วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประเทศเล็กๆอย่างกัมพูชาเอาตัวรอดมาได้อย่างไร?

.
.
บทความโดยนิธิ เอียวศรีวงศ์


ในฐานะประเทศเล็กๆ ซึ่งต้องถูกขนาบข้างด้วยอำนาจที่เหนือกว่าทั้งสองฝั่ง กัมพูชาจะเอาตัวรอดได้อย่างไร?

ผมคิดว่านี่คือปัญหาใหญ่ของชนชั้นนำกัมพูชามาหลายศตวรรษแล้ว ความวิตกกังวลนี้ไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่มาจากประสบการณ์จริงที่ผ่านมาในอดีตหลายร้อยปี แม้จนเมื่อไม่นานเกินความทรงจำนี้เอง ฝรั่งเศสบอกและคงจะสอดคล้องกับความคิดของเขมรด้วยว่า หากไม่มีฝรั่งเศส กัมพูชาคงถูกทั้งไทยและเวียดนามกลืนหายไปจากแผนที่โลกแล้ว

ฉะนั้น ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญในกัมพูชา ไม่ว่าผู้นำจะเป็นใคร ก็ต้องรวมเอาการรักษากัมพูชาที่เหลืออยู่นิดเดียวนี้ให้รอดในฐานะประเทศเอกราชตลอดไป

หนทางหนึ่งที่ผู้นำกัมพูชาใช้ตลอดมา (ตั้งแต่ก่อนตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส) ก็คืออาศัยเงื่อนไขในสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในวงแคบๆ เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในวงกว้างระดับโลกก็ตาม แต่สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างกัมพูชาสามารถเอาตัวรอดจากไทยและเวียดนามได้

ในระหว่างสงครามเย็น เจ้าสีหนุ (เมื่อทรงออกจากพระราชอิสริยยศกษัตริย์เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) ทรงเลือกที่จะสังกัดฝ่ายที่ "เป็นกลาง" เพราะรู้ว่ากัมพูชาไร้ความสำคัญทางเศรษฐกิจหรือยุทธศาสตร์เสียจนกระทั่งสหรัฐคงปล่อยให้กัมพูชาเป็นกลางได้ต่อไป

ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ความเป็นกลางนี้เป็นอำนาจต่อรองกับไทย รวมทั้งนำเรื่องปราสาทพระวิหารขึ้นศาลโลก สิ่งที่กัมพูชาได้มาจากชัยชนะในครั้งนั้น ไม่ใช่แค่ตัวปราสาทพระวิหาร

แต่คือการรับรองเส้นเขตแดนที่ไทยทำไว้กับฝรั่งเศส อันเป็นสิ่งที่กัมพูชาสามารถใช้เป็นกุญแจสำหรับไขล็อคอันเป็นข้อพิพาททางพรมแดนกับไทยได้อีกหลายจุดในอนาคต... (มีต่อ)


กรุณาอ่านรายละเอียดที่เหลือต่อที่ มติชนออนไลน์
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก