นเอง
ฟังผมบ่นแล้ว ลองอ่านมุมมองสว.รสนา โตสิตระกูลอธิบายเรื่องประชาธิปไตยที่แท้จริงครับ
-----------------------------
ทัศนะจากเพจ สว. รสนา โตสิตระกูล
ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
@อัมราภรณ์ เพ็รชจันทร์ มีนักวิชาการชาวเยอรมันด้านสังคมวิทยาการเมืองสายมาร์กซิส ชื่อ Claus Offe กล่าวว่าหลังยุคสงครามเย็น มีการก่อตั้งสถาบันพันธมิตรร่วมความมั่นคงและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ( Growth-Security Alliance ) ซึ่ง เป็นการจับมือกันระหว่างนายทุนผูกขาดและนักเลือกตั้ง โดยอาศัยความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจรัฐผ่านระบบการเลือกตั้ง
จากนั้นสามารถกำหนดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งการเพิ่ม GDP เป็นหลัก บวกกับทิศทางการพัฒนาตามทฤษฎีน้ำล้นถัง (Trickle down) ทำให้มีการผ่องถ่ายความมั่งคั่งให้กับคนกลุ่มน้อยในสังคม เกิดสภาพ รวยกระจุก จนกระจาย อย่างที่เป็นในบ้านเรา
Claus Offe ยังกล่าวอีกว่าประชาธิปไตยที่เน้นระบบตัวแทนจากการเลือกตั้งแบบนี้ จะไม่ให้ความสำคัญกับการเมืองของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากร และวิถีชีวิตชุมชน นอกจากไม่ให้ความสำคัญแล้ว จะมีการทำลายเข่นฆ่าผู้ต่อสู้ ขัดขวางอีกด้วย
ประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง แต่ไม่มีการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจให้คนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่สามารถเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
การเมืองแบบนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นลัทธิประชาธิปไตยบังหน้าของจักวรรดิทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยกฎกติกา กฎหมายแทนการใช้อาวุธในการยึดครองทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในยุคล่าอาณานิคมยุคแรกนั่นเอง
ทัศนะรักชาติ ต่างจาก ทัศนะเชื้อชาตินิยม
อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ พูดถึงทัศนะรักชาติ ( Patriotism ) ว่าเป็นทัศนะประชาธิปไตยซึ่งรักทุกเชื้อชาติและชนชาติที่ประกอบเป็น "ชาติ" เดียวกัน ครอบครองดินแดนประเทศเดียวกันคือปิตุภูมิ ( Patrie ) เดียวกัน มีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจอันเป็นรากฐานของสังคมเดียวกัน ยอมเสียสละส่วนตัวเพื่อชาติและปิตุภูมิเป็นส่วนรวม
"ทัศนะรักชาติ" ต่างจาก "ทัศนะเชื้อชาตินิยม" ที่เห็นว่าเชื้อชาติของตนเหนือกว่าคนอื่นจนนำไปสู่ "การคลั่งชาติ"
พวกที่อ้างความเป็น "สากลนิยม" แบบหลับหูหลับตา จะบอกว่าไม่มีชาติ สมัยแรกสุดเป็นความคิดของพวกคอมมูนิสต์ซ้ายจัด ที่ถูกครอบงำโดยลัทธิคอมมินเทิร์นของพวกโซเวียต ซึ่งแม้แต่เหมาเจ๋อตุงก็ไม่เห็นด้วย เพราะชาติยังคงต้องมีอยู่ สากลนิยมต้องควบคู่ไปกับความรักชาติ
ปัจจุบันลัทธิความไม่มีชาติ หรือสากลนิยมก็เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อของพวกจักวรรดิทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ เพื่อดูดซับทรัพยากรและความมั่งคั่งของเมืองบริวาร เฉกเช่นเดียวกับจักวรรดินิยมคอมมูนิสต์ของโซเวียต ( คอมมินเทิร์น ) ที่ครอบครองเมืองคอมมูนิสต์บริวารในยุโรปตะวันออก ที่ถูกสูบทรัพยากรจนยากจนข้นแค้น จนภายหลังต้องแยกออกมาเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย เพราะทนการกดขี่ไม่ไหว
การช่วงชิงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นเกมของจักวรรดิทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ที่อาศัยกัมพูชาเป็นตัวแทน ( proxy ) ที่จะกลายเป็นสปริงบอร์ด เข้ามาครอบครองทรัพยากรปิโตรเลียมอันอุดมสมบูรณ์ในอ่าวไทย
และที่น่าเสียใจคือมีกลุ่มทุนการเมืองนายหน้าที่ไปสมยอม และชักศึกเข้าบ้าน
โปรดพิเคราะห์ดูว่ามีผู้นำใครบ้างที่เดินทางเข้ามายังดินแดนแถบนี้พร้อมกลุ่มทุนพลังงาน ?
เรื่องนี้วิเคราะห์ไม่ยาก คนจบ ป4 ที่รักชาติก็วิเคราะห์ออก ยกเว้นนักวิชาการ หรือนักการเมืองที่มีอคติจากความโลภ ความกลัว และความหลงเท่านั้นที่มองไม่ออกว่าจักวรรดิทุนนิยมโลกาภิวัฒน์กำลังเล่นเกมการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อช่วงชิง และครอบครองทรัพยากรปิโตรเลียมในแถบนี้อย่างไรบ้าง โดยที่ประชาชนคนไทยตาดำๆส่วนใหญ่จะไม่ได้ส่วนแบ่งจากผลประโยชน์มหาศาลเหล่านี้
สว.รสนา โตสิตระกูล
------------------------
ฟังชัดๆ ทักษิณบอกกำลังทำธุรกิจสัมปทานน้ำมัน และแก๊ส ที่เพื่อนคนนึงมาชวน (เพื่อนคนนั้นน่าจะหมายถึง ฮุนเซ็น)
ทักษิณไม่มีปัญญาทำธุรกิจเสรี มีแต่จะหากินแด.กกับธุรกิจสัมปทาน !!
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556
ป้ายหาเสียงเบอร์ 9 ผู้สมัครเสาไฟฟ้าตัวแทนพรรคเพื่อใคร
ก็แม้วบอกว่า จะส่งเสาไฟฟ้ามาลง ก็เลยเข้าใจว่า ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.คนนี้ คงมีฉายาว่า เสาไฟฟ้า ใช่มะ 555
เหตุผลที่หมา 2 ตัวนี้ ไม่ต้องไปชั้น 7 โฟร์ซีซั่น
อ๋อ.. ที่แท้ เหตุผลที่แม้ว ส่งเสาไฟฟ้ามาลงสมัครผู้ว่าฯกทม. เพราะแม้วมีฐานเสียงเป็นผู้มีพระคุณเก่าของแม้วนั่นเอง 555
โอ้โฮ แฟนๆ ผู้สมัครเบอร์ 9 เสาไฟฟ้าเขาเยอะจริงๆ นี่ขนาดรดน้ำดำหัวกันถึงป้ายเลย 555
เอาล่ะสิ ไอ้เต้นเล่นมาขู่กันแบบนี้ สงสัยไม่เลือกไม่ได้แล้ว
หมายถึงเลือกเบอร์อื่นนะ 555
มิน่าล่ะ ป้ายหาเสียง คืนความสุข ที่แท้ก็ สุก แบบนี้นี่เอง 555
ล่าสุดเสาไฟฟ้า ก็ถึงขนาดไหว้ขอทานเขมร เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีทักษิณฮุนเซ็นให้มั่นคง 555
คลิกอ่าน สาเหตุที่บ้านแพนเค้กโดนยกเค้า เพราะพงศพัศ !!
วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556
สยาม ฝรั่งเศสปักปันเขตแดนไทยกัมพูชาเสร็จไปแล้ว
สยามกับฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดนลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447)
สยามได้เสียดินแดนในส่วนของ หลวงพระบาง มโนไพร และจำปาศักดิ์ บนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส โดยสนธิสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเขตแดนในย่านภูเขาดงรักภาคตะวันออกและย่านอื่นๆ โดยกำหนดเอาไว้ว่า:
ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับประเทศกัมพูชา เริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาบจากปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส และเป็นไปตามเส้นขนานจากจุดนั้นในทางทิศตะวันออกจนกระทั่งถึงแม่น้ำแปรก กำปง เทียม แล้วเลี้ยวไปทางด้านทิศเหนือไปพบกับเส้นตั้งฉากจากจุดบรรจบนั้นจนกระทั่งถึงทิวเขาดงรักจากที่นั่นเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำ
ระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสนและแม่น้ำโขงด้านหนึ่ง กับแม่น้ำมูลอีกด้านหนึ่ง และสมทบกับทิวเขาภูผาด่าง โดยถือทวนน้ำขึ้นไปให้ถือแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนของอาณาจักรสยามตามข้อ 1 แห่งสนธิสัญญาฉบับวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893
จากสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1904 ข้อ 1 แสดงให้เห็นว่า “ทิวเขาดงรัก” ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ปราสาทพระวิหาร” ระบุเส้นเขตแดนอย่างชัดเจนว่าให้ใช้ “สันปันน้ำ”!!!
------------------
ต่อมาสยามกับฝรั่งเศสได้มีการทำสนธิสัญญาและพิธีสารแนบท้ายต่อกันเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) เป็นการแลกแผ่นดิน
โดยฝ่ายสยามยก พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส เพื่อที่จะแลกกับเมืองด่านซ้าย ตราด และเกาะทั้งหลายไปจนถึงเกาะกูดให้กลับมาเป็นของสยาม
ด้วยเหตุผลที่มีสนธิสัญญา 2 ฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงของแผ่นดินระหว่างสยามกับฝรั่งเศส จึงมีการตั้งเป็นคณะกรรมการผสมขึ้นจากตัวแทนฝ่ายสยามและฝรั่งเศสเพื่อสำรวจและปักปันเขตแดนทางบก 2 ช่วงเวลา คือคณะกรรมการผสมชุดแรกที่เกิดขึ้นตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และคณะกรรมการผสมอีกชุดที่สองซึ่งเกิดขึ้นตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1907
ผลจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการผสม 2 ชุด พบว่ามีการสำรวจและกำหนดเส้นเขตแดนตามทิวเขาดงรักซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหารที่น่าสนใจตามลำดับเวลาดังต่อไปนี้
13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) สยามกับฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญาต่อกัน กำหนดให้สันปันน้ำเป็นเขตแดนบริเวณทิวเขาดงรัก
มกราคม ค.ศ. 1905 (พ.ศ. 2448) ได้มีการประชุมเป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้ปฏิบัติงานสำรวจและกำหนดเขตแดนทางทิศตะวันออกของทิวเขาดงรักซึ่งเป็นทิวเขาที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
2 ธันวาคม ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) มีการประชุมตกลงกันว่าคณะกรรมการผสมจะขึ้นไปบนเขาดงรักจากที่ราบต่ำของกัมพูชา โดยผ่านขึ้นทางช่องเกน ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันตกของพระวิหารและเดินทางไปทิศตะวันออกตามทิวเขาโดยอาศัยเส้นทางที่ ร้อยเอกทิกซีเอ กรรมการคนหนึ่งของฝรั่งเศสได้ตระเวนสำรวจเอาไว้เมื่อปี ค.ศ. 1905 (พ.ศ. 2448)
18 มกราคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสชุดแรกเพราะปฏิบัติงานเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในกรุงปารีสว่า ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการผสมว่า “การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และว่าได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้วนอกจากในอาณาบริเวณเสียมราฐ” การสำรวจและปักปันครบหมดแล้วย่อมแสดงว่าได้รวมถึงทิวเขาดงรักบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย
20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ประธานได้ส่งรายงานไปให้รัฐบาลของตนระบุเอาไว้ว่า “ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขงการกำหนดเขตแดนไม่ได้ประสบความยุ่งยากใดๆ เลย”
คณะกรรมการผสมสรุปโดยไม่ต้องไปปักปันอะไรแล้ว ก็เพราะแนวสันปันน้ำซึ่งถูกระบุอยู่ในสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ซึ่งใช้สำหรับเป็นเขตแดนตามทิวเขาดงรักนั้น “ชัดเจนตามธรรมชาติด้วยตัวมันเอง”
23 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) สยามกับฝรั่งเศส ได้ลงนามในสนธิสัญญาและพิธีสารแนบท้าย เพื่อแลกแผ่นดินกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสชุดที่ 2 เพื่อสำรวจในดินแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่
พันเอกแบร์นารด์ ประธานฝ่ายฝรั่งเศสของคณะกรรมการผสม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยกร่างแสดงพรมแดนใหม่ โดยพรมแดนด้านตะวันตกที่ตกลงกันใหม่บรรจบกับดงรักพิธีสารได้กำหนดว่า:
“จากจุดที่กล่าวถึงข้างบนซึ่งตั้งอยู่บนสันเขาดงรัก เขตแดนทอดไปตามสันปันน้ำระหว่างลุ่มทะเลสาบใหญ่และแม่น้ำโขงทางหนึ่งและตามลุ่มแม่น้ำมูลอีกทางหนึ่ง และไปจดแม่น้ำโขงใต้ปักมูลที่ปากน้ำห้วยเดื่อ (ห้วยดอน) อันเป็นไปตามเส้นลากซึ่งคณะกรรมการปักปันคณะก่อนได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
อาศัยความบทแห่งสนธิสัญญานี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่อาจมองไปได้ว่าข้อตกลงของคณะกรรมการผสมภายใต้สนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) อาจจะผิดแผกจากเส้นสันปันน้ำไปได้แต่ประการใด”
ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีการลงนามในการแลกแผ่นดินตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) แล้วก็ตาม แต่การยึดหลักสันปันน้ำบริเวณสันเขาดงรักไม่เปลี่ยนแปลงตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) และไม่เปลี่ยนแปลงตามคณะกรรมการผสมชุดแรกได้ดำเนินการสำรวจไปก่อนหน้านี้อีกด้วย
20 ธันวาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) พันเอกแบร์นารด์ ประธานฝ่ายฝรั่งเศสของคณะกรรมการผสมฯ ได้ทิ้งพยานหลักฐานเป็นคำบรรยายซึ่งได้แสดงเอาไว้ในกรุงปารีสโดยได้บรรยายถึงงานปักปันเขตแดน 3 ครั้ง จาก ค.ศ. 1905 ถึง ค.ศ. 1907 ความตอนหนึ่งซึ่งมีความชัดเจนว่า:
“แทบทุกหนทุกแห่งสันปันน้ำประกอบเป็นพรมแดนและจะมีปัญหาโต้เถียงกันได้ก็แต่เพียงที่เกี่ยวกับจุดปลายสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น”
แสดงว่าทิวเขาดงรักบริเวณรอบปราสาทพระวิหารซึ่งไม่ได้อยู่จุดปลายสุดทั้งสองด้านของสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนที่มีความชัดเจน
ด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศส ทั้ง 2 ชุด ได้แบ่งเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเสร็จสิ้นแล้ว โดยยึดหลักสันปันน้ำตามสนธิสัญญาทุกประการ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปปักปันหรือจัดทำหลักเขตแดนใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น
ในทางตรงกันข้าม พื้นที่ที่มีความไม่ชัดเจน และเริ่มเข้าสู่เป็นที่ราบนั้นต้องมีการปักปันและจัดทำหลักเขตแดนทางบก จึงเป็นที่มาของ 73 หลักเขตแดนทางบก ซึ่งเริ่มต้นหลักเขตแดนทางบกที่ 1 จากช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ แล้วจัดทำเรื่อยไปทางตะวันตกและลงไปทางทิศใต้ จนถึงหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราด
ในขณะที่ไม่ปรากฏในรายงานการประชุมใดๆ ของคณะกรรมการผสมชุดที่ 2 เลยว่ามีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกจากช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกไปจนถึงตัวปราสาทพระวิหารเลยไปถึงช่องบก จ. อุบลราชธานีแม้แต่น้อย เพราะมีสันปันน้ำเป็นแนวตลอดอย่างชัดเจน
วันที่ 15 มิถุนายน 1962 (พ.ศ. 2505) แม้ว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะพิพากษาเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารว่าอยู่บนพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา โดยอ้างกฎหมายปิดปาก เพราะฝ่ายสยามไม่ยอมทักท้วงแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นภายหลังโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว (ซึ่งฝ่ายสยามไม่เคยลงนามยอมรับแผนที่ดังกล่าวเช่นกัน)
แต่ด้วยความจริงตามที่ปรากฏข้างต้น ศาลจึงไม่ได้พิพากษา “แผนที่” และ “เส้นเขตแดนตามแผนที่” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ตามที่กัมพูชาร้องขอแต่ประการใด
ดังนั้นฝ่ายไทยจนถึงยุคปัจจุบันจึงมีเครื่องมือที่จะสามารถบอกกับชาวโลกได้ว่า
1. สยาม-ฝรั่งเศสมีสนธิสัญญายึดหลักสันปันน้ำเป็นหลัก ตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
2. ผลของคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนระหว่างสยาม-ฝรั่งเศสทั้ง 2 ชุด ได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเขตแดนตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส เสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ซึ่งรวมถึงทิวเขาดงรักซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวปราสาทพระวิหารด้วย จึงไม่มีความจำเป็นต้องสำรวจเพื่อปักปันเขตแดนใหม่อีก และบริเวณทิวเขาดงรักแนวสันปันน้ำก็ไม่จำเป็นต้องจัดทำหลักเขตแดนทางบกเช่นกัน
3. คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ไม่เคยพิพากษาสถานะของแผนที่ และเส้นเขตแดนตามแผนที่ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวตามที่กัมพูชาร้องขอ
ในขณะที่มีผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศถึง 3 คน ได้มีคำพิพากษาแย้งอันเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นเท็จ อีกทั้งกัมพูชาไม่เคยสงวนสิทธิ์ในเรื่องแผนที่ และเส้นเขตแดนเอาไว้กับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหลังการตัดสินแต่ประการใด ตรงกันข้ามกับประเทศไทยซึ่งได้สงวนสิทธิ์ที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารเอาไว้แล้วทันทีหลังได้ทราบคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว
ด้วยข้อผูกพันตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส และผลของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ในการสำรวจและปักปันเขตแดน ตลอดจนขอบเขตคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือเครื่องยืนยันว่า
หากไม่มี “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (MOU 2543)” ไทยและกัมพูชาจะต้องกลับไปใช้ข้อผูกพันที่มีต่อกันระหว่างไทย-กัมพูชาในการกำหนดเขตแดนทิวเขาดงรัก ซึ่งมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ “สันปันน้ำ”
ตรรกะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่กล่าวเอาไว้เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ว่า นักการเมืองที่คิดร้ายต่อบ้านเมืองหากไม่มี MOU 2543 แล้วก็จะสามารถกลับไปยึดแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้นจึง “เป็นไปไม่ได้” เพราะไม่มีเอกสารใดๆ ทั้งสิ้นที่ระบุว่าฝ่ายไทยได้เคยมีข้อผูกพันตามแผนที่ดังกล่าวแต่ประการใด นอกจาก MOU 2543 เท่านั้นที่มีความสุ่มเสี่ยง เพราะมีการระบุว่าให้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตามแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ด้วย
หากยึดหลักสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ยึดหลักผลงานของคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกของสยาม-ฝรั่งเศส และคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยจะเรียกดินแดนทั้งหมดที่ถูกกัมพูชารุกล้ำอยู่ในขณะนี้ว่า “ดินแดนไทย”เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะไม่เป็นพื้นที่ซึ่งพิพาทหรือทับซ้อน
และสามารถผลักดันทันทีได้หลายรูปแบบด้วยเงื่อนไขที่ว่า “กัมพูชารุกล้ำอธิปไตยของไทย”
ไม่ใช่เหตุผลว่า “กัมพูชามีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในพื้นที่พิพาทตามข้อ 5 ใน MOU 2543” ซึ่งทำได้สูงสุดตามเงื่อนไขในข้อ 8 ของ MOU 2543 คือ “หากมีข้อพิพาทต้องใช้สันติวิธีเท่านั้น” ซึ่งไม่สามารถทวงคืนดินแดนที่ถูกกัมพูชายึดครองอยู่ได้
ด้วยเหตุผลนี้กัมพูชาจึงต้องโวยวายไปทั่วโลกเพื่อกอด MOU 2543 เอาไว้อย่างเหนียวแน่นเช่นเดียวกันกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีผิดเพี้ยน!!!
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ http://astv.mobi/AIMfqtU
ป้ายกำกับ:
หลักฐาน สยาม ฝรั่งเศส ปักปัน เขตแดน MOU43
วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556
สาเหตุที่ไทยแพ้คดีเขาพระวิหารแก่กัมพูชา พ.ศ.2505
สมเด็จพรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยี่ยมชมเขาพระวิหาร พ.ศ. 2472
นั่นเพราะไทยแพ้กัมพูชา ด้วยหลักฐานเดียวเท่านั้นคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยเสด็จเยี่ยมชมเขาพระวิหาร ที่ตอนนั้นฝรั่งเศสยังยึดครองทั้งเขาพระวิหารและเขมรอยู่ และยังปรากฎธงชาติฝรั่งเศสบนเขาพระวิหาร
ด้วยเหตุที่ศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องเขตแดน นี่จึงเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้ไทยต้องเสียเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นให้แก่กัมพูชา
ด้วยเหตุผลที่ศาลโลกอ้างในคำตัดสินคือ ไทยได้ยอมรับแล้วว่า ฝรั่งเศสยึดครองปราสาทเขาพระวิหารไว้ เฉพาะตัวปราสาทจึงต้องตกเป็นของกัมพูชาต่อไป
ย้ำว่า ไทยแพ้เพราะหลักฐานธงชาติฝรั่งเศสที่อยู่บนเขาพระวิหาร เพราะนั่นหมายถึงไทยได้ยอมรับอธิปไตยบนเขาพระวิหารของฝรั่งเศส
แต่มีข้อสังเกตคือ ตอนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยี่ยมชมปราสาทเขาพระวิหารนั้น พระองค์ทรงไม่ได้อยู่ในตำแหน่งทางการเมืองแล้ว พระองค์เสด็จไปเยี่ยมชมในฐานะนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีเท่านั้น
ดังนั้นตามหลักที่ถูกต้อง ไม่ควรนำกรณีการเสด็จเยือนของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาอ้างได้เลย จริง ๆ
(แต่นั่นคือยุคล่าอาณานิคมยังไม่สิ้นสุด เขมรยังเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็ได้เขมรไปเพราะขู่บังคับเอาไปจากไทย ซึ่งมันคนละเรื่องคนละบริบทกับยุคทีหมดยุคล่าอาณานิคม จนเกิดมีองค์การสหประชาชาติเกิดขึ้นแล้ว)
คลิกที่รูปเพื่อขยาย สมเด็จกรมพระยาดำรง คนที่ยืนหันหลังมือไขว้เอวอยู่ครับ (จะสังเกตเห็นธงชาติฝรั่งเศส)
เรสสิเดนต์ กำปงธม และเมอซิเออร์ ปามังติเอร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสรับเสด็จสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขาพระวิหาร (ซึ่งภาพเหล่านี้ต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในข้ออ้างของประเทศกัมพูชาใช้ในการสู้คดีข้อพิพาทระหว่างประเทศกรณี ปราสาทเขาพระวิหาร ณ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
ไทยเราจึงปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก คือยอมให้กัมพูชาได้สิทธิเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารไป โดยมติครม.2505 ได้ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทเขาพระวิหารเอาไว้ แต่พื้นที่ 4.6 ตร.กม. ยังเป็นของไทยอยู่
ซึ่งกัมพูชาก็ไม่ได้คัดค้านอะไรมาเกือบ 40 ปี
จนกระทั่งพ.ศ. 2543 รัฐบาลชวน หลีกภัย ดันไปเรียกกัมพูชามาตกลงร่วมกันในMOU43 เพื่อปักปันหลักเขตแดนใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันของทหารทั้ง 2ฝ่าย
ซึ่งMOU43 นี้ แปลว่า รัฐบาลไทยดันไปยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2แสน ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นแบบโกงๆ ที่กัมพูชานำมาอ้างใช้ในการปักปันเขตแดนร่วมกันใหม่ด้วย
นี่คือจุดเริ่มต้นของการเสียดินแดน 4.6 ตร.กม. ซึ่งตอนเขมรได้นำเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรต่างประเทศกัมพูชา ได้อ้างเรื่อง MOU43 ด้วยว่าไทยยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2แสนของกัมพูชาแล้ว (คลิกอ่านที่นี่)
แถมรัฐบาลทักษิณยังไปทำ MOU44 เรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล โดยอ้างอิงที่ MOU43 เป็นหลักซ้ำเข้าไปอีก ตอกย้ำว่าไทยยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชาแล้วจริงๆ
ซึ่งหากไทยต้องเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. อย่างเป็นทางการไปจริงๆ อีกเมื่อไหร่
หลักเขตแดนที่เคยมีจะถูกยกเลิกและทำขึ้นใหม่ (อาจใช้เวลาอีกหลายสิบปี) ซึ่งจะมีผลถึงพื้นที่ทางทะเลที่ไทยเคยครอบครองอยู่ ก็อาจจะต้องตกไปเป็นของกัมพูชาด้วย
ซึ่งนอกจากนั้น ยังจะมีพื้นที่ในจังหวัดทางภาคอีสานอีกหลายจังหวัด ที่อาจโดนยึดครองไปด้วย ตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ของกัมพูชา อีกหลายล้านไร่ครับ ซึ่งกัมพูชามันต้องดำเนินการเรื่องนี้ต่อแน่ๆ
นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ ไทยจะยอมเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ไปอีกไม่ได้แล้ว
ส่วนรายละเอียดอีกหลายอย่าง และที่จริงไทยจะไม่แพ้กัมพูชาเลย ถ้าไม่ไปขึ้นศาลโลกตั้งแต่แรก ผมขอแนะนำให้
โปรดไปอ่านต่อได้ที่ อธิบายกรณีเขาพระวิหารอย่างง่าย คลิกที่นี่
คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคณะผู้ติดตามในคราวเสด็จเยือนเขาพระวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒
ขอบคุณรูปประกอบจาก http://www.lek-prapai.org/photo.php?id=11#
วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556
พบหลักฐาน "เจิ้งเหอ" ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส
ก่อนอื่นลองอ่านประวัติเจิ้งเหอ กันพอสังเขปก่อนครับ
เจิ้งเหอ (จีนตัวเต็ม: 郑和; พินอิน: Zhèng Hé ; แต้จิ๋ว: แต้ฮั้ว) เป็นผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง (明 ; Ming)
"ซำปอกง" หรือ "เจิ้งเหอ" เดิมชื่อว่า หม่าเหอ เกิดในครอบครัวชาวมุสลิมที่เมืองคุนหยาง มณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๓๘๑ เกิดสงครามกวาดล้างกองกำลังมองโกลที่ปักหลักอยู่ในแถบยูนนาน ท่ามกลางความวุ่นวายของสงคราม หม่าเหอ วัย11 ปี ได้ตกเป็นเชลยศึก และถูกส่งตัวเข้ามาเป็นขันทีเพื่อทำงานรับใช้ในกองทัพ
หม่าเหอ ติดตามกองทัพเข้าร่วมสมรภูมิรบจนอายุได้ ๑๙ ปี ก็ได้มารับใช้ เอี้ยนหวังจูตี้ องค์ชายสี่แห่งราชวงศ์หมิงที่ปักกิ่ง นับแต่นั้น หม่าเหอ ก็คอยติดตามอยู่ข้างกาย จูตี้ จนกลายเป็นคนสนิทที่ได้รับความไว้วางใจอย่างมาก หม่าเหอได้สร้างความดีความชอบไว้มาก โดยเฉพาะการช่วยให้ จูตี้ ได้ก้าวขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่
ในที่สุด หม่าเหอ ก็ได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นหัวหน้าขันที และได้พระราชทานแซ่ "เจิ้ง" จึงกลายมาเป็น"เจิ้งเหอ" หรือที่รู้จักกันในนาม "ซำปอกง"
และเนื่องจากการที่ เจิ้งเหอ เป็นบุคคลที่ จูตี้ ให้ความไว้วางใจมากที่สุด ทั้งจากการเป็นขันที่คนสนิท และความดีความชอบในการหนุนจูตี้ขึ้นสู่บัลลังก์ จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการกองเรือขนาดใหญ่ออกเดินทางไปในมหาสมุทรอันกว้างไกล
ที่เล่ากันว่านอกจากจะเป็นการเดินทางเพื่อประโยชน์ทางการค้า การเผยแพร่ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรจีนแล้ว ยังแฝงไว้นัยสำคัญทางการเมืองและการสืบราชบัลลังก์ ค้นหาร่องรอยของอดีตจักรพรรดิหมิงฮุ่ยตี้ เพื่อสร้างความมั่นคงและมั่นใจแก่ราชบัลลังก์ของจูตี้ ว่าหมิงฮุ่ยตี้จะไม่มาเป็นหอกข้างแคร่อีกต่อไป
การเดินทางออกสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ของเจิ้งเหอ ๗ ครั้งในรอบ ๒๘ ปี เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว กองเรือและการเดินทางของเจิ้งเหออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์การเดินเรือของโลก นำมาซึ่งความสำเร็จทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวจีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเอเชียอาคเนย์ อินเดีย และแอฟริกา แต่บันทึกเรื่องราวการเดินทางที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยตรงแทบไม่มีหลงเหลืออยู่เลย ความรุ่งเรืองทางทะเลของจีนก็จบสิ้นลงพร้อมกับการจากไปของเจิ้งเหอผู้ยิ่งใหญ่
มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 และเคยติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาด้วย มีผู้เสนอทฤษฎีว่า เจิ้งเหอน่าจะค้นพบทวีปอเมริกาก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยไม่มีหลักฐานใดๆมายืนยันได้ชัดเจนเลยว่าเจิ้งเหอเคยเดินทางผ่านแอฟริกาใต้ หรือ อเมริกา เจิ้งเหออาจเป็นแค่ทฤษฏีที่ฝรั่งบางคนคิดขึ้นมาเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองเท่านั้น
คลิกอ่าน ประวัติ เจิ้งเหอ เจียนห้อ แต้ฮั้ว และ ๖๐๐ ปี ซำปอกง
คลิกอ่าน “เจิ้งเหอ” แม่ทัพขันทีจีนผู้นำกองเรือข้ามมหาสมุทรอินเดีย ตอน 1 (ผจก.ออนไลน์)
----------------------------
หลักฐาน เจิ้งเหอ ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส
จากประวัติเจิ้งเหอ ด้านบนพอสังเขป ยังระบุแค่ว่า ยังไม่มีหลักฐานใดชัดเจนในการชี้ชัดว่า เจิ้งเหอ ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส จริงหรือไม่ ?
จนผมกระทั่งผมได้ดูสารคดี แปลกแต่จริงกับวิลเลี่ยนมแชทเนอร์ ก็ได้มีวัตถุหลักฐานที่ค่อนข้างยืนยันได้ว่า เจิ้งเหอ ได้ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสจริง ๆ
นั่นก็คือ ชาวประมงชาวอเมริกันคนหนึ่งได้พบสมอเรือที่ทำจากหินสลักหนักกว่า 1,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นสมอเรือที่ใช้สำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เท่านั้น บริเวณชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ ซึ่งหินสลักสมอเรือแบบนี้ มีมาก่อนยุคที่โคลัมบัสเดินทางมาพบทวีปอเมริกา เพราะในยุคโคลัมบัสได้ใช้สมอเรือทำจากเหล็กแล้ว
และหินสมอเรือที่ค้นพบนั้น มีลอยสลักในแบบที่คนจีนเคยทำไว้
แผนที่โลกของเจิ้งเหอ ที่แสดงให้เห็นว่า มีทวีปอเมริกาอยู่ด้วย ซึ่งก็มีนักวิชาการฝรั่งบางคนก็พยายามหาทฤษฎีคัดค้านว่า เป็นแผนที่ปลอม
นักวิชาการหญิงอนุรักษ์นิยมชาวอเมริกันในคลิป ก็พยายามจะหาทางคัดค้านทฤษฎีที่ว่า เจิ้งเหอ ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส
แต่ที่ผมดูแล้วว่าฟังไม่ขึ้นเท่าไหร เพราะเธอมีแค่ความเชื่อและข้อสันนิษฐานของนักวิชาการเท่านั้น แต่ปราศจากหลักฐานอ้างอิงชัดเจน และดูเธอจะแสดงความเห็นแบบมีอคติเพื่อปกป้องโคลัมบัสมากกว่า
ต่างจากนักวิชาการเชื้อสายจีนอเมริกัน ที่มีหลักฐานแผ่นเหรียญทองเหลืองที่ค้นพบในนอร์ธคาโรไลนา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเหรียญนี้มีอักษรจีน ที่เขียนว่า "ซุนเต๋อผู้ยิ่งใหญ่แห่งหมิง" (คลิปนาทีที่38.30)
สารคดีที่เกี่ยวกับ เจิ้งเหอค้นพบทวีปอเมริกา ดูคลิปตั้งแต่นาที 30 เป็นต้นไป
แน่นอน พวกนักวิชาการฝรั่งเขาย่อมไม่ยอมรับทฤษฎี เจิ้งเหอคันพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสง่าย ๆ
เพราะพวกฝรั่งๆ ยังไงๆ เขาก็เชื่อว่า พวกเขาเก่งเรื่องเดินเรือมากกว่าชาวเอเซีย หากยอมรับว่าเจิ้งเหอ ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส จริง
พวกฝรั่งมันจะรู้สึกเสียฟอร์มครับ
-------------------------------
ทำไมชาวเผ่าอินเดียแดง ไว้ผมเปีย?
คำตอบที่อาจเป็นไปได้คือ
หากเจิ้งเหอ ค้นพบทวีปอเมริกา และได้บันทึกลักษณะชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาไว้จริง นั่นก็อาจจะเป็นไปได้ที่ว่า
การถักเปีย และเกล้าผมของชาวอินเดียแดง อาจได้รับการสอนมาจากคนจีนนั่นเองครับ
------------------------
เจิ้งเหอ เคยมาเมืองไทยสมัยอยุธยา จริงหรือไม่ ?
ถ้าในข้อมูลในหลายแห่ง บอกว่า ไม่น่าจะใช่ ตามนี้
ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพ่อซำปอกง" (ซานเป่ากง). วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกง ที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า 'ซำปอฮุดกง' ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น 'ซำปอกง' จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้มีนักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ
ทว่าการที่เจิ้งเหอทำฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่า เจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็ก หากแต่ หม่าเหวินหมิง พี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานให้ เจิ้งชงหลิ่ง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เจิ้งชงหลิ่ง อพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม
เมื่อนักประพันธ์ชื่อดัง เควิน เมนซีส์ ได้แต่งหนังสือชื่อ 1421 : The Year China Discovered the World ขึ้น โดยมีการอ้างอิงทฤษฎีว่า นายพลเรือผู้กล้าหาญชาวจีนผู้หนึ่งได้ล่องเรือสำเภาไม้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก เดินทางมาถึงอเมริกาก่อนหน้าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะค้นพบถึง 71 ปี
(ข้อมูลจากวิกีพีเดีย)
แต่ตามข้อมูลในประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า เจิ้งเหอน่าจะเคยมากรุงศรีอยุธยา และมาเทียบท่าที่วัดพนัญเชิง
ทีนี้ชาวจีนเลยผนวกชื่อหลวงพ่อโต ที่พ้องกับชื่อเจิ่งเหอ รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันครับ
ดูคลิปนี้ในนาทีที่ 7.30 เป็นต้นไป ตำนานเจิ้งเหอ มาเกี่ยวกับหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงได้อย่างไร
คลิกอ่าน เฉลย พระพักตร์ที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า คือรูปใด
วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556
คลิปพระราขดำรัสในหลวง เนื่องในวันปีใหม่ ปี 57 56 55
พระราชดำรัส อวยพรปีใหม่ 1 มกราคม 2557
--------------------------------
พระราชดำรัสอวยพรปีใหม่ 1 มกราคม 2556
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2556 ความว่า
ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย
บัดนี้ถึงวาระขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี
มาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุข ความเจริญ
และความสำเร็จสมประสงค์ ในสิ่งที่ปรารถนา
ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่พรั่งพร้อมกันมา
ให้กำลังใจแก่ข้าพเจ้าในคราววันเกิด ด้วยความหวังดีจากใจจริง
น้ำใจไมตรีที่ทุกคนทุกฝ่ายแสดงออกในวันนั้น ยังประทับอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้าไม่รู้ลืม
ในปีใหม่นี้ ข้าพเจ้าจึงปรารถนาอย่างยิ่ง ที่จะเห็นคนไทยเราได้ตั้งจิตตั้งใจ ให้มั่นอยู่ในความเมตตาและหวังดีต่อกัน ดูแลเอาใจใส่กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้กำลังใจแก่กันและกัน ผูกพันกันไว้ฉันญาติและฉันมิตร ทุกคนทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือ ร่วมความคิดอ่านกัน สร้างสรรค์ความสุข ความเจริญมั่นคง ให้แก่ตนชาติได้ ดังที่ตั้งใจปรารถนา
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย
ให้มีความสุขกายสุขใจ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน
--------------------------
ผมสังเกตว่าสีพระพักตร์ในหลวงทรงแจ่มใสมาก ทำให้เราคนไทยผู้จงรักภักดีก็มีความสุขที่เห็นพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ
ทีนี้ผมอยากให้เราได้ย้อนชม พระราชดำรัส ในปีใหม่ปีที่แล้ว 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา เป็นปีที่มีมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทย
ซึ่งในหลวงทรงพระราชดำรัสอวยพรปีใหม่ ในเรื่อง ความไม่ประมาท
พระราชดำรัสอวยพรปีใหม่ 1 มกราคม 2555
-------------------------
ปี 55 น้ำท่วมหนักหลายจังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย น้ำท่วมกลัวรถจมน้ำ ก็แห่กันขับรถหนีไปหาที่จอดกันจ้าละหวั่น
ผ่านมาไม่ทันไร ปี 56 คนไทยลืมง่าย แห่ใช้สิทธิซื้อรถคันแรกกันใหญ่ เรื่องอะไรที่กอบโกยเอากับประเทศชาติ คนไทยน่ะเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกจริง ๆ
คนไทยต่างกลัวเสียสิทธิ แห่ซื้อรถคันแรก 1.3 ล้านคัน
เรื่องใช้สิทธิเอาเปรียบประเทศชาติ แต่ไม่ค่อยชอบทำหน้าที่เพื่อชาติ คนไทยเรานี่เก่งจริงๆ
ป้ายกำกับ:
ในหลวง อวยพรปีใหม่ 2556 คลิป,
พระราชดำรัส
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)