วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พบข้าวสารบรรจุถุง 5 กก.มีสารพิษตกค้างจริง ๆ







ตบหน้า อย. ถีบหน้ารัฐบาล ที่เอาแต่บอกว่า ข้าวไทยไร้สารตกค้าง ถุย!!

มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ มูลนิธิชีววิถี พิสูจน์แล้วว่า ข้าวไทยมีสารคกต้าง เกินไม่เกินมาตรฐานก็แล้วแต่

แต่ที่แน่ ๆ ก็ยังพอมีข้าวไทยที่ไม่มีสารพิษและสารตกค้างเลย หมายถึงค่าเป็นศูนย์ แต่เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น

สรุปว่า ข้าวถุงไทยส่วนใหญ่ยังมีสารเมทิลโบรไมด์ตกค้างอยู่ /@akecity

---------------

ผลการตรวจสอบสารตกค้างในข้าวสารบรรจุทุก ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี ใน 46 ตัวอย่างที่เขาไปซื้อมาจากห้างนำไปตรวจสอบนั้น

ผลที่ได้คือ ข้าวสารบรรจุถุงยี่ห้อต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังมีสารตกค้างจากการรมควันพิษเพื่อไล่มอด แมลง ที่ชื่อว่า เมทิลโบรไมด์ ตกค้างอยู่

เพียงแต่สารตกค้างนั้นจะมีค่าไม่เกินมาตรฐานที่ไทยกำหนดหรือไม่ ?

และมาตรฐานที่ไทยใช้นั้นก็เป็นค่าสารตกค้างที่สูงที่สุด ที่เกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศอนุญาต ซึ่งค่ามาตรฐานสารตกค้างที่ไทยใช้คือ ต้องไม่เกิน 50 มก./กก. (เป็นค่าตกค้างที่สูงมากหากเทียบกับมาตรฐานจีน)

ซึ่งพบเพียงยี่ห้อเดียวที่เกินค่ามาตรฐานของไทย คือยี่ห้อ ยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!



ตารางแสดงผลสารตกค้างเมทิลโบรไมด์ในข้าวสารบรรจุถุง 5 กก. ใน 46ตัวอย่าง เรียงจากค่าตกค้างมากไปหาน้อย

คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี (biothai) และศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ รายงานผลการตรวจข้าวสารถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง พบข้าวสารถุงร้อยละ 26.1 หรือจำนวน 12 ยี่ห้อไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม แต่มีมากถึง 34 ยี่ห้อหรือร้อยละ 73.9 ที่พบสารรมควันข้าวเมทธิลโปรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ข้าวถุงจำนวน 12 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรชนิดใดๆ ได้แก่

1.ลายกนก ข้าวหอมมะลิแท้ 100%
2.ข้าวพันดี ข้าวขาว 100% ชั้นดีพิเศษ
3.ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ
4.รุ้งทิพย์ ข้าวขาวเสาไห้
5.บัวทิพย์ ข้าวหอม
6.ตราฉัตร ข้าวขาว 15%
7.ข้าวมหานคร ข้าวขาวคัดพิเศษ
8.สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์
9.เอโร่ ข้าวขาว 100%
10.ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์
11.โฮมเฟรชมาร์ท จัสมิน ข้าวหอมมะลิ 100%
12.ชามทอง ข้าวขาวหอมมะลิ 100%

ขณะที่ผลการทดสอบสารรมควันข้าว – เมธิลโบรไมด์ พบการปนเปื้อนถึง 34 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 73.9 ของจำนวนตัวอย่างที่นำมาทดสอบปริมาณของสารเมธิลโบรไมด์ที่พบการตกค้างใน ตัวอย่างที่นำมาทดสอบอยู่ที่ระดับ 0.9–67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

โดยตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่พบการปนเปื้อนสูงที่สุด คือตัวอย่าง ยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ(codex) ที่กำหนดไว้ให้มีการตกค้างได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ทางด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า แม้ว่าการตกค้างส่วนใหญ่ที่พบจะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ codex หากก็พบว่าในหลายประเทศมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่สูงกว่า codex เช่น อินเดียกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ ประเทศจีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศคู่ค้าข้าวรายสำคัญของประเทศไทย กำหนดปริมาณการตกค้างของเมธิลโบรไมด์ในข้าวไว้ที่ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

แต่เมื่อดูจากผลทดสอบครั้งนี้กลับพบตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่มีการตกค้าง ของเมธิลโบรไมด์เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัมมีจำนวนถึง 13 ตัวอย่างที่ไม่สามารถส่งออกไปประเทศจีนได้

--------------------

ข้าวไทยปลอดสารเคมีทั้งหมดไม่ได้หรือ ?

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

"ประเทศไทยไม่เคยมีประกาศเรื่องเกณฑ์ เมธิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้รมข้าวก่อนบรรจุถุงเพื่อป้องกันมอดและแมลง ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวส่งออกลำดับต้นๆของโลก 

ทำให้การตรวจสอบต้องยึดมาตรฐานระหว่างประเทศ ส่งผลเสียต่อตลาดส่งออกข้าวและมาตรฐานข้าวในประเทศ และน่าสังเกตว่า หากพบว่ามีการตกค้างของสารรมข้าวเกินค่ามาตรฐาน codex จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ประกอบการได้หรือไม่ ทั้งนี้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบโรงสีและผู้ประกอบการ ที่มีปัญหาการปนเปื้อน แม้ไม่สูงเกิน CODEX แต่ก็สูงเกินที่จะส่งออกไปจีน 

เพื่อรักษาชื่อเสียงของข้าวไทยและสุขภาพของประชาชนไทย ดังนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลควรให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพข้าวสารในประเทศ ให้มากขึ้น มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนสารเคมี เพื่อยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น"

----------------

ใหม่เมืองเอก สรุป

การรมควันพิษในข้าวไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด แถมยังถือเป็นเรื่องจำเป็นด้วยซ้ำ เพราะในการส่งออกข้าวไปต่างประเทศนั้น ในหลายประเทศกำหนดเลยว่า ข้าวต้องผ่านการรมควันเพื่อฆ่ามอด และแมลง ที่อาจติดมากับข้าวได้ เพราะต่างประเทศเขากลัวแมลงจะไประบาดในประเทศของเขา

เพียงแต่ว่า การทิ้งระยะเวลาในสารรมควันนั้น ต้องทิ้งระยะให้สารเคมีระเหยไปให้หมดจริง ๆ จนได้ค่าไม่เกินมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด

แต่เพราะโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำให้มีการนำเข้าสารเคมีในการมควันข้าวมากขึ้น และต้องใช้บ่อยขึ้น เพื่อเก็บรักษาข้าวที่ค้างโกดังนาน 

ตรงนี้แหละ ที่ทำให้ผู้บริโคภเกิดความไม่มั่นใจในข้าวไทย

ทำไมมีข้าวถึง 12 ยี่ห้อ ที่ไม่มีสารตกค้างใด ๆ เลย คือมีค่าสารเคมีตกค้างเป็นศูนย์ ?

นั่นแหละที่คนไทยอยากให้ข้าวสารบรรจุถุงของไทยทุกยี่ห้อ ทุกชนิดข้าว ควรเป็นแบบนั้น

เพราะขึ้นชื่อว่าสารตกค้าง ต่อให้ตกค้างน้อยมากจนไม่เกินมาตรฐาน แต่เมื่อบริโภคไปนานๆ คนเขาก็กลัวจะสะสมนั่นแหละครับ

แล้วอย่ามาอ้างว่า หน่วยงานของราชการไทยตรวจข้าวแล้วไม่พบสารตกค้าง เพราะใครเชื่อถือระบบราชการไทย ที่มีปัญหาเรื่องคอรัปชั่น และการเมืองแทรกแซงได้ ก็โง่แล้วครับ

การที่หน่วยงานของรัฐเช่น อย. จะออกมาประกาศว่า ข้าวไทยไม่มีสารกตกค้าง มันมักเป็นการพูดลอย ๆ พูดคลุม ๆไปทุกยี่ห้อ ไม่ได้นำตัวเลขมานำเสนอให้ประชาชนเห็นอย่างรอบด้าน ว่ายี่ห้อไหน มีค่าแค่ไหน 

แล้วใครเขาจะอยากเชื่อ อย. และรัฐบาล ล่ะ ??


คลิกอ่าน เหตุที่คนไทยกลัวข้าวปนเปื้อนสารพิษตกค้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่งเปิดรับการแสดงความคิดเห็นครับ ทุกความเห็นคือกำลังใจ
แล้วอย่าลืมแวะไปที่บล้อคมุมมอง-ใหม่เมืองเอกนะครับ ขอบคุณ/ใหม่ เมืองเอก