วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

เถียงให้รู้เรื่อง เลือกนายกฯโดยตรง และการเลือกสส.แบบเยอรมัน






(ทั้งสองคลิปที่ผมนำมาแปะในบทความเหมาะกับนักศึกษารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มาก)

แม้มติ คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ล้มเลิกเรื่องการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงไปแล้ว แต่หลังจากนั้นรายการเถียงให้รู้เรื่อง ก็ยังอยากนำเสนอแง่มุมในเรื่องนี้ให้มาขบคิดกันว่า ตกลงการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร

ซึ่งขนาดผมไม่ได้เห็นด้วยกับการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง แต่พอได้ฟังความคิดเห็นของ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผู้เสนอแนวคิดเลือกนายกฯ โดยตรงแล้ว ผมว่า ความเห็นอาจารย์สมบัติ ชนะเหตุผลของคุณนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.ประชาธิปัตย์

แต่สำหรับผู้ที่ให้เหตุผลได้กระจ่างและสมเหตุผลมากที่สุดในคลิปนี้คือ อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการผู้มาแสดงความเห็นเสริมในรายการ เพราะท่านอธิบายได้ความรู้ดีมาก





ส่วนเรื่องการเลือก สส. แบบระบบเยอรมัน ประเด็นนี้เหตุผลของคุณนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ก็ยังสู้เหตุผลของพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เช่นกัน

โดยเฉพาะความคิดเรื่องหลักการคำนวณจำนวน สส.  ซึ่งคุณนิพิฏฐ์ ดูเหมือนจะไม่ค่อยเก่งเรื่องคำนวณเท่าไร่ คือยังคำนวณบนพื้นฐานการคำนวณชั้นเดียว ทั้ง ๆที่ การคำนวณสส.ด้วยวิธีแบบเยอรมัน ต้องคิด 2 ชั้น




จากคลิป 2 ผมสรุปง่าย ๆ เลยว่า พรรคประชาธิปตย์ และพรรคเพื่อไทย ที่ไม่เห็นด้วยการเลือกตั้งระบบเยอรมัน เพราะกลัวว่าจะสูญเสียจำนวนสส. แล้วทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กแจ้งเกิดได้ง่ายขึ้น

ทำไมผมถึงว่าแบบนั้น ก็ลองดูคลิปทั้งสองให้จบครับ ได้สาระความรู้และพัฒนาสมองคนดูจริง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก