วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เอาผิดทางกฎหมายกรรมการ มส. ทั้ง 12 รูปขัดพระลิขิต
กรรมการมหาเถรสมาคม 12 รูป (จากจำนวนทั้งหมด 20 รูป) ได้มีมติวินิจฉัยว่า ธัมมชโยไม่ปาราชิกนั้น ก็เป็นกรรมการจากมหานิกายทั้งหมด 10 รูป และธรรมยุติกนิกายอีก 2 รูป ซึ่งทุกรูปล้วนเป็นกรรมการโครงการอุปสมบทหมู่ของวัดพระธรรมกายทั้งสิ้น
ขอบคุณคุณน้อยน้อย เอื้อเฟื้อข้อมูล
คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!
เชื่อไหม พระที่มาเป็นกรรมการอุปสมบทหมู่ให้วัดธรรมกาย ย่อมได้จตุปัจจัยรวมทั้งทรัพย์สินต่าง ๆ จากวัดธรรมกายมากมายทั้งสิ้น ?
ซึ่งพระที่เป็นกรรมการ มส. ทั้ง 12 รูปนี้ได้กระทำขัดพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช ที่ทรงวินิจฉัยไปแล้วว่า ธัมมชโยอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๆ ที่พระลิขิตฉบับนี้ก็ได้รับการรับรองจากมติของมหาเถรสมาคมครั้งที่ 16/2542 ว่าชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม ซึ่งได้มีมติว่าจะส่งเรื่องนี้ให้ฝ่ายสังฆการดำเนินการตามติมหาเถรสมาคมต่อไป
เอกสารมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 16/2542
ขอบคุณรูปจากเฟสอัญชลี ไพรีรัก
และเมื่อวันที่พระพุทธะอิสระเดินทางไปสอบถามเรื่องมติเถรสมาคมที่ให้ธัมมชโยไม่ปาราชิกที่วัดปากน้ำ ก็ได้มีพระพรหมโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการ มส. ได้ออกมาตอบคำถาม
หลังจากพระพุทธะอิสระได้พูดคุยกับพระพรหมโมลี เสร็จแล้วได้ให้สัมภาษณ์ว่า "กรรมการ มส. ท่านไม่สามารถตอบคำถามทั้งหมดได้ เพียงแค่ชี้เรื่องพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงใช้คำว่า “ถ้า” ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นการกล่าวหาเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย"
ซึ่งถ้าเราดูพระลิขิตฉบับที่ระบุว่า ธัมมชโยปาราชิก ก็ไม่เห็นมีการใช้คำว่า ถ้า ในพระลิขิตเลย พระองค์ทรงวินิจฉัยอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่า ปาราชิก!!
ก็เลยไม่แน่ใจว่า ที่พระพรหมโมลีอ้างว่า พระลิขิตได้ใช้คำว่า ถ้า เป็นพระลิขิตฉบับไหน ?!
ขอบคุณรูปจากเฟสอัญชลี ไพรีรัก
ที่มารายละเอียดของพระลิขิตฉบับนี้ไปอ่านข่าวประกอบในบทความนี้ คลิกอ่าน
พระลิขิต เปรียบเสมือนพระบรมราชโองการ
ในทางสงฆ์ ได้กำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประมุขฝ่ายสงฆ์ ดังนั้น พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชก็เปรียบเสมือนพระบรมราชโองการของประมุขฝ่ายสงฆ์
อีกทั้งมหาเถรสมาคมในปี 2542 ก็ได้รับรองพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชไปแล้ว ว่าจะปฏิบัติตาม ก็เท่ากับได้ให้สัจจะว่าจะสนองพระบรมราชโองการประมุขสงฆ์ในขณะนั้นไปแล้ว
แต่อยู่ดี ๆ ผู้ทำหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช มาประชุมใหม่แล้วลงมติใหม่ว่าจะไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ก็เท่ากับว่า ฝ่าฝืนคำสั่ง ขัดพระลิขิต หรือเทียบเท่ากับขัดพระบรมราชโองการนั่นเอง
อย่าลืมว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช (แม้แต่คำราชาศัพท์ก็ยังไม่สามารถใช้ได้) ท่านแค่มาทำหน้าที่แทนเท่านั้น จะมาใหญ่โตกว่าพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชได้อย่างไร
อีกทั้งการคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสและสถานพระให้ธัมมชโยในปี 2549 ตลอดจนทำเรื่องขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้ธัมมชโยในปี 2554 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีก ก็เท่ากับว่าคณะกรรมการมหาเถรสมาคมชุดที่เคยเกี่ยวข้องกับทั้งสองเรื่องนี้ ได้กระทำการหลอกลวงเบื้องสูง จากเหตุเลื่อนสมณศักดิ์ให้สมีปาราชิก
ถามว่า การหลอกลวงเบื้องสูงหรือโกหกเบื้องสูงนั้นเท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ ?
ถ้าหากการหลอกลวงเบื้องสูง หรือการโกหกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เท่ากับว่ามีความผิดอาญามาตรา 112 เช่นกัน
ย้ำอีกครั้งนะครับว่า ประมุขของสงฆ์หรือสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงวินิจฉัยแล้วว่า ธัมมชโยอาบัติปาราชิกไปแล้ว ซึ่งมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 16/2542 ก็ได้รับรองแล้วว่า พระลิขิตนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม
ดังนั้นมติของกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 12 รูปในปี 2558 นี้จึงย่อมขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อพระธรรมวินัย และขัดต่อกฎมหาเถรสมาคม
แล้วในยุคนี้จะเอาผิดกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 12 รูปอย่างไรได้บ้าง ?
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 ระบุให้ผู้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ดังนั้น ความผิดของกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 12 รูปจึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ. มาตรา 157 มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี ครับ
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
----------------------
มติ กรรมการ มส. 12 รูป ใช่มติมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ
ล่าสุดได้ทราบมาว่า มติของกรรมการ มส. 12 รูปคราวนี้ ไม่ใช่มติมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ เพราะไม่มีออกเอกสารมติว่าครั้งที่เท่าไหร่ ทับ พ.ศ.อะไร
ยังเป็นเพียงแค่ความเห็นของกรรมการ มส. เพื่ออธิบายว่า ธัมมชโยไม่ผิด ไม่ปาราชิก เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อไม่ใช่มติมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ ก็ย่อมหักล้างมติเดิมของมหาเถรสมาคมครั้งที่ 16/2542 ไม่ได้
แต่พฤติกรรมของกรรมการ มส.ทั้ง 12 รูป ก็ถือว่ามีเจตนาปฏิบัติหน้าที่โดนมิชอบ มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 ฐานพยายามขัดพระลิขิต
ถามว่า มติมหาเถรสมาคมปี 2542 ที่มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช เป็นประธานมหาเถรสมาคม กับ ความกรรมการ มส. 12 รูปอย่างไม่เป็นทางการ ที่มีแค่ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
มติไหน คือ กฎหมาย ? และมติไหนสำคัญกว่า ?
คลิกอ่าน สมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ไม่สมควรเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พระมหาพงศ์นรินทร์ พูดถึงคำสอนที่บิดเบือนของวัดธรรมกาย
พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส เลขานุการเครือข่ายพุทธชยันตี-สังฆะเพื่อสังคม ได้พูดถึงการบิดเบือนคำสอนของวัดธรรมกาย ในงานเสวนาเรื่อง "กึ่งพุทธกาลกับมารศาสนา" เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า
"ความอ่อนของชาวพุทธเราคือ ไม่เข้าใจว่าพุทธเถรวาทของเรามีเอกลักษณ์อย่างไร ซึ่งเราต้องอ้างอิงว่าของเดิมเป็นอย่างไร แล้วบิดเบือนไปอย่างไร บางคนไปเปลี่ยนหลักการของเดิมให้มาครอบคลุมการปฏิบัติของตน ซึ่งมันเป็นผลร้ายระยะยาวที่ทำให้แก่นเดิมแท้หายไป หลายคนเข้าใจคำว่าธรรมกายคือวัดธรรมกายไปแล้ว ธรรมกายเป็นคำเดิมในพระไตรปิฎกแปลว่า กองแห่งธรรม
แต่ธรรมกายเอาไปอธิบายความหมายใหม่ เป็นองค์นิมิตที่ไปปฏิบัติกรรมฐานกัน ความหมายมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง"
"แล้วอ้างว่า วิชาธรรมกายเป็นกรรมฐาน ที่เรียกว่าแต่งเป็นนิทานเลยว่า เคยเกิดขึ้นแล้วหายไป แล้วก็ค้นพบใหม่โดยหลวงพ่อสด แต่ศิษย์สายหลวงพ่อสดโดยตรงยืนยันว่า สิ่งที่ธรรมกายสอนอยู่มันไม่ใช่ เราไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเหมือนเขา เราไม่บอกว่าเหมือนหรือต่าง แต่สรุปว่าวิชชาธรรมกายเป็นศัพท์บัญญัติใหม่ วิชากรรมฐานแบบนี้มีหรือไม่ในพระไตรปิฎก ยืนยันว่าไม่มี" พระมหาพงศ์นรินทร์ กล่าวอธิบาย
พระมหาพงศ์นรินทร์ กล่าวต่อไปในเรื่องการปฏิบัติธรรมของธรรมกายว่า "เวลานั่งกรรมฐานให้มองลูกแก้วให้เห็นจนชินตา เพื่อเอามาเป็นอารมณ์สมาธิตอนต้น กรรมฐานแนวนี้มีก่อนพุทธศาสนาเกิด ต่างจากกรรมฐานสี่สิบกองซึ่งไม่มีตัวตน เมื่อการปฏิบัติเป็นเช่นไรผลก็เป็นเช่นนั้น
การเอาตัวตนเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่มาของการที่ธรรมกายเขาอธิบายว่านิพพานเป็นอัตตา หรือการใช้คำประโลมโลกจำพวก รวยโคตร ๆ นี่เป็นคำกระตุ้นกิเลสตลอดเวลา ทำไมเขาไม่รู้สึกอายที่จะเล่นกับความละโมบของตนเอง เราไม่ได้บอกว่าเขาถูกหรือผิด แต่ไม่ตรงตามหลักการเดิมของศาสนา"
ในส่วนประเด็นการเดินธุดงค์ธรรมชัยนั้น
พระมหาพงศ์นรินทร์กล่าวว่า "คนไทยเข้าใจว่าธุดงค์คือการเดิน ธุดงค์ไม่ใช่การเดิน ส่วนการเดินคือจาริก แทนที่เขาจะใช้โอกาสอธิบายบาลีให้ถูกต้อง กลับทำให้คนเข้าใจผิดซ้ำว่า ธุดงค์เป็นการเดิน เพราะเขาเข้าใจว่าคนอยากทำบุญกับพระธุดงค์ ก็เลยใช้คำนี้"
ส่วนการอ้างว่าโปรยดอกไม้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้น พระมหาพงศ์นรินทร์ระบุว่า "สมัยนั้นเขาโปรยขึ้นฟ้า แต่ที่นี่กลับมาโปรยให้เหยียบ"
ที่มา แนวหน้าออนไลน์
-----------------------
ประวัติ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
ในทางโลกก่อนที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์เคมีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปริญญาโทในสาขาเดิมที่สถาบันเดิม
ส่วนในทางธรรมนั้นท่านเป็นนักธรรมเอก จบเปรียญธรรม 6 ประโยค และยังเรียนจบปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต โครงการนานาชาติด้าน Buddhist Studies ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
------------------
ใหม่เมืองเอก สรุปท้ายบทความ
จากที่พระมหาพงศ์นิรนทร์ พูดนั้น มีประเด็นสำคัญคือ
1. กรรมฐานมโนนิมิตเป็นลูกแก้ว มีมาก่อนพุทธศาสนา จึงไม่ใช่ของพุทธศาสนา
2. ธรรมกาย ในพุทธศาสนาแปลว่า กองแห่งธรรม แต่วัดธรรมกายเอาไปเรียกกองนิมิต
3. วัดธรรมกายสอนสาวกว่า นิพพานเป็นอัตตา มีตัวตน หมายถึงเป็นสถานที่ ที่สวยงามดั่งแก้ว
แต่ความจริงที่ถูกต้อง นิพพาน เป็น อนัตตา
4. ธุดงค์ ไม่ใช่แค่การเดิน เพราะการเดินหมายถึง จาริก
ธุดงค์ (บาลี: ธุตงฺค, อังกฤษ: Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ !!
โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ
ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ
หรือที่เรียกว่า ธุดงควัตร 13
5. การโปรยดอกไม้สมัยพุทธกาลเขาโปรยขึ้นฟ้า ไม่ใช่โรยให้เดินเหยียบ แล้วก็โปรยต้อนรับกษัตริย์ก็ได้ ต้อนรับพราหมณ์ที่นับถือก็ได้
หรือในปัจจุบันอย่างในต่างประเทศก็โปรยกระดาษต้อนรับคนดัง คนสำคัญ ซึ่งมันเป็นเรื่องส่งเสริมกิเลสทั้งสิ้น
มีเพียงแต่อริยะสงฆ์เท่านั้นจึงจะไม่ลุ่มหลงติดใจกับการโปรยดอกไม้เช่นนั้น
แล้วที่เดินอวดเท่บนกลีบดอกดาวเรืองของวัดธรรมกายน่ะ ไปเกณฑ์เขมร พม่า มาบวชใหม่ทั้งนั้น
คลิกอ่าน หลักการทำบุญบริจาคเงินที่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชา สุภัทโท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)