วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

เดลินิวส์สงสัยอัยการสูงสุดแกล้งโง่ ที่ไม่ฟ้องยิ่งลักษณ์คดีจำนำข้าว






บทความจากเดลินิวส์


นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด

กลายเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างสนุกปากในสังคมไทย ต่อกรณีที่นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด (อสส.) ตีกลับสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยยังไม่ฟ้องคดีอาญาต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ทั้งที่ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ในการชี้มูลความผิดต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เรื่องละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพ.ร.บ.




ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา123/1 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจโดยมิชอบ จากกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท

ข้อโต้แย้งของ “อสส.” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ทนายแผ่นดิน” ต่อกรณีนี้มี 3 สาระสำคัญคือ

1.โครงการจำนำข้าวเป็นโครงการที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ดังนั้น “ป.ป.ช.” ต้องรวบรวมพยาน หลักฐานให้ชัดว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการที่จะยับยั้งโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาหรือไม่

(akecity - ขอแทรกแย้งว่า อสส. นี่โง่นะ ถ้านายกรัฐมนตรีอย่างยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของรัฐบาล ไม่มีอำนาจยับยั้งนโยบายของรัฐบาลเองได้ แล้วหมาที่ไหนจะมีอำนาจ)


2.ควรทำการไต่สวนว่า นายกรัฐมนตรีมีการดำเนินการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตหรือไม่ อย่างไร ผลการตรวจสอบเป็นอย่างไร หลังได้รับการท้วงติงจาก ป.ป.ช.และสตง. (สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน)


3 .ต้องระบุว่ามีการทุจริตในขั้นตอนไหน การอ้างถึงรายงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่ามีความเสียหายจำนวนมาก แต่มีเพียงหน้าปกต้องรวบรวมรายงานทั้งฉบับมาประกอบให้สมบูรณ์


ข้อโต้แย้งจาก “ทนายแผ่นดิน” ที่ใช้ภาษาทางกฎหมาย กลับถูกโลกสังคมตั้งประเด็นคำถามกลับในภาษาชาวบ้านที่ว่า... กรณี “โกงจำนำข้าว” รู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองว่า “มีจริง ๆ” ไม่ว่าจะเป็นการโกงความชื้น โกงตาชั่ง เวียนเทียนข้าว ข้าวหาย สต๊อกลม มีนายหน้าค้าข้าวที่เป็นนอมินีของนักการเมือง ฯลฯ

อีกทั้งมีหลายหน่วยงานออกมาทักท้วง อาทิ “ป.ป.ช.” เคยมีหนังสือท้วงติงถึง 2 ครั้ง 

ส่วน “สตง.” มีหนังสือทักท้วงเช่นกันถึง 3 ครั้ง ขณะที่ “ทีดีอาร์ไอ” ก็ยังออกมารายงานว่ามีการทุจริต

แม้แต่ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมว่าเป็น “มือปราบโกง” เมื่อครั้งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง และนั่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว ยังออกมาเปิดเผยชัด ๆ ว่า การปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเมื่อ 31 ธ.ค. 2555 นั้น พบว่ามีข้าวสารหายไปถึง 1 ล้านตัน

แต่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้สนใจเสียงทักท้วงของใคร และยังคงเดินหน้าโครงการดังกล่าวต่อ ท้ายสุด “ชาวนา” ที่เป็น “ฐานเสียง” สำคัญของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็อดรนทนไม่ได้ ต่างดาหน้าออกมา “แฉ” ถึงความไม่ชอบมาพากลในโครงการนี้ โดยเฉพาะเรื่อง “เงินไม่ถึงชาวนา” จนสร้างความสั่นสะเทือนให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์มาแล้ว

เมื่อ “อสส.” เห็นว่า ยังไม่สั่งฟ้องคดีทุจริตจำนำข้าว โดยพุ่งเป้าไปว่า สำนวนของ ป.ป.ช.ยังไม่สมบูรณ์ และจะตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง อัยการกับ ป.ป.ช. ภายใน 14 วันเพื่อจัดทำสำนวนใหม่ รวมถึงการหาพยานหลักฐานต่าง ๆ เพิ่มเติม ท่ามกลางความงุนงงของสังคมว่า เกิดอะไรขึ้น !??

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. ยังออกโรงข้องใจถึงกรณีมีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยของทีดีอาร์ไอเลยว่า

“ถ้า อสส.ตั้งประเด็นมาอย่างนี้ คณะทำงานร่วมฯ ก็ต้องไปดูว่า มีรายงานวิจัยฉบับนี้อยู่หรือไม่ ในเมื่อตั้งข้อไม่สมบูรณ์มาก็ต้องไปดูให้ละเอียดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ที่สำคัญคือ เมื่อคณะทำงานร่วมดูรายละเอียดของหลักฐานในสำนวนแล้ว จะส่งฟ้องหรือไม่ แต่ผมเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่ ป.ป.ช.จะส่งหลักฐานสำคัญไปเพียงหน้าปก โดยไม่ได้แนบรายละเอียด เป็นไปได้หรือไม่ว่า สำนวนมีจำนวนมาก อาจจะไม่เห็นก็ได้”

เลขาธิการ ป.ป.ช. ยืนยันหนักแน่นว่า พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ถูกตั้งแง่นี้มีอยู่ในสำนวนแล้วแต่ถูกมองข้าม หรือ อสส. ไม่ได้อ่านหรือไม่

แหล่งข่าวใน ป.ป.ช.อีกรายหนึ่ง ได้ตั้งข้อสงสัยเพิ่มเติมว่า  “การที่อสส.มีความเห็นให้ตั้งคณะทำงานร่วมนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย แต่ที่ไม่เข้าใจคือ การที่อสส.สรุปมา 3 ประเด็นนั้น ต้องการสิ่งใดกันแน่ ในเมื่อ ป.ป.ช. ส่งสำนวนหลักฐาน เอกสารทั้งหมดไปให้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวกับการปิดบัญชีที่ได้มาจาก น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ในฐานะประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว รวมทั้งรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของทีดีอาร์ไอ และสำนวนไต่สวนพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หากตั้งคณะทำงานร่วม อสส. กับ ป.ป.ช.แล้ว อสส. ยังยืนยันในความเห็นของคดี ทาง ป.ป.ช.จะดำเนินการฟ้องร้องเอง

ซึ่งกรณีนี้สอดรับกับข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งข่าวในสภาทนายความ ที่ตั้งวงถกเถียงกันอย่างไม่เป็นทางการในทันที เมื่อรับรู้ว่า อสส.ยังไม่สั่งฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ในคดีทุจริตจำนำข้าว โดย “ภาษาทนาย” รับรู้กันดีว่า การยื้อออกไปอีก 14 วัน ทั้งที่หลักฐานปรากฏชัดเจน ถึงการจะสั่งไม่ฟ้องหรือไม่ จึงมีการประสานเบื้องต้นไว้แล้วกับ ป.ป.ช.ว่า ถึงที่สุดแล้ว ป.ป.ช. ก็คงดำเนินการฟ้องร้องเอง โดยสภาทนายความจะช่วยในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

และจากการตรวจสอบพบปูมหลังเส้นทางเรื่องนี้ไม่ธรรมดา มีการเชื่อมสัมพันธ์กันมานาน เคยมีประวัติดันคีย์แมนตัวตัดสินในเรื่องนี้ให้ขึ้นเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง แถมยังมีสายสัมพันธ์เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย

“ตัวละคร” ที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ามี “นักการเมือง” เข้ามาเป็นผู้เดินเรื่อง ผ่านการกำหนดเป็นนโยบายของพรรคและนโยบายของรัฐบาล โดยมี “ข้าราชการ” เป็นผู้ให้ความร่วมมือในการนำไปปฏิบัติ แต่ผู้ที่รับภาระคือ “ประเทศชาติ” และ “ประชาชน”

คงต้องตามลุ้นกันต่อว่า การฟ้องร้องคดีทุจริตจำนำข้าวจะอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหรือไม่

และ...สุดท้าย “ใคร” จะทำหน้าที่ฟ้องร้องให้รัฐและประชาชนกันแน่...???

เพราะสังคมคาดหวังกับคดีนี้มากว่าจะสามารถเอาผิด “คนโกง” มาลงโทษได้หรือไม่.

เดลินิวส์

----------------

หมายเหตุ นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุดและหัวหน้าคณะทำงานคดีจำนำข้าว เคยผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 12 ในช่วงเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าร่วมการอบรมด้วย.."


เพื่อนเลิฟร่วมรุ่นคะ ปูยังจำไม่เคยลืมเลือนเพื่อนนะเค๊อะ เลิฟ ๆ จุ๊บ ๆ 


ผมว่า อัยการสูงสุด น่าจะถูกยุบตำแหน่งนี้ไปซะ เพราะไม่ได้ทำตัวเป็นทนายแผ่นดินให้สมกับหน้าที่เลย เพราะจิตสำนึกในการปกป้องผลประโยชน์ของแผ่นดินกลับต่ำทรามยิ่งนัก แถมอัยการสูงสุดยังได้ไปเป็นกรรมการบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง กินเงินเบี้ยประชุมแต่ละแห่งแพง ๆ ทั้งนั้น อย่างเช่น อัยการสูงสุดคนที่แล้วก็ไปเป็นกรรมการในบริษัท ปตท. ไปกินค่าประชุมแพง ๆ แต่กลับไม่เคยช่วยปกป้องผลประโยชน์ที่เป็นธรรมให้ประชาชนเลยด้วยซ้ำ

อย่างคดีจำนำข้าว ถ้าอัยการสูงสุดไม่สั่งฟ้อง ป.ป.ช. ก็สามารถฟ้องศาลเองได้โดยตรงอยู่แล้ว ก็ไม่รู้จะมีตำแหน่งอัยการต่ำสุดอัยกากสูงสุดไปทำไม เปลืองภาษีชาติที่ต้องมาจ่ายเงินเดือนแพง ๆ ให้อัยการอัยกากสูงสุดจริง ๆ ผมว่านะ...



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2557 เวลา 11:01

    เหตุผลของอัยการฟังไม่ขึ้น ข้อหาคือการละเว้น ไม่ใช่การทุจริต

    1. เป็นหน้าที่ของรัฐบาลแต่แรกที่จะต้องเสนอเฉพาะนโยบายที่ตนเองสามารถทำได้โดยไม่สร้างความเสียหายต่อชาติ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ยับยั้งนโยบายที่สร้างความเสียหายและรับผิดชอบทางการเมือง (ลาออกแล้วให้สภาเลือกใหม่)

    2. มีชาวนาที่ไม่ได้เงินค่าจำนำข้าวตั้งแต่ก่อนการยุบสภา แสดงว่าโครงการไปไม่รอดตั้งแต่ก่อนยุบสภา รัฐบาลควรจะต้องระงับโครงการ อย่างน้อยจนกว่าจะจ่ายหนี้ชาวนากลุ่มนั้นจนหมด แต่รัฐบาลดันทุรังทำโครงการต่อไปทำให้จำนวนชาวนาที่ไม่ได้เงินเพิ่มขึ้น

    แค่นี้พอแล้วที่จะนำคดีเข้าสู่กระบวนการในข้อหาละเว้น อัยการไม่ใช่ศาล อัยการควรแค่หาหลักฐานที่เป็นจริง และมีจำนวนมากพอสำหรับข้อหาเท่านั้น

    ตอบลบ

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก