วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความฉ้อฉลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับสารพิษตกค้างในข้าว







เฮ่อ.. แค่อ้างประชาธิปไตยบังหน้า ก็สามารถหลอกพวกสมองปูปัญญาตะกวดได้ทั้งแผ่นดินแล้ว

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตอนแรกพยายามบอกว่า ข้าวไทยไร้สารพิษตกค้าง แต่พอมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี นำผลตรวจสารพิษตกค้างในข้าวมาเปิดเผย

ก็ทำให้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและ อย. ก็ออกมายอมรับแบบไม่ค่อยเต็มใจว่า มีสารตกค้างในข้าวจริง ๆ แต่ก็พยายามบอกว่า ยังไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค

ต่อมา พอคนชักไม่เชื่อมั่นคำพูดของกระทรวงสาธารณสุข และ อย. รัฐบาลก็ออกมาขู่โดยผ่านหน่วยงานรัฐบาลและสื่อรับใช้รัฐบาล กดดันให้เปิดเผยชื่อห้องปฏิบัติการณ์ตรวจสอบเอกชน ที่มูลนิธิเพื่อผุ้บริโภคใช้ตรวจสอบ

ทั้งๆ ที่ตามหลักสื่อสารมวลชน สามารถปิดเป็นความลับได้ เพื่อปกป้องแหล่งข่าวจากอำนาจมืด (หากจะต้องบอกจริง ๆ ก็สามารถบอกได้ แต่ต้องบอกกันเป็นการภายในต่อหน้าศาลเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพห้องปฏิบัติการณเอกชน)

ส่วนฝ่ายรัฐบาลเองก็อ้างว่า ได้ตรวจสอบข้าวยี่ห้อที่ว่ามีสารตกค้างเกินมากถึง 94 ppm อีกครั้ง กลับพบว่า ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค แต่รัฐบาลกลับไม่ยอมเปิดเผยว่า สารที่ว่านั้นคือสารอะไร ?

ทางมูลนิธชีววิถีจึงเรียกร้องให้รัฐบาลและ อย. เปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบทั้งหมด ทั้งค่าตัวเลข และยี่ห้อที่นำไปตรวจ เพราะฝ่ายรัฐมักอ้างลอย ๆ ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขที่แท้จริงสู่สาธารณชน เพื่อความโปร่งใส

ต่อมา รมว.สาธารณสุข และไอ้นพเหล่ ขี้ข้าทักษิณ ก็ออกมาแนะนำว่า ให้ประชาชนซาวข้าวหลายหน สารตกค้างก็จะหมดไป !!

ซึ่งตอนนี้ นักวิชาการได้ออกมาตอบโต้แล้วว่า การซาวข้าวไม่สามารถล้างสารเคมีตกค้างได้หมด เพราะการรมสารหลายครั้งของโกดังข้าวรับจำนำของรัฐบาล สารเคมีมันได้ซึมลึกเข้าไปถึงระดับโมเลกุลแล้ว

เฮ่อ.. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ภายใต้การควบคุมของนักโทษชายทักษิณ นี่มันชั่วจริง ๆ

--------------------------------


จวกรัฐแนะ ปชช.ซาวข้าวล้างสารตกค้างไม่ได้ผลจริง เหตุซึมลึกถึงโมเลกุล


นักวิชาการอัดรัฐ แนะซาวข้าวล้างโบรไมด์ไอออนทำไม่ได้จริง ชี้ซึมลึกระดับโมเลกุลข้าว ขนาดการตรวจสอบต้องเอาข้าวไปเผาจึงจะได้โบรไมด์ไอออน ล้างธรรมดาเอาไม่อยู่ เผยพบโบรไมด์ไอออนตกค้างในข้าวโค-โค่ เกินมาตรฐาน สะท้อนมีการรมข้าวหลายครั้ง แจง อย.จ่อคุมสารเมทิลโบรไมด์ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร ไม่มีทางเท่ากับค่าโบรไมด์ไอออน 50 ppm เพราะเป็นหน่วยเดียวกัน

น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานมูลนิธิชีววิถี เครือข่ายต่อต้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) กล่าวถึงการตรวจสอบคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง ว่า การตรวจสอบสารเมทิลโบรไมด์ตกค้างในข้าวสารบรรจุถุงนั้น จะทดสอบโดยการวัดปริมาณของโบรไมด์ไอออน (Bromide Ion) ซึ่งแตกตัวมาจากสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) อีกที ทั้งนี้ โบรไมด์ไอออนไม่ได้ตกค้างอยู่ที่ผิวเมล็ดข้าวด้านนอกทั่วไป แต่จะซึมลึกอยู่ในระดับโมเลกุลของข้าว ดังนั้น การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตรวจเจอโบรไมด์ไอออนเกินกว่าค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) นั้น หมายความว่าจะต้องมีการรมข้าวซ้ำหลายครั้งมาก ถึงจะมีการตกค้างจำนวนมากขนาดนี้


น.ส.ปรกชล กล่าวอีกว่า มูลนิธิฯตรวจพบโบรไมด์ไอออนในโมเลกุลข้าว 67.4 ppm ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจเจอถึง 94.2 ppm แบบนี้ถือว่าอันตราย เพราะเกินกว่าค่ามาตรฐาน 50 ppm ซึ่งเป็นปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit : MRL) ที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย 

ที่สำคัญโบรไมด์ไอออนที่ตรวจเจอจำนวนมากเช่นนี้ไม่มีทางที่จะเป็นโบรไมด์ไอออนตามธรรมชาติ เนื่องจากมีข้าวถุง 12 ตัวอย่างที่ตรวจพบว่าไม่มีการตกค้างของโบรไมด์ไอออนเลย จึงหมายความได้ว่าต้องเป็นโบรไมด์ไอออนที่มาจากการแตกตัวของสารเมทิลโบรไมด์เท่านั้น แม้โบรไมด์ไอออนจะยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่าจะก่ออันตรายอะไรต่อร่างกาย แต่โบรไมด์ไอออนที่แตกตัวมาจากสารเมทิลโบรไมด์ จะมีตัวเมทิลแทรกอยู่ตามช่องว่างของโบรไมด์ไอออนด้วย ซึ่งตัวเมทิลนี้ที่เป็นสารอันตรายต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้การพบโบรไมด์ไอออนเกินค่ามาตรฐานจึงถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

"การแนะนำให้ประชาชนป้องกันตัวเองด้วยการล้างข้าวหรือซาวข้าวนั้น ไม่สามารถขจัดโบรไมด์ไอออนได้แน่ เพราะมันซึมลึกอยู่ในระดับโมเลกุล ซึ่งการตรวจสอบยังต้องเอาเม็ลดข้าวไปเผาเพื่อสกัดโบรไมด์ไอออนออกมา ดังนั้น การซาวข้าวจึงไม่สามารถช่วยล้างโบรไมด์ไอออนออกไปจากข้าวได้" น.ส.ปรกชล กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) โดยกำหนดค่า MRL ของสารเมทิลโบรไมด์ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร หรือเท่ากับโบรไมด์ไอออนไม่เกิน 50 ppm ตามค่ามาตรฐานนั้น

น.ส.ปรกชล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหารก็คือหน่วย ppm เช่นกัน เพราะ ppm ย่อมาจาก part per million หรือ 1 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ซึ่ง 1 กิโลกรัมก็คือเท่ากับ 1 ล้านมิลลิกรัมนั่นเอง จึงเป็นในลักษณะของ 1 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ดังนั้น การกำหนดค่า MRL อยู่ที่ 0.01 ppm จึงไม่มีทางเท่ากับ 50 ppm ตามที่ อย.อธิบายแน่นอน

น.ส.ปรกชล กล่าวด้วยว่า การกำหนดค่า MRL อยู่ที่ 0.01 ppm ซึ่งถือว่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานโลกมาก ถือเป็นเรื่องดี แต่ในความเป็นจริงคงเป็นไปได้ยากในการควบคุมสารตกค้างไม่เกิน 0.01 ppm ซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดค่า MRL ที่น้อยที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะขนาดจีนยังกำหนดอยู่ที่ 5 ppm เท่านั้น และไม่แน่ใจว่าไทยมีเทคโนโลยีรองรับการตรวจถึงระดับ 0.01 ppm แล้วหรือยัง ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 ppm ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาภายในประเทศว่าการตกค้างของสารในระดับใดจึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

อย่างไรก็ตาม บางประเทศมีการตั้งค่ามาตรฐานที่สูงกว่านี้ ซึ่งการส่งออกต้องทำให้ได้ตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ตรงนี้คนในประเทศก็ย่อมอยากบริโภคข้าวที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าการส่งออกเช่นกัน

ที่มา http://astv.mobi/Azu0gmq


คลิกอ่าน ผลสารตกค้างในข้าวจากการตรวจสอบของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก