.
.
เส้นทาง "ทักษิณ" ซุกเงินนอกประเทศผ่านกองทุนลับ "ซิเนตรา ทรัสต์" ถึงบ.คู่แฝด "วินมาร์ค-แอมเพิลริชฯ"?หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โอนหุ้นบริษัทต่างๆ ให้แก่บุตรและพี่น้องเมื่อกลางปี 2543
หลังจากที่ต้องตกจากเก้าอี้หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รายการบัญชีทรัพย์สินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นต่อ ป.ป.ช.กรณีพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 557,363,123 บาท และหลังจากพ้นตำแหน่งครบ 1 ปี(เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2550) ระบุว่า มีทรัพย์สิน 614,393,259 บาท
ล่าสุด ในการให้สัมภาษณ์ "ไทม์ส ออนไลน์" เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน2552 พ.ต.ท.ทักษิณ ยอมรับ (หลังจากถูกถามย้ำหลายครั้ง)ว่า มีเงินอยู่ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ (ประมาณหมื่นล้านบาท) แต่ใช้ไปแล้ว 200 ล้านดอลลาร์ในเรื่องต่างๆ เช่น การซื้อบ้าน
คำถามคือ พ.ต.ท.ทักษิณเอาเงินและทรัพย์สินเหล่านี้มาจากไหน? เพราะรายการบัญชีทรัพย์สินที่แสดงต่อ ป.ป.ช.มีเพียง 500-600 ล้านบาท
ส่วนทรัพย์สินของครอบครัวเกือบ 70,000 ล้านบาทซึ่งได้จากการขายหุ้นบริษัทชิน คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ปให้แก่ บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ถูกอายัดไว้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คดี พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติและได้ทรัพย์ดังกล่าวมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี)
ส่วนบริษัท วินมาร์ค ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร โอนหุ้น กลุ่มบริษัทเอสซี แอสเสท 6 บริษัท มูลค่า 1,527 ล้านบาทให้ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2543 นั้น พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมรับว่า เป็นของตนเอง
"ข้าพเจ้าและคู่สมรส ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการบริษัท วินมาร์คและข้าพเจ้ามิได้เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทชินอคร์ป นอกเหนือไปจากที่โอนให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ฯและญาติพี่น้องคนอื่น..และกรณีบริษัท วินมาร์คฯมีหุ้นบริษัทชินคอร์ปอยู่จริงก็เป็นเรื่องของบริษัท วินมาร์ค เพราะหุ้นบริษัทชินคอร์ป(54ล้านหุ้น) เป็นบริษัทมหาชนที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์" (คำให้ของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ยื่นต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)
แต่แล้วจู่ๆ บริษัท วินมาร์คซึ่งถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสทฯ จำนวน 61,165,144 หุ้น (เกือบ 20% ของทุนจดทะเบียน) มานานกว่า 3 ปี ก็โอนหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่ แวลู แอสเสทส์ ฟันด์ (VAF) ตั้งอยู่บนเกาะลาบวน ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 ก่อนนำบริษัทเอสซี แอสเสทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพียง 2 สัปดาห์ ทั้งๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณเคยให้สัมภาษณ์ว่า บริษัท วินมาร์ค มาซื้อหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสท เพื่อผลประโยชน์จากการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น
ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2546 (จดทะเบียนในตลาดหุ้นวันที่ 5 กันยายน) VAF โอนหุ้นเอสซี แอสเสทต่อให้แก่ กองทุนโอเวอร์ซี โกรว์ธ ฟันด์ อินซ์ (OGF) และกองทุน ออฟชอร์ ไดนามิค ฟันด์ อินซ์ (ODF) ซึ่งตั้งบนเกาะลาบวนเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกัน VAF ได้สละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท เอสซี แอสเสทฯ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 ให้แก่ น.ส.พิณทองทาและ แพทองธาร บุตรสาว 2 คนของพ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้ VAF เสียประโยชน์ถึง71 ล้านบาท
นอกจากนั้น มีการตรวจสอบพบว่า ที่อยู่ของบริษัทวินมาร์ค และแอมเพิลริชมีสถานที่ตั้งอยู่ที่เดียวกัน คือ ตู้ ป.ณ.3151 โรด ทาวน์ ทอร์โตลา เกาะบริติช เวอร์จิ้น (P.O.BOX 3151, Road Town, Tortola, British Virgin Island )
โดยนายสุวรรณ วลัยเสถียร ที่ปรึกษาด้านภาษีของครอบครัวชินวัตร ขณะนั้น ยอมรับว่า บริษัท แมธีสัน ทรัสต์ (Matheson Trust Company (BVI) ได้รับการว่าจ้างให้จัดตั้งบริษัท แอมเพิลริชฯ
หนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานจัดตั้งกองทุนลับ "ซิเนตรา ทรัสต์" ขึ้น จากนั้นให้กองทุนดังกล่าวเข้าไปถือหุ้นบริษัท บลูไดมอนด์ จำกัด 100% และบริษัท บลูไดมอนด์ ถือหุ้นในบริษัท วินมาร์ค 100% โดย พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานได้ว่าจ้าง บริษัท แมธีสัน ทรัสต์ บนเกาะฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่ว่าจ้างให้จัดตั้งบริษัท แอมเพิลริชฯ ดำเนินการจัดตั้งบริษัททั้งสามและในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งต้องฟังคำสั่งจากผู้ว่าจ้าง
หก บริษัทวินมาร์ค ถือหุ้นชินคอร์ปตั้งแต่ปี 2544 อยู่ 54 ล้านหุ้น (1.8%) โดยเปิดบัญชีที่ธนาคารยูบีเอส สิงคโปร์ซึ่งมีเลขบัญชีเดียวกับบริษัท แอมเพิลริชฯที่มีหุ้นชินคอร์ปอยู่ 329.2 ล้านหุ้น (เป็นหลักฐานจาก คตส.)
หลักฐานดังกล่าวทั้งหมด บ่งชี้ว่า
นอกจากจะขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการโกหกต่อประชาชนมาตลอด?
เงินที่ใช้ซื้อหุ้น 6 บริษัทมูลค่า 1,527 ล้านบาท เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง? แต่เงินส่วนใหญ่ที่ยังซุกซ่อนอยู่และได้จากธุรกรรมใดยังคงเป็นปริศนาอยู่
ทั้งหมดนี้จึงอาจเป็น "จุดตาย" ของพ.ต.ท.ทักษิณในคดียึดทรัพย์ 76,600 ล้านบาท
ขอบคุณครับ
ตอบลบ