วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

เอาชนะกัมพูชาในคดีเขาพระวิหาร ด้วยกฎหมายปิดปากคืน







หลังจากศาลโลกได้ตัดสินคดีเขาพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 ไปแล้ว ทางรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ได้ตีความว่า ศาลโลกตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้นที่ต้องตกไปเป็นของกัมพูชา

หลังจากนั้น รัฐบาลไทยก็ได้มีมติ ครม. วันที่10 ก.ค.2505 ให้ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทเขาพระวิหารเอาไว้ ตรงช่องบันไดหัก (ช่องบันได้หักอยู่ภายในบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร) ลากเส้นประชิดตรงผ่านบันไดนาค ตรงไปจนถึงไปจนถึงตัวปราสาทพระวิหาร แล้วลากเส้นตรงขนานกับตัวปราสาทพระวิหาร ไปสุดที่หน้าผาชันด้านหลังปราสาทพระวิหาร จนเป็นเนื้อที่ปราสาทประมาณ1/4ตร.กม.

ซึ่งภายหลังจากที่ไทยได้ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทแล้ว พ.อ.ถนัด คอมันต์ รมว.ต่างประเทศในขณะนั้นก็ได้ทำหนังสือแจ้ง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น ถึงการปฏิบัติของฝ่ายไทย รวมทั้งการล้อมรั้ว ซึ่งกัมพูชารับทราบมาโดยตลอดแต่ไม่มีการโต้แย้งใดๆ

การรับรู้แต่ไม่โต้แย้ง เข้าข่ายหลักกฎหมายปิดปาก ซึ่งตีความว่าไม่โต้แย้งในขณะที่มีความสามารถจะทำได้เท่ากับยอมรับ

รูป1 รั้วลวดหนามที่ไทยล้อมไว้ตรงบันไดนาค



รูป 2 ให้สังเกตแนวเส้นประสีเหลือง คือแนวรั้วลวดหนามตามมติครม.2505



ซึ่งหลังจากไทยได้ล้อมรัั้วรอบตัวปราสาทพระวิหารแล้ว ทางการกัมพูชาก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด เป็นเวลานานกว่า 40 ปี จนกระทั่งเกิดการเซ็น MOU43 และหลังจากนั้น กัมพูชาได้แอบรื้อรั้วทิ้งไป เพราะทหารไทยถอนกำลังออกมาในสมัยรัฐบาลทักษิณ

ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้จาก พลโทกนก เนตระคะเวสนะ อดีตผบ.กองกำลังสุรนารี ดำรงตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ.2550-2552

 พลโทกนก เนตระคะเวสนะ

ได้ระบุว่า

31 ก.ค.2544 (สมัยรัฐบาลทักษิณ) ฉก.กรม ทพ.๒๓ ได้เสนอให้ กกล.สุรนารี ใช้วิธีเด็ดขาดในการแก้ปัญหา เพราะฝ่ายกัมพูชาไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ได้แก่

- มาตรการที่กำหนดโดย กอ.ร่วม ไทย-กัมพูชา ไม่มีการดำเนินการ

- กรณีการสร้างวัด

- เกิดกลุ่มมิจฉาชีพและมีความไม่ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

- การเพิ่มจำนวนชาวกัมพูชาในชุมชน และเกิดปัญหามลภาวะน้ำเน่าเสีย

- เจ้าหน้าที่กัมพูชามีหลายกลุ่มในการหาผลประโยชน์ไม่สามารถควบคุมได้

- กัมพูชาไม่พอใจในการก่อสร้างศาลาไทยบริเวณสุดถนนลาดยาง


5 พ.ย.2544 (สมัยรัฐบาลทักษิณ) ได้มีการประชุมหารือกรณีร้านค้าตลาดของกัมพูชาทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย โดยฝ่ายกัมพูชาได้แก้ไขปัญหาด้วยการสร้างทำนบกั้นชั่วคราว

17 ธ.ค.2544 (สมัยรัฐบาลทักษิณ)  ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ได้อนุมัติให้ทำการปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งถอนกำลังฝ่ายไทยออก ส่วนคนไทยที่ค้าขายบริเวณทางขึ้นก็ออกจากพื้นที่ด้วย

ทำให้ช่วงที่เขาพระวิหารถูกปิด ฝ่ายกัมพูชาได้มีมาตรการสนับสนุนให้ประชาชนกัมพูชาสามารถ อยู่บนเขาพระวิหารให้ได้ มีการแจกสิ่งของและให้ค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์กับประชาชนว่าหากย้ายชุมชนแล้วจะทำให้เสียดินแดน เมื่อมีการปิดเขาพระวิหารแต่ละครั้งฝ่ายกัมพูชาจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นของฝ่ายไทยและขยายพื้นที่ตลาดชุมชน สร้างอาคารที่พักขึ้นมา

-------------------------

หากไทยได้นำประเด็นที่ฝ่ายกัมพูชายอมรับการล้อมรั้วรอบตัวปราสาทพระวิหารตั้งแต่พ.ศ.2505 โดยไม่โต้แย้งมากว่า 40ปี มาเป็นประเด็นต่อสู้ในศาลโลก ก็มีสิทธิที่จะชนะในประเด็นกฎหมายปิดปากต่อกัมพูชาในเรื่องนี้ได้เช่นกัน

เพราะไทยเคยโดนกฎหมายปิดปากจนแพ้คดีเขาพระวิหารครั้งแรกมาแล้ว ในประเด็นแผนที่ 1 ต่อ 2แสน ที่ศาลโลกตีความว่า ไทยเราไม่โต้แย้ง เมื่อไม่โต้แย้งแสดงว่าไม่ได้คัดค้าน ที่เรียกกันว่า กฎหมายปิดปาก

หากพ.ศ. 2556 นี้ ไทยเรานำประเด็นรั้ววตามมติครม. 2505 มาสู้บนศาลโลกได้ ก็เท่ากับกัมพูชาจะโดนเล่นงานจากกฎหมายปิดปากคืนเช่นกัน

แต่เนื่องด้วยศาลโลกไม่สิทธิตัดสินเรื่องเขตแดน จึงทำให้ศาลโลกตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ซึ่ง 1 ในเหตุผลที่ไทยแพ้คดีเขาพระวิหารอีกเหตุผลนึงคือ

รูปสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนเขาพระวิหารในช่วงที่ฝรั่งเศสยึดครอง คลิกดูรายละเอียดที่นี่ 


คลิปสมเด็จสีหนุ เสด็จเยือนปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505




คลิกอ่าน แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ของกัมพูชาต้องเป็นโมฆะ


---------------

ล่าสุดวันนี้ 15 เมษายน 2556 ฝ่ายเขมรแถลงในศาลโลกว่า ฝ่ายไทยตีความฝ่ายเดียว แล้วไปล้อมรั้วรอบปราสาท นั้นก็เท่ากับว่า เขมรยอมรับว่า ไทยเคยล้อมรั้วรอบปราสาทจริง ๆ
แล้วทำไมพวกขแมร์มึงไม่คัดค้านเสียตั้งแต่ตอนนั้นล่ะ ปล่อยยาวมา40 กว่าปี ฉะนั้นถ้าพวกมึงไม่คัดค้าน ก็เท่ากับพวกมึงยอมรับ ตามหลักกฎหมายปิดปากไง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก