วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เอาผิดทางกฎหมายกรรมการ มส. ทั้ง 12 รูปขัดพระลิขิต
กรรมการมหาเถรสมาคม 12 รูป (จากจำนวนทั้งหมด 20 รูป) ได้มีมติวินิจฉัยว่า ธัมมชโยไม่ปาราชิกนั้น ก็เป็นกรรมการจากมหานิกายทั้งหมด 10 รูป และธรรมยุติกนิกายอีก 2 รูป ซึ่งทุกรูปล้วนเป็นกรรมการโครงการอุปสมบทหมู่ของวัดพระธรรมกายทั้งสิ้น
ขอบคุณคุณน้อยน้อย เอื้อเฟื้อข้อมูล
คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!
เชื่อไหม พระที่มาเป็นกรรมการอุปสมบทหมู่ให้วัดธรรมกาย ย่อมได้จตุปัจจัยรวมทั้งทรัพย์สินต่าง ๆ จากวัดธรรมกายมากมายทั้งสิ้น ?
ซึ่งพระที่เป็นกรรมการ มส. ทั้ง 12 รูปนี้ได้กระทำขัดพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช ที่ทรงวินิจฉัยไปแล้วว่า ธัมมชโยอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๆ ที่พระลิขิตฉบับนี้ก็ได้รับการรับรองจากมติของมหาเถรสมาคมครั้งที่ 16/2542 ว่าชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม ซึ่งได้มีมติว่าจะส่งเรื่องนี้ให้ฝ่ายสังฆการดำเนินการตามติมหาเถรสมาคมต่อไป
เอกสารมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 16/2542
ขอบคุณรูปจากเฟสอัญชลี ไพรีรัก
และเมื่อวันที่พระพุทธะอิสระเดินทางไปสอบถามเรื่องมติเถรสมาคมที่ให้ธัมมชโยไม่ปาราชิกที่วัดปากน้ำ ก็ได้มีพระพรหมโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการ มส. ได้ออกมาตอบคำถาม
หลังจากพระพุทธะอิสระได้พูดคุยกับพระพรหมโมลี เสร็จแล้วได้ให้สัมภาษณ์ว่า "กรรมการ มส. ท่านไม่สามารถตอบคำถามทั้งหมดได้ เพียงแค่ชี้เรื่องพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงใช้คำว่า “ถ้า” ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นการกล่าวหาเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย"
ซึ่งถ้าเราดูพระลิขิตฉบับที่ระบุว่า ธัมมชโยปาราชิก ก็ไม่เห็นมีการใช้คำว่า ถ้า ในพระลิขิตเลย พระองค์ทรงวินิจฉัยอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่า ปาราชิก!!
ก็เลยไม่แน่ใจว่า ที่พระพรหมโมลีอ้างว่า พระลิขิตได้ใช้คำว่า ถ้า เป็นพระลิขิตฉบับไหน ?!
ขอบคุณรูปจากเฟสอัญชลี ไพรีรัก
ที่มารายละเอียดของพระลิขิตฉบับนี้ไปอ่านข่าวประกอบในบทความนี้ คลิกอ่าน
พระลิขิต เปรียบเสมือนพระบรมราชโองการ
ในทางสงฆ์ ได้กำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประมุขฝ่ายสงฆ์ ดังนั้น พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชก็เปรียบเสมือนพระบรมราชโองการของประมุขฝ่ายสงฆ์
อีกทั้งมหาเถรสมาคมในปี 2542 ก็ได้รับรองพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชไปแล้ว ว่าจะปฏิบัติตาม ก็เท่ากับได้ให้สัจจะว่าจะสนองพระบรมราชโองการประมุขสงฆ์ในขณะนั้นไปแล้ว
แต่อยู่ดี ๆ ผู้ทำหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช มาประชุมใหม่แล้วลงมติใหม่ว่าจะไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ก็เท่ากับว่า ฝ่าฝืนคำสั่ง ขัดพระลิขิต หรือเทียบเท่ากับขัดพระบรมราชโองการนั่นเอง
อย่าลืมว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช (แม้แต่คำราชาศัพท์ก็ยังไม่สามารถใช้ได้) ท่านแค่มาทำหน้าที่แทนเท่านั้น จะมาใหญ่โตกว่าพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชได้อย่างไร
อีกทั้งการคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสและสถานพระให้ธัมมชโยในปี 2549 ตลอดจนทำเรื่องขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้ธัมมชโยในปี 2554 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีก ก็เท่ากับว่าคณะกรรมการมหาเถรสมาคมชุดที่เคยเกี่ยวข้องกับทั้งสองเรื่องนี้ ได้กระทำการหลอกลวงเบื้องสูง จากเหตุเลื่อนสมณศักดิ์ให้สมีปาราชิก
ถามว่า การหลอกลวงเบื้องสูงหรือโกหกเบื้องสูงนั้นเท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ ?
ถ้าหากการหลอกลวงเบื้องสูง หรือการโกหกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เท่ากับว่ามีความผิดอาญามาตรา 112 เช่นกัน
ย้ำอีกครั้งนะครับว่า ประมุขของสงฆ์หรือสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงวินิจฉัยแล้วว่า ธัมมชโยอาบัติปาราชิกไปแล้ว ซึ่งมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 16/2542 ก็ได้รับรองแล้วว่า พระลิขิตนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม
ดังนั้นมติของกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 12 รูปในปี 2558 นี้จึงย่อมขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อพระธรรมวินัย และขัดต่อกฎมหาเถรสมาคม
แล้วในยุคนี้จะเอาผิดกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 12 รูปอย่างไรได้บ้าง ?
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 ระบุให้ผู้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ดังนั้น ความผิดของกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 12 รูปจึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ. มาตรา 157 มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี ครับ
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
----------------------
มติ กรรมการ มส. 12 รูป ใช่มติมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ
ล่าสุดได้ทราบมาว่า มติของกรรมการ มส. 12 รูปคราวนี้ ไม่ใช่มติมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ เพราะไม่มีออกเอกสารมติว่าครั้งที่เท่าไหร่ ทับ พ.ศ.อะไร
ยังเป็นเพียงแค่ความเห็นของกรรมการ มส. เพื่ออธิบายว่า ธัมมชโยไม่ผิด ไม่ปาราชิก เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อไม่ใช่มติมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ ก็ย่อมหักล้างมติเดิมของมหาเถรสมาคมครั้งที่ 16/2542 ไม่ได้
แต่พฤติกรรมของกรรมการ มส.ทั้ง 12 รูป ก็ถือว่ามีเจตนาปฏิบัติหน้าที่โดนมิชอบ มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 ฐานพยายามขัดพระลิขิต
ถามว่า มติมหาเถรสมาคมปี 2542 ที่มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช เป็นประธานมหาเถรสมาคม กับ ความกรรมการ มส. 12 รูปอย่างไม่เป็นทางการ ที่มีแค่ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
มติไหน คือ กฎหมาย ? และมติไหนสำคัญกว่า ?
คลิกอ่าน สมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ไม่สมควรเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แล้วผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระลิขิต แต่ไม่ยอมทำอะไร น่าจะเอาผิดด้วย
ตอบลบกฎแห่งกรรมจะตามเก็บเองถูกผิดอญุ่ที่ใจคนทำ รู้เอง ทำเอง รับผลกรรมเอง น้ำลดเมื่อไหร่ต่อจะโผล่ ความดี-ชั่วเหมือนกัน ถึงเวลากรรมตามทันเอง ตะถะตา
ตอบลบ