วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ตัวการทำการบินไทยเจ๊งในทัศนะกัปตันโยธิน และนักวิชาการTDRI






คือพอดีผมได้อ่านความเห็นของอดีตผู้บริหารการบินไทยซึ่งเป็นอดีตกัปตันเก่าการบินไทยด้วย คือ กัปตันโยธิน ภมรมนตรี อดีตDD การบินไทย ได้ให้ทัศนะกรณีปัญหาขาดทุนหนักของการบินไทยเอาไว้


กัปตันโยธิน ภมรมนตรี อดีต DD การบินไทย ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดาของนายแซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี ซึ่งนายแซม คนนั้นเป็นขี้ข้าในระบอบทักษิณ ส่วนกัปตันโยธิน ต่อต้านระบอบทักษิณ


ซึ่งผมพอสรุปคร่าว ๆ ตามที่ กัปตันโยธินได้แสดงทัศนะไว้ก็คือ สมัยการบินไทยยังเป็นรัฐวิสาหกิจ 100 % ซึ่งสมัยนั้นยังมีกองทัพอากาศช่วยดูแลและบริหารการบินไทยอยู่ การบินไทยไม่เคยขาดทุน !!

กัปตันโยธืน ชี้ให้เห็นว่า เพราะนักการเมืองไทย แถมเป็นนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งนี่แหละ คือตัวการใหญ่ที่ทำให้การบินไทยต้องขาดทุนอย่างหนัก

ซึ่งผมขอขยายความนิดนึงคือ เมื่อก่อนผู้บัญชาการทหารอากาศจะได้ไปเป็นประธานกรรมการบริษัทการบินไทยมาโดยตลอด ช่วงก่อนการบินไทยแปรรูปเป็นบริษัทเอกชนกึ่งรัฐวิสาหกิจ

และเมื่อ 2 วันก่อนผมได้อ่านเจอความเห็นของพนักงานการบินไทยคนนึง เธอบอกว่า ปีที่แล้วยังได้โบนัส 1 เดือน (ทั้ง ๆ ที่ผลประกอบการบริษัทขาดทุน)


---------------------

กัปตันโยธิน วิเคราะห์ปัญหาการบินไทยตกต่ำ

จากคอลัมภ์ เขียนให้คิดในแนวหน้า ได้นำความเห็นของ กัปตันโยธิน ภมรมนตรี วิเคราะห์ปัญหาความตกต่ำของการบินไทยไว้ดังนี้

"ผมทำงานกับบริษัทการบินไทยตั้งแต่เริ่มเมื่อปี2503 จนถึงปี 2539 เป็นเวลา 36 ปี ได้รับโบนัสตั้งแต่ปี2508 จนกระทั่งเกษียณอายุงาน รวมเป็นเวลา 31 ปี เพราะบริษัทไม่เคยขาดทุนเลย ในช่วงเวลา 25 ปีแรกที่กองทัพอากาศเข้าไปช่วยดูแลอยู่ การบริหารองค์กรก็ราบรื่นดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ที่ประธานชึ่งเป็นแม่ทัพอากาศแต่งตั้งมาดีแทบทุกคน ยกเว้นอยู่เพียงหนึ่งคนเท่านั้น

การบินไทยเป็นสายการบินบริษัทแรกของโลกที่ใช้เครื่องยนต์ยี่ห้อเดียวกับเครื่องบิน Boeing 747, DC 10 และ Airbus

โดยใช้ Boeing 747 บินในเส้นทางไกลซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมาก
ส่วนแบบ DC 10 ใช้บินในเส้นทางไกลที่มีผู้โดยสารประมาณ 220 คน
สำหรับแบบ Airbus ใช้บินในเส้นทางภูมิภาค

เพราะใช้เครื่องยนต์ยี่ห้อเดียวจึงคุ้มทุนในการลงทุนสร้างศูนย์ซ่อมเครื่องยนต์ GE นอกจากซ่อมเครื่องยนต์ได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังให้บริการสายการบินอื่นได้อีกด้วย จึงให้ทำบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากส่วนนี้

แต่ครั้นเมื่อประเทศไทยได้รัฐบาลซึ่งอ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง สิ่งแรกที่นักการเมืองทำคือขอให้การบินไทยใช้เครื่องยนต์ของบริษัท แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่อมบำรุงคือ กัปตันชูศักดิ์ พาชัยยุทธ ไม่เห็นด้วย จึงศึกษาข้อดีข้อเสียเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งแล้วชี้แจงให้นักการเมืองรู้

ผลปรากฏว่า กัปตันชูศักดิ์โดนย้ายไปแขวน หลังจากนั้นประมาณปีเศษ ฝ่ายซ่อมบำรุงมีปัญหามากมายด้านคุณภาพจึงมีคำสั่งย้ายกลับมา

ต่อมา เมื่อมีรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งอีกใน 2 ปีต่อมา นักการเมืองบังคับให้บริษัทติดตั้งโทรศัพท์ในทุกที่นั่ง โดยระบบโทรศัพท์ดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองจาก FAA เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของการบิน กัปตันชูศักดิ์จึงไม่ยอมรับ เมื่อไม่ทำตามคำสั่งนักการเมือง กัปตันชูศักดิ์ก็โดนย้ายอีก แล้วเอาคนใหม่ไปแทน ส่วนคนใหม่มีความไม่พอใจเครื่องยนต์ที่ใช้อยู่เดิม จนเมื่อบริษัทสั่งซื้อเครื่องบิน Airbus แบบ A330 ก็จึงหันไปใช้เครื่องยนต์ โรลสรอยช์ (R.R.)

สรุปคือ การบินไทยที่เคยเป็นผู้นำในการใช้เครื่องยนต์ยี่ห้อเดียวกับเครื่องบินทุกแบบได้กลายไปเป็นผู้นำสายการบินเดียวของโลกที่ใช้เครื่องยนต์ถึง 3 ยี่ห้อในเครื่องบินแบบเดียวกันคือ A330

ประเด็นปัญหาเรื่องแบบของเครื่องบินและเครื่องยนต์ยังไม่จบ สายการบินนกแอร์ได้ศึกษาเปรียบเทียบเครื่องบินระหว่าง Boeing 737-800 กับ Airbus A320 ซึ่งมีที่นั่งใกล้เคียงกัน แล้วเสนอคณะกรรมการบริษัทซึ่งมีทั้งหมด 9 คน โดยใน 9 คนนั้น มี 5 คนไปจากการบินไทย ซึ่งการบินไทยได้ตำแหน่งประธานด้วย คณะกรรมการอนุมัติให้ชื้อ Boeing B737-800 โดยใช้เครื่องยนต์ CFM ตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ แต่เนื่องจากการบินไทยมี MOU กับ Tiger Air ในการตั้ง Low Cost Airline โดยจะเช่าเครื่อง Airbus แบบ A320-200 ใช้เครื่องยนต์ แบบ V2500 จาก Tiger Air แต่เมื่อไม่สามารถตั้งบริษัทดังกล่าวได้ จึงเปลี่ยนไปตั้งสายการบิน Thai Smile แล้วขออนุมัติคณะกรรมการซื้อเครื่องบินแบบ A320-200 โดยใช้เครื่องยนต์แบบ V2500

ผม (กัปตันโยธิน) เชื่อว่าคณะทำงานได้ศึกษาเพื่อจัดซื้อเครื่องบินสำหรับ Thai Smile คงต้องเปรียบเทียบคุณสมบัติแล้ว และคงเห็นว่า A320-200 ซึ่งใช้เครื่องยนต V2500 ดีกว่า B737-800 ซึ่งถ้าดูตามรูปแบบที่ปรากฏแล้ว นกแอร์หรือ Thai Smile น่าจะต้องมีข้อผิดผลาด ไม่รายใดก็รายหนึ่ง

แต่ที่น่าแปลกใจคือคณะกรรมการบริษัทซึ่งในฐานะที่การบินไทยมีหุ้นอยู่ทั้งสองบริษัท กลับไม่สงสัยเลยว่า เหตุใดต่างคนต่างซื้อแทนที่จะซื้อให้เหมือนกัน เพื่อจะได้ประหยัดค่าอะไหล่ ค่าการฝึก การให้ลดแบบเครื่องบินและเครื่องยนต์เป็นมติคณะกรรมการบริษัท และมติของคณะรัฐมนตรี

ในอดีต การบินไทยซื้อเครื่องบินมาแล้ว เมื่อถึงเวลาปลดประจำการก็ขายเครื่องไปโดยได้ราคาสูงกว่าราคาในบัญชี คือขายได้กำไรมาตลอด ยกเว้นเครื่องบินสองแบบเท่านั้นที่ซื้อในช่วงมีรัฐบาลซึ่งอ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง คือ BAE146 และ A340-500 เครื่องบินสองแบบนี้มีแต่คนโง่หรือคนโกงเท่านั้นที่ซื้อ

คณะกรรมการชุดก่อนๆ ไม่กล้าขายเครื่อง A340-500 สี่เครื่องซึ่งจอดทิ้งอยู่ที่ดอนเมือง ซึ่งต้องเสียทั้งค่าจอด ค่าบำรุงรักษา ค่าประกันภัย เพราะถ้าขายจะต้องขายในราคาต่ำมากจากราคาบัญชี จึงกลัวถูกสอบสวน ดังนั้นจึงไม่ยอมขาย คณะกรรมการชุดปัจจุบันควรจะขายไปโดยเร็ว เพราะจะช่วยการลดต้นทุนของบริษัทได้ในระยะยาว และถ้ามีการสอบสวนเรื่องนี้ให้กระจ่างก็น่าจะเป็นเรื่องดี

เมื่อ 3 ปีที่แล้วที่การบินไทยมีกำไร เท่าที่ทราบคือเป็นกำไรทางบัญชี คือการบินไทยกู้เงินเป็นดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ ก่อนปิดบัญชีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 34 บาท ในวันปิดบัญชี 1 ดอลลาร์เท่ากับ 31 บาท จึงได้กำไรดอลลาร์ละ 3 บาท เมื่อเป็นหนี้ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะได้กำไรทางบัญชี 15,000 ล้านบาท แต่บริษัทไม่มีเงินสด จึงต้องกู้ธนาคารเพื่อใช้จ่ายโบนัสให้พนักงาน รวมถึงจ่ายภาษีและจ่ายเงินปันผล

เมื่อตอนจะไปลงทุนกับ Tiger Air กรรมการให้เหตุผลว่า ไม่มีความสามารถในการบริหารสายการบินแบบ Low Cost อ้างว่าสายการบินใหญ่ เช่น British Airways , United Airline, Lufthansa, SAS เคยพยายามตั้งสายการบิน Low Cost มาแล้วแต่ไม่สำเร็จ

ครั้นเมื่อโครงการกับ Tiger Air ล้มไป จึงต้องตั้ง Thai Smile แล้วอ้างข้างๆ คูๆ ว่าเป็นสายการบินคุณภาพกลาง (Lower Premium Airline) ต้องให้บริการจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อความสะดวกในการต่อเครื่อง ตามที่บันทึกในการประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 24 เมษายน 2556 หน้า50/51 อ้างว่าบริษัทเป็นสายการบินแบบ Premium ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อผู้โดยสารมากกว่า และผู้โดยสารสามารถต่อเครือข่ายสายการบินได้สะดวก

แต่แล้วก็ย้าย Thai Smile ไปดอนเมือง ทั้งๆ ที่ Air Asia ใช้เครื่องบินมีที่นั่ง180 ที่ นกแอร์ใช้เครื่องบินแบบ 189 ที่นั่ง Thai Lion ใช้ 201 ที่นั่ง แต่ Thai Smile มีแค่ 160 ที่นั่ง แล้วจะไปสู้ราคากับสายการบินคู่แข่งได้อย่างไร ?

ส่วนปัญหาเรื่องจำนวน VP ก็น่าเป็นห่วงเพราะมีถึง 40 กว่าคน คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ตั้งแต่ผมเกษียณมาแล้ว18 ปี สรรหา DD มาแล้ว 5 คน แต่ไม่มีใครอยู่ครบสัญญาสักคน แสดงว่าการสรรหาใช้ไม่ได้ เพราะมีการตั้งธงมาแล้ว แต่สรรหาแค่เป็นพิธีเท่านั้น

พนักงานการบินไทยส่วนมากมีคุณภาพดี แต่ขณะนี้ขวัญและกำลังใจไม่ดี ผม (กัปตันโยธิน) เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องผ่าตัดการบินไทยโดยด่วน และต้องทำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ

ที่มา http://www.naewna.com/politic/columnist/14196

-----------------

ทีนี้มาลองดูคลิปจากรายการตอบโจทย์ ซึ่งได้สัมภาษณ์นักวิชาการจาก TDRI

โดยรายการได้เชิญ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย, ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ จากทีดีอาร์ไอ

ซึ่งเท่าที่ผมฟัง ดร.เดือนเด่น พูด ดร.เดือนเด่น ก็มีความเห็นตรงกับกัปตันโยธินอย่างนึง ก็คือ นักการเมือง คือตัวการใหญ่ของปัญหาการบินไทย

แต่ ดร.เดือนเด่น มีความเห็นว่า ควรแปรรูปการบินไทยเป็นบริษัทเอกชน 100 % (หรือให้รัฐถือสัดส่วนไม่เกิน49%)

สำหรับผมไม่ค่อยเห็นด้วย กับ ดร.เดือนเด่น ในประเด็นแปรรูปการบินไทยให้เป็นเอกชน 100 %

เพราะจากในคลิปรายการเอง ก็ได้มีการพูดถึง สิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งยังเป็นรัฐวิสาหกิจสิงคโปร์ 100 % แต่สิงคโปร์แอร์ไลน์ใช้การบริหารแบบเอกชน 100 % โดยที่นักการเมืองไม่ไปล้วงลูกการบริหาร จึงทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ ไม่ขาดทุน และมีกำไรมาโดยตลอด แม้ระยะหลังกำไรจะลดลงเพราะการแข่งขันสูงก็ตาม


ถ้าใครพอมีเวลาก็ลองดูคลิปนี้ครับ ฟังแล้วได้ประโยชน์และความรู้ดีพอสมควร




แต่ที่แน่ ๆ นักการเมืองไทย มันคือตัวปัญหาใหญ่ของชาติในทุกเรื่องจริง ๆ

คลิกอ่าน การบินไทยใกล้ล่มสลายเพราะใคร (สารจากสหภาพการบินไทย)

----------------

หรืออย่างกรณีมาเลเซียแอร์ไลน์ ที่แปรรูปไปเป็นกึ่งรัฐวิสาหกิจ ก็เจ๊ง จนรัฐบาลต้องกลับเข้ามาถือหุ้น 100 % เหมือนเดิม

แล้วถ้าเกิดการบินไทยแปรรูปไปเป็นเอกชนจริง ๆ (รัฐถือหุ้นน้อยกว่า 50%) ถามว่า เกิดเจ๊งแบบมาเลเซียแอร์ไลน์ล่ะ ??

ผมว่าสุดท้าย รัฐบาลไทยก็ต้องเข้าไปอุ้มอยู่ดี เท่ากับว่า ถ้าตอนบริษัทมีกำไรผู้ถือหุ้นก็เสวยสุขกันไป แต่ถ้าเกิดเจ๊ง รัฐบาลก็ต้องเอาภาษีชาติไปอุ้มใช่ไหม ลองตรองดู

ข่าวมาเลเซียแอร์ไลน์ คิดแปรรูปเป็นเอกชนมากขึ้น หลังขาดทุนหนัก 3 ปีติดต่อกัน 



คลิกอ่าน เมื่อ ศิธา ทิวารี ขออัพเกรดที่นั่งการบินไทยเป็นชั้นเฟิร์สคลาส






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก