วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เปรียบเทียบนโยบายพรรคฮุนเซ็นกับพรรคสมรังสี
ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ในวันนี้ที่กัมพูชาจะมีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศอีกแล้ว ซึ่งผลการเลือกตั้งก็คงเหมือนเดิม คือพรรค CCP ของฮุนเซ็นก็คงชนะได้เสียงข้างมากเหมือนเดิม
เพียงแต่ว่า จะได้มากเท่าไหร่ ? ส่วนพรรค CNRP ของนายสมรังสี จะเบียดแย่งที่นั่งจากรัฐบาลฮุนเซ็นได้เท่าไหร่
ทีนี้มาดูนโยบายเศรษฐกิจพรรค CPP ของฮุนเซ็น
(ที่มาข่าว 3 เศรษฐกิจ)
ดูเหมือนว่า นโยบายของฮุนเซ็นดูจะเป็นนโยบายที่มองดูเป็นนโยบายที่ดี คือไม่ใช่ล่อประชาชนด้วยประชานิยม เหมือนที่ประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชาที่ล้าหลังด้านประชาธิปไตย แต่ชอบหลงว่าตัวเองรูัจักประชาธิปไตยดี มักใช้หลอกประชาชนควาย ๆ ในประเทศ
ไทยเรากำลังจะมีคู่แข่งส่งออกน้ำตาลแล้วนะ ส่วนเรื่องสิ่งทอ อีกไม่นานกัมพูชาอาจแซงหน้าไทยได้ เพราะแม้แต่โรงงานสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปของคนไทยหลายโรงงานก็ย้ายฐานการผลิตไปกัมพูชาแล้ว
สาเหตุน่ะเหรอ ก็นโยบายค่าแรง 300 บาทของทักษิณ แต่ผลผลิตที่ได้คุณภาพก็ไม่ต่างกับไปจ้างให้คนงานเขมรผลิต งั้นหนีไปเขมรดีกว่า
-------------------
นโยบายเศรษฐกิจพรรคCNRP ของนายสมรังสี
(ที่มาข่าว 3 เศรษฐกิจ)
ไอ้เราก็อุตส่าห์จะเชียร์ให้ล้มฮุนเซ็นให้ได้ แต่พรรคของสมรังสีดันไปลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยมจากประเทศล้าหลังมาใช้ เฮ่อ..
แต่ยังดี ที่ประชานิยมในข้อ1 ข้อ5 ข้อ 6 ข้อ7 มาช่วยเอาไว้ เพราะดูเป็นนโยบายที่เป็นสวัสดิการสังคมพื้นฐานที่ดี ที่ประชาชนจะสมควรได้รับอยู่แล้ว
แต่ไอ้ข้อที่เหลือเนี่ยสิ ดันไปลอกนโยบายชั่ว ๆ จากพรรคการเมืองเลว ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านมาซะได้
555 /@akecity
-----------------
อัพเดท ผลการเลือกตั้งทั่วไปกัมพุชา เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2013
พรรคฮุนเซ็นได้ไป 68 ที่นั่ง ลดลงจากเดิม 22 ที่นั่ง
พรรคสมรังสี ได้ไป 55 ที่นั่ง เพิ่มจากเดิม 26 ที่นั่ง
ว่ากันว่า ถ้าการเลือกตั้งโปร่งใส ไม่มีโกง คาดว่า ฮุนเซ็นแพ้แน่ ๆ ครับ
คลิกอ่าน อ๋อเหรอ ธรรมศาสตร์สอนให้รักประชาชน เหรอ ? ไม่บอกไม่รู้นะนี่
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ความฉ้อฉลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับสารพิษตกค้างในข้าว
เฮ่อ.. แค่อ้างประชาธิปไตยบังหน้า ก็สามารถหลอกพวกสมองปูปัญญาตะกวดได้ทั้งแผ่นดินแล้ว
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตอนแรกพยายามบอกว่า ข้าวไทยไร้สารพิษตกค้าง แต่พอมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี นำผลตรวจสารพิษตกค้างในข้าวมาเปิดเผย
ก็ทำให้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและ อย. ก็ออกมายอมรับแบบไม่ค่อยเต็มใจว่า มีสารตกค้างในข้าวจริง ๆ แต่ก็พยายามบอกว่า ยังไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค
ต่อมา พอคนชักไม่เชื่อมั่นคำพูดของกระทรวงสาธารณสุข และ อย. รัฐบาลก็ออกมาขู่โดยผ่านหน่วยงานรัฐบาลและสื่อรับใช้รัฐบาล กดดันให้เปิดเผยชื่อห้องปฏิบัติการณ์ตรวจสอบเอกชน ที่มูลนิธิเพื่อผุ้บริโภคใช้ตรวจสอบ
ทั้งๆ ที่ตามหลักสื่อสารมวลชน สามารถปิดเป็นความลับได้ เพื่อปกป้องแหล่งข่าวจากอำนาจมืด (หากจะต้องบอกจริง ๆ ก็สามารถบอกได้ แต่ต้องบอกกันเป็นการภายในต่อหน้าศาลเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพห้องปฏิบัติการณเอกชน)
ส่วนฝ่ายรัฐบาลเองก็อ้างว่า ได้ตรวจสอบข้าวยี่ห้อที่ว่ามีสารตกค้างเกินมากถึง 94 ppm อีกครั้ง กลับพบว่า ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค แต่รัฐบาลกลับไม่ยอมเปิดเผยว่า สารที่ว่านั้นคือสารอะไร ?
ทางมูลนิธชีววิถีจึงเรียกร้องให้รัฐบาลและ อย. เปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบทั้งหมด ทั้งค่าตัวเลข และยี่ห้อที่นำไปตรวจ เพราะฝ่ายรัฐมักอ้างลอย ๆ ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขที่แท้จริงสู่สาธารณชน เพื่อความโปร่งใส
ต่อมา รมว.สาธารณสุข และไอ้นพเหล่ ขี้ข้าทักษิณ ก็ออกมาแนะนำว่า ให้ประชาชนซาวข้าวหลายหน สารตกค้างก็จะหมดไป !!
ซึ่งตอนนี้ นักวิชาการได้ออกมาตอบโต้แล้วว่า การซาวข้าวไม่สามารถล้างสารเคมีตกค้างได้หมด เพราะการรมสารหลายครั้งของโกดังข้าวรับจำนำของรัฐบาล สารเคมีมันได้ซึมลึกเข้าไปถึงระดับโมเลกุลแล้ว
เฮ่อ.. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ภายใต้การควบคุมของนักโทษชายทักษิณ นี่มันชั่วจริง ๆ
--------------------------------
จวกรัฐแนะ ปชช.ซาวข้าวล้างสารตกค้างไม่ได้ผลจริง เหตุซึมลึกถึงโมเลกุล
นักวิชาการอัดรัฐ แนะซาวข้าวล้างโบรไมด์ไอออนทำไม่ได้จริง ชี้ซึมลึกระดับโมเลกุลข้าว ขนาดการตรวจสอบต้องเอาข้าวไปเผาจึงจะได้โบรไมด์ไอออน ล้างธรรมดาเอาไม่อยู่ เผยพบโบรไมด์ไอออนตกค้างในข้าวโค-โค่ เกินมาตรฐาน สะท้อนมีการรมข้าวหลายครั้ง แจง อย.จ่อคุมสารเมทิลโบรไมด์ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร ไม่มีทางเท่ากับค่าโบรไมด์ไอออน 50 ppm เพราะเป็นหน่วยเดียวกัน
น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานมูลนิธิชีววิถี เครือข่ายต่อต้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) กล่าวถึงการตรวจสอบคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง ว่า การตรวจสอบสารเมทิลโบรไมด์ตกค้างในข้าวสารบรรจุถุงนั้น จะทดสอบโดยการวัดปริมาณของโบรไมด์ไอออน (Bromide Ion) ซึ่งแตกตัวมาจากสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) อีกที ทั้งนี้ โบรไมด์ไอออนไม่ได้ตกค้างอยู่ที่ผิวเมล็ดข้าวด้านนอกทั่วไป แต่จะซึมลึกอยู่ในระดับโมเลกุลของข้าว ดังนั้น การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตรวจเจอโบรไมด์ไอออนเกินกว่าค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) นั้น หมายความว่าจะต้องมีการรมข้าวซ้ำหลายครั้งมาก ถึงจะมีการตกค้างจำนวนมากขนาดนี้
น.ส.ปรกชล กล่าวอีกว่า มูลนิธิฯตรวจพบโบรไมด์ไอออนในโมเลกุลข้าว 67.4 ppm ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจเจอถึง 94.2 ppm แบบนี้ถือว่าอันตราย เพราะเกินกว่าค่ามาตรฐาน 50 ppm ซึ่งเป็นปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit : MRL) ที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
ที่สำคัญโบรไมด์ไอออนที่ตรวจเจอจำนวนมากเช่นนี้ไม่มีทางที่จะเป็นโบรไมด์ไอออนตามธรรมชาติ เนื่องจากมีข้าวถุง 12 ตัวอย่างที่ตรวจพบว่าไม่มีการตกค้างของโบรไมด์ไอออนเลย จึงหมายความได้ว่าต้องเป็นโบรไมด์ไอออนที่มาจากการแตกตัวของสารเมทิลโบรไมด์เท่านั้น แม้โบรไมด์ไอออนจะยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่าจะก่ออันตรายอะไรต่อร่างกาย แต่โบรไมด์ไอออนที่แตกตัวมาจากสารเมทิลโบรไมด์ จะมีตัวเมทิลแทรกอยู่ตามช่องว่างของโบรไมด์ไอออนด้วย ซึ่งตัวเมทิลนี้ที่เป็นสารอันตรายต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้การพบโบรไมด์ไอออนเกินค่ามาตรฐานจึงถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
"การแนะนำให้ประชาชนป้องกันตัวเองด้วยการล้างข้าวหรือซาวข้าวนั้น ไม่สามารถขจัดโบรไมด์ไอออนได้แน่ เพราะมันซึมลึกอยู่ในระดับโมเลกุล ซึ่งการตรวจสอบยังต้องเอาเม็ลดข้าวไปเผาเพื่อสกัดโบรไมด์ไอออนออกมา ดังนั้น การซาวข้าวจึงไม่สามารถช่วยล้างโบรไมด์ไอออนออกไปจากข้าวได้" น.ส.ปรกชล กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) โดยกำหนดค่า MRL ของสารเมทิลโบรไมด์ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร หรือเท่ากับโบรไมด์ไอออนไม่เกิน 50 ppm ตามค่ามาตรฐานนั้น
น.ส.ปรกชล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหารก็คือหน่วย ppm เช่นกัน เพราะ ppm ย่อมาจาก part per million หรือ 1 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ซึ่ง 1 กิโลกรัมก็คือเท่ากับ 1 ล้านมิลลิกรัมนั่นเอง จึงเป็นในลักษณะของ 1 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ดังนั้น การกำหนดค่า MRL อยู่ที่ 0.01 ppm จึงไม่มีทางเท่ากับ 50 ppm ตามที่ อย.อธิบายแน่นอน
น.ส.ปรกชล กล่าวด้วยว่า การกำหนดค่า MRL อยู่ที่ 0.01 ppm ซึ่งถือว่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานโลกมาก ถือเป็นเรื่องดี แต่ในความเป็นจริงคงเป็นไปได้ยากในการควบคุมสารตกค้างไม่เกิน 0.01 ppm ซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดค่า MRL ที่น้อยที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะขนาดจีนยังกำหนดอยู่ที่ 5 ppm เท่านั้น และไม่แน่ใจว่าไทยมีเทคโนโลยีรองรับการตรวจถึงระดับ 0.01 ppm แล้วหรือยัง ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 ppm ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาภายในประเทศว่าการตกค้างของสารในระดับใดจึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตาม บางประเทศมีการตั้งค่ามาตรฐานที่สูงกว่านี้ ซึ่งการส่งออกต้องทำให้ได้ตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ตรงนี้คนในประเทศก็ย่อมอยากบริโภคข้าวที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าการส่งออกเช่นกัน
ที่มา http://astv.mobi/Azu0gmq
คลิกอ่าน ผลสารตกค้างในข้าวจากการตรวจสอบของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
พบข้าวสารบรรจุถุง 5 กก.มีสารพิษตกค้างจริง ๆ
ตบหน้า อย. ถีบหน้ารัฐบาล ที่เอาแต่บอกว่า ข้าวไทยไร้สารตกค้าง ถุย!!
มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ มูลนิธิชีววิถี พิสูจน์แล้วว่า ข้าวไทยมีสารคกต้าง เกินไม่เกินมาตรฐานก็แล้วแต่
แต่ที่แน่ ๆ ก็ยังพอมีข้าวไทยที่ไม่มีสารพิษและสารตกค้างเลย หมายถึงค่าเป็นศูนย์ แต่เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น
สรุปว่า ข้าวถุงไทยส่วนใหญ่ยังมีสารเมทิลโบรไมด์ตกค้างอยู่ /@akecity
---------------
ผลการตรวจสอบสารตกค้างในข้าวสารบรรจุทุก ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี ใน 46 ตัวอย่างที่เขาไปซื้อมาจากห้างนำไปตรวจสอบนั้น
ผลที่ได้คือ ข้าวสารบรรจุถุงยี่ห้อต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังมีสารตกค้างจากการรมควันพิษเพื่อไล่มอด แมลง ที่ชื่อว่า เมทิลโบรไมด์ ตกค้างอยู่
เพียงแต่สารตกค้างนั้นจะมีค่าไม่เกินมาตรฐานที่ไทยกำหนดหรือไม่ ?
และมาตรฐานที่ไทยใช้นั้นก็เป็นค่าสารตกค้างที่สูงที่สุด ที่เกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศอนุญาต ซึ่งค่ามาตรฐานสารตกค้างที่ไทยใช้คือ ต้องไม่เกิน 50 มก./กก. (เป็นค่าตกค้างที่สูงมากหากเทียบกับมาตรฐานจีน)
ซึ่งพบเพียงยี่ห้อเดียวที่เกินค่ามาตรฐานของไทย คือยี่ห้อ ยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
ตารางแสดงผลสารตกค้างเมทิลโบรไมด์ในข้าวสารบรรจุถุง 5 กก. ใน 46ตัวอย่าง เรียงจากค่าตกค้างมากไปหาน้อย
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี (biothai) และศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ รายงานผลการตรวจข้าวสารถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง พบข้าวสารถุงร้อยละ 26.1 หรือจำนวน 12 ยี่ห้อไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม แต่มีมากถึง 34 ยี่ห้อหรือร้อยละ 73.9 ที่พบสารรมควันข้าวเมทธิลโปรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ข้าวถุงจำนวน 12 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรชนิดใดๆ ได้แก่
1.ลายกนก ข้าวหอมมะลิแท้ 100%
2.ข้าวพันดี ข้าวขาว 100% ชั้นดีพิเศษ
3.ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ
4.รุ้งทิพย์ ข้าวขาวเสาไห้
5.บัวทิพย์ ข้าวหอม
6.ตราฉัตร ข้าวขาว 15%
7.ข้าวมหานคร ข้าวขาวคัดพิเศษ
8.สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์
9.เอโร่ ข้าวขาว 100%
10.ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์
11.โฮมเฟรชมาร์ท จัสมิน ข้าวหอมมะลิ 100%
12.ชามทอง ข้าวขาวหอมมะลิ 100%
ขณะที่ผลการทดสอบสารรมควันข้าว – เมธิลโบรไมด์ พบการปนเปื้อนถึง 34 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 73.9 ของจำนวนตัวอย่างที่นำมาทดสอบปริมาณของสารเมธิลโบรไมด์ที่พบการตกค้างใน ตัวอย่างที่นำมาทดสอบอยู่ที่ระดับ 0.9–67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
โดยตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่พบการปนเปื้อนสูงที่สุด คือตัวอย่าง ยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ(codex) ที่กำหนดไว้ให้มีการตกค้างได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ทางด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า แม้ว่าการตกค้างส่วนใหญ่ที่พบจะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ codex หากก็พบว่าในหลายประเทศมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่สูงกว่า codex เช่น อินเดียกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ ประเทศจีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศคู่ค้าข้าวรายสำคัญของประเทศไทย กำหนดปริมาณการตกค้างของเมธิลโบรไมด์ในข้าวไว้ที่ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
แต่เมื่อดูจากผลทดสอบครั้งนี้กลับพบตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่มีการตกค้าง ของเมธิลโบรไมด์เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัมมีจำนวนถึง 13 ตัวอย่างที่ไม่สามารถส่งออกไปประเทศจีนได้
--------------------
ข้าวไทยปลอดสารเคมีทั้งหมดไม่ได้หรือ ?
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
"ประเทศไทยไม่เคยมีประกาศเรื่องเกณฑ์ เมธิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้รมข้าวก่อนบรรจุถุงเพื่อป้องกันมอดและแมลง ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวส่งออกลำดับต้นๆของโลก
ทำให้การตรวจสอบต้องยึดมาตรฐานระหว่างประเทศ ส่งผลเสียต่อตลาดส่งออกข้าวและมาตรฐานข้าวในประเทศ และน่าสังเกตว่า หากพบว่ามีการตกค้างของสารรมข้าวเกินค่ามาตรฐาน codex จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ประกอบการได้หรือไม่ ทั้งนี้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบโรงสีและผู้ประกอบการ ที่มีปัญหาการปนเปื้อน แม้ไม่สูงเกิน CODEX แต่ก็สูงเกินที่จะส่งออกไปจีน
เพื่อรักษาชื่อเสียงของข้าวไทยและสุขภาพของประชาชนไทย ดังนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลควรให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพข้าวสารในประเทศ ให้มากขึ้น มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนสารเคมี เพื่อยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น"
----------------
ใหม่เมืองเอก สรุป
การรมควันพิษในข้าวไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด แถมยังถือเป็นเรื่องจำเป็นด้วยซ้ำ เพราะในการส่งออกข้าวไปต่างประเทศนั้น ในหลายประเทศกำหนดเลยว่า ข้าวต้องผ่านการรมควันเพื่อฆ่ามอด และแมลง ที่อาจติดมากับข้าวได้ เพราะต่างประเทศเขากลัวแมลงจะไประบาดในประเทศของเขา
เพียงแต่ว่า การทิ้งระยะเวลาในสารรมควันนั้น ต้องทิ้งระยะให้สารเคมีระเหยไปให้หมดจริง ๆ จนได้ค่าไม่เกินมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด
แต่เพราะโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำให้มีการนำเข้าสารเคมีในการมควันข้าวมากขึ้น และต้องใช้บ่อยขึ้น เพื่อเก็บรักษาข้าวที่ค้างโกดังนาน
ตรงนี้แหละ ที่ทำให้ผู้บริโคภเกิดความไม่มั่นใจในข้าวไทย
ทำไมมีข้าวถึง 12 ยี่ห้อ ที่ไม่มีสารตกค้างใด ๆ เลย คือมีค่าสารเคมีตกค้างเป็นศูนย์ ?
นั่นแหละที่คนไทยอยากให้ข้าวสารบรรจุถุงของไทยทุกยี่ห้อ ทุกชนิดข้าว ควรเป็นแบบนั้น
เพราะขึ้นชื่อว่าสารตกค้าง ต่อให้ตกค้างน้อยมากจนไม่เกินมาตรฐาน แต่เมื่อบริโภคไปนานๆ คนเขาก็กลัวจะสะสมนั่นแหละครับ
แล้วอย่ามาอ้างว่า หน่วยงานของราชการไทยตรวจข้าวแล้วไม่พบสารตกค้าง เพราะใครเชื่อถือระบบราชการไทย ที่มีปัญหาเรื่องคอรัปชั่น และการเมืองแทรกแซงได้ ก็โง่แล้วครับ
การที่หน่วยงานของรัฐเช่น อย. จะออกมาประกาศว่า ข้าวไทยไม่มีสารกตกค้าง มันมักเป็นการพูดลอย ๆ พูดคลุม ๆไปทุกยี่ห้อ ไม่ได้นำตัวเลขมานำเสนอให้ประชาชนเห็นอย่างรอบด้าน ว่ายี่ห้อไหน มีค่าแค่ไหน
แล้วใครเขาจะอยากเชื่อ อย. และรัฐบาล ล่ะ ??
คลิกอ่าน เหตุที่คนไทยกลัวข้าวปนเปื้อนสารพิษตกค้าง
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วินัยภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรรู้ไว้
คุณผู้อ่านครับ เมื่อก่อนที่บ้านผมมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ เกี่ยวกับวินัยภิกษูสงฆ์ที่ประชาชนควรรู้ ของวัดบวรนิเวศ เพราะแม่ผมไปบวชน้องชายของผมที่วัดบวรฯ แล้วก็ได้หยิบหนังสือเล่มนี้กลับมา เพราะเป็นหนังสือแจกฟรี
ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ นึกว่าก็เรื่องน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ
แต่วันดีคืนดี ผมเกิดหยิบขึ้นมาอ่าน พออ่านแล้วอึ้งครับ เพราะมีหลายเรื่องที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทำผิดต่อพระสงฆ์แบบไม่รู้มากมาย
เช่น ไม่ควรถวายน้ำพริกกะปิให้พระฉัน เป็นต้น !! (ถ้าจะถวายต้องทำกะปิให้สุกเสียก่อน แต่ส่วนมากไม่ค่อยมีใครทำให้กะปิสุกก่อนไปทำน้ำพริก)
ถ้าว่างลองอ่านดูให้ครบทุกข้อครับ แล้วคุณอาจจะอึ้งแบบที่ผมเคยมาแล้ว
---------------------
วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ
รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ. ๙) วัดบวรนิเวศวิหาร
พระภิกษุสามเณรบางรูปบางครั้งบางคราว ไม่สามารถจะให้บริสุทธิ์เท่าที่ควรได้ เพราะคฤหัสถ์หรือบุรุษ สตรีหรือทายกทายิกา ผู้ไม่รู้วินัยของพระ และมีธุระเกี่ยวข้องกับพระในวาระต่างๆ เช่นในคราวทำบุญ แต่ทำไม่ถูกต้องพระวินัย
ภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุ จึงทำให้พระต้องอาบัติ คือต้องโทษทางพระวินัย อย่างนี้คฤหัสถ์ได้บุญก็จริง แต่ได้น้อย เพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์ เหมือนนาที่รกเสียแล้ว
อนึ่ง บางทีบางรูปไม่รู้วินัยของตนเองดีพอ หรือบางรูปรู้วินัยดีแล้ว แต่ไม่เอื้อเฟื้อในวินัยก็ย่อมเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ในทางที่ผิดๆ และคฤหัสถ์ก็ไม่รู้วินัยของพระจึงพากันปฏิบัติผิดร่วมกันอย่างนี้ จึงรู้สึกว่าไม่ค่อยเหมาะกับพุทธศาสนิกชนเลย
ด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะให้คฤหัสถ์ บุรุษ-สตรีทั้งหลายช่วยกันรักษาภิกษุสงฆ์ให้บริสุทธิ์เป็นนาบุญอย่างดี จะได้เพิ่มปริมาณผลแห่งพืชบุญที่บริจาคหว่านลงไปให้มากยิ่ง ๆ ขึ้น จึงได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบนำมาเรียบเรียงเป็นข้อๆ พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์
ดังต่อไปนี้
๑. สุภาพสตรี อย่าถูกต้องภิกษุสามเณร (สังฆาทิเสส ข้อ ๒)
๒. สุภาพบุรุษ หรือสุภาพสตรี ไม่ควรวานให้พระชักสื่อชายหญิงให้เป็นสามีภรรยากัน แม้ชั่วครั้งชั่วคราว (สังฆาทิเสส ข้อ ๕)
๓. สุภาพสตรี ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาไปด้วย ไม่ควรเข้าไปหาพระในที่ลับตาหรือลับหู เพราะอาจจะทำให้พระถูกโจทด้วยอาบัติต่างๆ หรือเป็นทางให้เกิดความเสียหายมาก (อนิยต ข้อ ๑-๒)
๔. สุภาพบุรุษหรือสตรี เมื่อศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุหรือสามเณรต้องมอบให้แก่ไวยาจักร (ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบ อย่ามอบให้ในมือหรือในย่าม หรือในบาตรของท่าน เป็นต้น (จีวรวรรค ข้อ ๑๐-โกสิยวรรค ข้อ ๘)
๕. บุรุษผู้เป็นไวยาจักร เมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไร ต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้น ในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้น ในเวลาที่ท่านขอ ถ้าเงินทองมากพระขอของน้อย ก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการ เก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายคราวต่อไป (จีวรวรรค ข้อ ๑๐)
๖. บุรุษ-สตรี ผู้เป็นพ่อค้า-แม่ค้า ไม่ควรขายของแก่พระภิกษุ หรือสามเณรผู้ที่จับต้องเงิน (ธนบัตร-เหรียญบาทเป็นต้น) มาซื้อด้วยตนเอง (โกสิยวรรค ข้อ ๙)
๗. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาสิ่งของของตนแลกกับสิ่งของของพระ-ของสามเณร (โกสิยวรรค ข้อ ๑๐)
๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาผ้าอาบน้ำฝนถวายพระก่อนเข้าพรรษามากกว่า ๑ เดือน แม้พระขอก็ไม่ต้องถวาย เว้นไว้แต่พระที่เป็นญาติ และพระที่ตนปวารณาไว้ (ปัตตวรรค ข้อ ๔)
๙. บุรุษ-สตรี เมื่อเตรียมสิ่งของจะถวายแก่สงฆ์ (ไม่เฉพาะบุคคล) ถ้าพระแนะนำให้ถวายเฉพาะตัวท่านเอง หรือให้ถวายเฉพาะพระรูปใดๆ ก็ตาม ไม่ต้องถวายตามคำแนะนำนั้น (ปัตตวรรค ข้อ ๑๐-สหธรรมิกวรรค ข้อ ๑๒)
๑๐. บุรุษ-สตรี เมื่อเรียนธรรมกับพระ อย่าออกเสียงบทพระธรรมพร้อมกับพระ (มุสาวาทวรรค ข้อ ๔)
๑๑. บุรุษ เมื่อนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระครบ ๓ คืนแล้ว ต้องเว้นเสีย ๑ คืน ต่อไปจึงนอนได้อีก (มุสาวาทวรรค ข้อ ๕)
๑๒. สตรี ห้ามนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระแม้ในคืนแรก (มุสาวาทวรรค ข้อ ๖)
๑๓. บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ขุดดินเหนียวล้วนหรือดินร่วนล้วน ไม่ควรขุด แต่ถ้าพระแสดงความประสงค์ว่าต้องการหลุมหรือคูเป็นต้น หรือว่าต้องการขุดดินให้สูงเท่านั้นเท่านี้เป็นต้น ก็ควรจัดการให้ตามประสงค์ (มุสาวาทวรรค ข้อ ๑๐)
๑๔. บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ตัดต้นไม้ หรือดายหญ้าที่เกิดอยู่กับดิน หรือให้รื้อถอนผักหญ้าต่างๆ ที่เกิดอยู่ในน้ำ ไม่ควร ตัด-ดาย-รื้อถอน แต่ถ้าพระบอกว่า เราต้องการไม้-หญ้า-ผัก หรือว่าเราต้องการทำความสะอาดในที่ซึ่งเกะกะรุงรัง ด้วยต้นไม้หรือผักหญ้าดังนี้เป็นต้น จึงทำให้ (ภูตคามวรรค ข้อ ๑)
๑๕. บุรุษ-สตรี นิมนต์พระให้ฉันอาหารอย่าออกชื่อโภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ ควรใช้กัปปิยโวหารหรือคำพูดที่สมควร เช่น พูดว่า “ขอนิมนต์ฉันเช้า” หรือว่า “ขอนิมนต์ฉันเพล” และต้องบอกวัน เวลาสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งบอกให้พระทราบด้วยว่าให้ไปกันเอง หรือจะมารับ อนึ่งการที่นิมนต์พระให้ฉันนั้นปรารภเรื่องอะไรก็ควรบอกให้ทราบด้วย (โภชนวรรค ข้อ ๒)
๑๖. บุรุษ-สตรี เมื่อเลยเวลาเพลแล้ว คือตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงวันใหม่ อย่านำอาหารไปประเคนพระ หากเป็นของที่เก็บค้างคืนได้ ไม่บูด ไม่เสีย เช่น ข้าวสาร ปลาดิบ เนื้อดิบ อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ก็มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของท่านได้ (โภชนวรรค ข้อ ๗)
๑๗. บุรุษ-สตรี ถ้าพระที่มิใช่ญาติและตนไม่ได้ปวารณาไว้ ไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีต คือข้าวสุกที่ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม แม้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรถวาย แต่ถ้าขอเพื่อผู้เป็นไข้ควรถวายโดยแท้ (โภชนวรรค ข้อ ๙)
๑๘. บุรุษ-สตรี เมื่อประเคนอาหารหรือยาเป็นต้น ทุกอย่างที่พระจะต้องกลืนกิน (ฉัน) ต้องประเคนให้ถูกวิธี ดังนี้
ก. ภาชนะหรือห่อของนั้น ไม่ใหญ่หรือหนักจนเกินไป ยกคนเดียวได้อย่างพอดี
ข. เข้าอยู่ในหัตถบาสของพระ ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นส่วนสุดของสิ่งของหรือของบุคคลผู้ประเคน
ค. น้อมกายถวายด้วยความเคารพ
ง. กิริยาที่ถวายนั้น ถวายด้วยมือหรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่นช้อน-ภาชนะก็ได้
จ. พระรับด้วยมือ หรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่น บาตร-ผ้าก็ได้
(โภชนวรรค ข้อ ๑๐)
๑๙. สตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน ต้องไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน ในห้องกับพระ แม้จะมีสตรีหลายคนก็ไม่ได้ (อเจลกวรรค ข้อ ๔)
๒๐. สตรีต้องไม่นั่ง ไม่นอนในที่แจ้งกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง ถ้าสตรีหลายคนนั่งได้ แต่การนอนนั่นไม่ควร แม้การยืน การเดินกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง ด้วยอาการซ่อนเร้นก็ไม่ควร (อเจลกวรรค ข้อ ๕)
๒๑. บุรุษ-สตรี ที่ไม่ใช่ญาติของพระ แม้จะเป็นเขย สะใภ้ หรือภรรยาเก่าของพระ (ปุราณทุติยิกา) หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายโลหิต ก็ชื่อว่ามิใช่ญาติ ถ้ามีศรัทธาจะให้พระขอปัจจัย ๔ หรือสิ่งของต่างๆ จากตนได้ ก็ต้องปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระขอได้โดยลักษณะ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ก. กำหนดปัจจัยหรือสิ่งของ เช่น จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง ยา หนังสือ สมุด ปากกา ฯลฯ
ข. กำหนดเวลา คือให้ขอได้ตลอดเท่านั้นวัน เท่านั้นเดือน เท่านั้นปี ตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงเท่าไร
ค. กำหนดทั้งปัจจัย-สิ่งของ และเวลา
ง. ไม่กำหนดทั้งปัจจัย สิ่งของและเวลา ถ้าจะให้ขอได้เป็นนิตย์ ต้องบอกว่า นิมนต์ขอได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อปวารณาแล้ว ถ้าพระขอเกินกำหนดหรือเกิน ๔ เดือน ไม่ควรถวาย เว้นไว้แต่ตนปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์
(อเจลกวรรค ข้อ ๗)
หมายเหตุ :- คำว่า ญาติ ได้แก่คนที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ชั้น คือ ๑. ทวด ๒. ปู่ย่าตายาย ๓. พ่อแม่ ๔. พี่น้อง ๕. ลูก ๖. หลาน ๗. เหลน
๒๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเสพติดให้โทษ เช่น สุราเมรัย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชาถวายพระ (สุราปานวรรค ข้อ ๑)
๒๓. บุรุษ-สตรี อย่าเอาน้ำที่มีตัวสัตว์ไปตั้งไว้ให้พระบริโภค คือ ดื่ม อาบ ล้างเท้า ใช้สอย (สัปปาณวรรค ข้อ ๒)
๒๔. บุรุษ-สตรี ผู้นำสินค้าหนีภาษี ไม่ควรเดินทางร่วมกับพระ หรือไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับพระ (สัปปาณวรรค ข้อ ๖)
๒๕. สตรี ไม่ควรชวนพระเดินทางไกล แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง แม้นั่งรถ นั่งเรือ ไปเพียงหนึ่งต่อหนึ่งก็ไม่ควร แม้สตรีหลายคน แต่ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสานั่งไปด้วย ก็ไม่ควร แม้บุรุษไปด้วย หากสตรีขับรถเรือเอง ก็ไม่ควร เว้นไว้แต่เรือข้ามฟาก (สัปปาณวรรค ข้อ ๗)
๒๖. บุรุษ-สตรี จะถวายอาหารแก่พระผู้อยู่ในป่าอันเป็นที่เปลี่ยว ต้องแจ้งข่าวล่วงหน้าก่อน (ปาฏิเทสนียะ ข้อ ๔)
๒๗. บุรุษ-สตรี เมื่อพระรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้ว อย่าเอาอาหารวางบนฝาบาตร หรืออย่าใส่ถุงให้พระหิ้ว (โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๔)
๒๘. บุรุษ-สตรี เมื่อนิมนต์พระมาฉันในบ้านต้องจัดที่ฉันให้พร้อม เช่นน้ำล้างเท้า ผ้าเช็ดเท้า น้ำฉัน น้ำใช้ กระโถน ผ้า-กระดาษเช็ดมือ เช็ดปาก ช้อนส้อมและช้อนกลาง อย่าให้บกพร่อง (โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๓๐)
๒๙. บุรุษ-สตรี เมื่อจัดที่ให้พระสวดหรือแสดงพระธรรมเทศนา หรือปาฐกถาธรรม ต้องจัดที่ให้พระนั่ง อย่าให้ยืน และต้องไม่ต่ำกว่าที่ของผู้นั่งฟัง (ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ข้อ ๑๓, ๑๔)
๓๐. บุรุษ-สตรี เมื่อฟังธรรมเทศนาหรือฟังปาฐกถาธรรม ต้องฟังด้วยกิริยาอาการเคารพ แม้ฟังพระสวดในงานมงคลหรืองานศพเป็นต้น ก็ต้องเคารพเช่นเดียวกัน ไม่ควรนั่งคุยกันเลย จะคุยในเวลาพระหยุดสวดได้ (ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ทุกข้อ)
๓๑. บุรุษ-สตรี จะถวายร่มแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่สลับสี เช่นร่มผ้าดำล้วน ร่มกระดาษ ร่มพลาสติก สีน้ำตาล สีดำ สีเหลืองล้วน (วิ. ๒/๓๕)
๓๒. บุรุษ-สตรี จะถวายรองเท้าแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่มีส้นสูง ไม่มีปกส้น ไม่มีปกหลังเท้า มีแต่สายรัดหลังเท้ากับสายที่คีบด้วยนิ้ว และมีสีหม่นหมอง เช่น สีน้ำตาลแก่ (วิ. ๒/๓๖)
๓๓. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายเตียงตั่งแก่พระต้องเลือกเอาแต่ที่มีเท้าสูงไม่เกิน ๘ นิ้วพระสุคต หรือ ๙ นิ้วฟุต เว้นไว้แต่แม่แคร่ และไม่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า เช่น เตียงจมูกสิงห์ หรือบัลลังก์ และเตียงนั้นต้องไม่ใหญ่ถึงนอนได้ ๒ คน ที่นอนก็ไม่ใหญ่อย่างเตียง ฟูกเตียง ฟูกตั่ง และที่นั่งที่นอนไม่ยัดนุ่นหรือสำลี (รตนวรรค ข้อ ๕ และ วิ. ๒/๓๙)
๓๔. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายหมอนหนุนศีรษะแก่พระ ต้องให้มีขนาดหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง ๒ ศีรษะ หมอนข้างไม่ควรถวาย (วิ. ๒/๔๐)
๓๕. สตรี ต้องไม่นั่ง บนอาสนะผืนเดียวกัน บนเตียงม้านั่งเดียวกันกับพระ แม้บนพื้นที่ไม่มีอะไรปูลาดเลย ก็ไม่ควรนั่งเสมอกับพระหรือสูงกว่าพระ ไปในรถ-เรือมีที่จำกัด จะต้องนั่งที่ม้านั่งเดียวกันกับพระต้องให้มีบุรุษนั่งคั่นไว้เสียก่อน (วิ. ๒/๗๐)
๓๖. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาวัตถุอนามาสประเคนพระ วัตถุอนามาส คือสิ่งที่พระไม่ควรแตะต้อง มี ๖ ประเภท ดังนี้ :-
ก. คนหญิง คนกะเทย เครื่องแต่งกายของคนเหล่านั้น แต่ที่เขาสละแล้วไม่นับ ตุ๊กตาหญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ข. ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ที่ขัดแล้ว ศิลาชนิดดี เช่น หยก โมรา
ค. ศัสตราวุธต่างชนิด ที่ใช้ทำร้ายชีวิตร่างกาย
ง. เครื่องดักสัตว์บก-น้ำ
จ. เครื่องประโคม
ฉ. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
(วิ. ๒/๗๓)
๓๗. สตรี ไม่ควรเกลี้ยกล่อม ยั่วเย้าพระด้วยการพูดประเล้าประโลม หรือด้วยการแต่งตัวชะเวิกชะวาก หรือล่อด้วยทรัพย์ (วิ. ๒/๙๑)
๓๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเด็กเล่น เช่นเรือน้อยๆ รถน้อยๆ ถวายพระ (วิ. ๒/๑๑๘)
๓๙. บุรุษ-สตรี ไม่ควรชักชวนพระเล่นการพนัน มีแพ้ มีชนะ เช่นหมากรุก หมากแยก ฯลฯ (วิ. ๒/๑๑๘)
๔๐. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระและไม่ควรบอกดิรัจฉานวิชาแก่พระ ดิรัจฉานวิชาคือความรู้ในการทำเสน่ห์ ในการใช้ภูตผีปีศาจทำผู้อื่นให้ถึงความวิบัติในทางอวดฤทธิ์เดชต่างๆ ในทางทำนายทายทักบอกหวยบอกเบอร์ ในทางที่นำให้หลงงมงาย เช่นหุงเงิน หรือทองแดงให้เป็นทอง (วิ. ๒/๑๒๐)
๔๑. บุรุษ-สตรี ไม่ควรใช้พระในกิจนอกพระพุทธศาสนา แต่จะขอให้ช่วยกิจพระพุทธศาสนา เช่นให้ช่วยนิมนต์พระไปในการบำเพ็ญบุญอยู่ได้ (วิ. ๒/๑๒๐)
๔๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรนำสิ่งของอันมีค่าฝากไว้กับพระ เพราะอาจเกิดอันตรายแก่พระได้ เช่น อันตรายในการเจริญสมณธรรม ถูกปล้น ถูกเป็นผู้สำนองในเมื่อของนั้นหาย (วิ. ๒/๑๒๒)
๔๓. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่ไม่นิยมเป็นอาหารถวายพระ เนื้อที่ไม่นิยมเป็นอาหาร คือ เนื้อมนุษย์ ช้าง-ม้า-สุนัข-งู-สีห์-เสือโคร่ง-เสือเหลือง-หมี-เสือดาว
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๔. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหารแต่ยังดิบ ไม่สุกด้วยไฟ เช่น ปูเค็ม กุ้งส้ม หอยเค็ม ปลาเค็ม แหนม กะปิ ลาบเนื้อดิบ ไข่ลวกไม่สุก ประเคนพระ ควรมอบไว้แก่กัปปิยการก คือผู้มีหน้าที่ทำให้เป็นของควรแก่พระ (วิ. ๒/๑๓๓)
๔๕. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาอุทิศมังสะถวายพระ อุทิศมังสะ คือเนื้อหรือไข่สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงภิกษุสามเณร (วิ. ๒/๑๓๓)
๔๖. บุรุษ-สตรี อย่าเอาพีชคาม คือผลไม้มีเมล็ดสุกบางอย่าง เช่นพริกสุก มะเขือสุก อ้อยที่ยังไม่ได้ปอก ผักบุ้ง ขมิ้น กระชาย กระเทียม หอม โหระพา กะเพรา ฯลฯ ที่พ้นจากที่เกิดที่อยู่แล้ว แต่ยังปลูกให้งอกได้อีกถวายพระ ควรทำให้เป็นของที่ไม่อาจปลูกให้งอกได้แล้ว จึงถวายพระ (วิ. ๒/๑๓๕)
๔๗. บุรุษ-สตรี จะทำน้ำปานะถวายพระ ควรเลือกเอาผลไม้สุกที่นิยมเป็นอาหาร ชนิดที่ไม่โตกว่าผลมะตูมหรือผลกระเบา ขนาดเล็กไม่จำกัด เอามาทำความสะอาด คั้นแล้วกรองให้หมดกาก เจือน้ำจืดที่สะอาดบ้างก็ได้ แต่อย่าใช้น้ำร้อน และอย่าต้มน้ำปานะด้วยไฟ จะเจือน้ำตาลเกลือบ้างก็ได้ ทำแล้วต้องถวาย ให้พระฉันในวันนั้น อย่าปล่อยให้ข้ามราตรี (วิ. ๒/๑๓๙)
๔๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรถือเอามรดกของพระผู้มรณภาพไปแล้ว ไม่ว่าพระรูปนั้นจะเป็นพ่อ ลูก ญาติ มิตร หรือเกี่ยวข้องกันโดยสถานะไรๆ ก็ตาม แม้พระได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะทางวินัยของสงฆ์มีอยู่ว่า มรดกของพระผู้มรณะตกเป็นของสงฆ์ทั้งหมด
แม้พระได้พูดไว้ด้วยคำอันเป็นอนาคตว่า “ถ้าฉันตายแล้ว เธอจงเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป” ดังนี้ ก็ถือเอาไม่ได้ แต่สิ่งที่พระมอบให้ด้วยคำเป็นปัจจุบันว่า “ฉันให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เธอ” ก็ถือเอาได้เฉพาะสิ่งที่ระบุถึง หากระบุทั้งหมดก็ถือเอาได้ทั้งหมด (วิ. ๒/๑๕๔/๑๕๕)
๔๙. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถือเอาสิ่งของของพระด้วยวิสาสะ ต้องให้ครบองค์ ๓ คือ
ก. เคยเห็นกัน เคยคบกัน เคยพูดกันไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข. รู้ว่าถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ
ค. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่
(วิ. ๒/๑๕๗)
๕๐. บุรุษ-สตรี เมื่อพยาบาลพระผู้เจ็บหนัก ฉันอาหารไม่ได้ ครั้นถึงเวลาวิกาลหิวจัด หากมิได้อาหารอาจเป็นอันตราย จะต้มข้าวหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหาร (เว้นอุทิศมังสะ) ให้เหลว กรองให้หมดกาก เอาแต่น้ำข้าว น้ำเนื้อที่ใสถวายให้พระดื่มในเวลาวิกาลได้ การที่จะอ้างว่า แพทย์สั่งให้พระป่วยฉันอาหารในวิกาลได้ แล้วนำอาหารชนิดต่างๆ ไปถวายในวิกาลนั้น ไม่ควรเลย หากพระอยากฉันอาหารในวิกาลโดยไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัยแล้ว ควรให้สึกเสียก่อน จึงจัดถวายให้รับประทาน (วิ. ๒/๑๗๕)
๕๑. สตรีที่เป็นโสเภณี เป็นหม้าย เป็นสาวเทื้อ เป็นชี และกะเทย ไม่ควรไปมาหาสู่กับพระ โดยไม่เป็นกิจจลักษณะหรือผิดเวลา (วิ. ๒/๑๘๑)
๕๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรนิมนต์พระเข้านั่งในร้านสุรา จะเป็นที่ขาย หรือที่กลั่นสุราหรือที่ดองเมรัยก็ตาม (วิ. ๒/๑๘๑)
บุรุษหรือสตรีก็ตาม เมื่อหวังความเจริญแก่ตนแก่วงศ์สกุลของตน และแก่พุทธศาสนา ควรศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยของภิกษุสงฆ์บางข้อ ตามที่รวบรวมไว้นี้ และปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็ย่อมจะเหมาะสมแก่ความเป็นพุทธศาสนิกชน และย่อมช่วยประดับพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองแล
ขอบคุณที่มา http://goo.gl/4z0JW
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ข้าวรมควันพิษ เป็นยังไง ?
ข้อมูลจาก มูลนิธิชีววิถี
เพราะข้าวในโครงการรับจำนำระยะสองสามปีมานี้ เก็บเป็นข้าวสาร
ซึ่งการเก็บข้าวนั้นเก็บเป็นข้าวเปลือกดีที่สุด ข้าวเปลือกเมื่อกระเทาะเปลือกออกเป็นข้าวสารมันก็เป็นแป้งแหละครับ แป้งดูดความชื้น มันก็เก็บยากกว่า หรือมีมอดแมลงมากัดกินก็ยิ่งเป็นแป้งเป็นผงแป้งดูดความชื้นได้ดียิ่งขึ้นก็ยิ่งเน่าเสียง่าย
อาการเน่าก็คือ ข้าวป่นเปื่อยจับกันเป็นก้อนมีสีเหลือง ๆ ข้าวเน่าเนี่ยมองเห็นด้วยตานะครับ พวกบริษัทข้าวถุงเค้าก็คงไม่คิดสั้นเอามาบรรจุถุงขาย คือมันประเจิดประเจ้อเกินไป ส่วนว่าจะปนไปกับข้าวแจกบ้างก็เป็นเป็นเคราะห์ซ้ำของคนรับข้าวแจก
ทีนี้เน่าอีกแบบคือ มันชื้นแล้วก็เป็นรา พวกอะฟลาท๊อกซินอันนี้ยิ่งอันตรายครับ หากสะสมก็เป็นสารก่อมะเร็ง นี่ก็มองเห็นด้วยตาอีก ข้าวก็อาการประมาณข้าวเน่า คือ ข้าวเกาะกันเป็นก้อน มีกลิ่นอับ มีสีคล้ำ เท่าที่ตามดูข่าวก็ยังไม่พบเห็นว่ามีใครซื้อข้าวถุงแล้วเจอข้าวเน่าเป็นเรื่องเป็นราวนะครับ
ส่วนข้าวเสื่อมสภาพ ข้าวสารเก็บนานคุณภาพก็คงต้องเปลี่ยนไปตามเวลา ยิ่งข้ามปียิ่งไม่ดี มันดูดความชื้นมันก็ร่วนขึ้น เปราะ ไม่นุ่มไม่หอม กินไม่อร่อย อาจมีชื้นมีกลิ่นอับไม่ถึงกับเน่า แม้เก็บในไซโลโกดังเกรดเอ มีการระบายอากาศที่ดี แต่จะให้ดีมากต้องคุมอุณหภูมิซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จะคาดหวังให้โกดังเช่าเก็บลงทุนขนาดนั้นก็เป็นเรื่องเหนือจริงไปนิด
มาถึงข้าวรมควันพิษ ทางราชการก็ออกมายืนยันว่า สารหรือก๊าซที่ราชการแนะนำให้ใช้สองชนิดนั้น มันเป็นสารระเหย มีการตกค้างน้อย หรือแทบไม่ตกค้าง ทางกรมวิชาการเกษตรเค้าแจกแจงดังนี้ครับ
การรมข้าวสารจะใช้เมทิลโบรไมด์ในอัตรา 32 กรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 50 กรัมต่อข้าวสาร 1 ตัน ระยะเวลาในการรม 24 ชั่วโมง และจะระเหยหมดไปทันทีที่เปิดพลาสติก สารชนิดนี้เป็นที่นิยม ใช้เพราะเบากว่าอากาศ จะใช้การระเหยขึ้นด้านบน สามารถแทรกในช่องว่างระหว่างเม็ดข้าวได้ และราคาถูกกว่าสารชนิดอื่น
ส่วนสารฟอสฟินเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง ลักษณะ ของฟอสฟินจะเป็นเม็ดเล็กๆ ลักษณะการทำงานคล้ายลูกเหม็น จะใช้การระเหิดจากที่สูงสู่ที่ต่ำ การรมข้าวสารใช้ฟอสฟินในอัตรา 2-3 เม็ด ต่อข้าวสาร 1 ตัน (น้ำหนักเม็ดละ 3 กรัม) หรือฟอสฟิน 9-10 กรัมต่อข้าวสาร 1 ตัน ระยะเวลาการรม 5-7 วัน หลังจากการรมแล้วต้องมีระยะเวลาการถ่ายเทก๊าซ 12 ชั่วโมง วิธีการนี้จะใช้เวลานานกว่าเมทิลโบรไมด์ จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า
สารพวกนี้จะตายได้ก็จากการสูดดมเข้าไปตรง ๆ ดังนั้นความเป็นอันตรายมากที่สุดของสารพวกนี้จะอยู่ที่ขั้นตอนการรมเป็นสำคัญ นก หนู แมว หลุดเข้าไปในระหว่างการมตายแบบเฉียบพลันทันที
เท่าที่นักวิชาการเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) ค้นงานศึกษาแบบเร็ว ๆ พบว่ามีรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ (NIH) พบว่าผู้ที่ทำงานสัมผัสเกี่ยวข้องกับเมธิลโบรไมด์มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ไม่เคยสัมผัสเลย ย้ำนะครับพบแค่ผู้ที่มีโอกาสสัมผัส ไม่ใช่ผู้บริโภคจากการตกค้าง
หากเก็บข้าวนานก็ต้องรมก๊าซมากครั้งขึ้น ก็เป็นไปได้ว่าความเสี่ยงเรื่องการตกค้างในอาจมีมากขึ้น แต่ที่น่าเป็นไปได้มากกว่าคือการตกค้างในระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ด้วยว่าก๊าซพวกนี้มันระเหยไปก็ไปจับกับความชื้นในอากาศตกเป็นฝนกลับลงมาพื้นโลก ไปจนถึงการดื้อยาของศัตรูข้าว ทำให้ต้องหาทางจัดการด้วยวิธีการที่อาจเสี่ยงขึ้น
เมื่อมีข่าวลือ ข่าวร้ายเกิดขึ้น ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การอาหารและยา เก็บตัวอย่างข้าวในท้องตลาด 57 ตัวอย่างไปตรวจในแลปหาสารตกค้างหลายกลุ่มพบว่ามีการตกค้าง 26 ตัวอย่างในระดับ 0.9-21 ppm ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานของไทยที่กำหนดไว้ที่ 50 ppm ซึ่งก็เบาใจได้บ้างว่าเท่าที่ตรวจพบก็ไม่ได้อันตรายมาตรฐานของไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐ
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
รูปด้านบน คือการบิดเบือนของหน่วยงานราชการในเรื่องค่ามาตรฐานสารตกค้างของไทย ว่าตกลงจะใช้ค่าไหนแน่
แต่เรื่องน่ากังวลก็อาจมีได้เหมือนกัน เพราะบางประเทศกำหนดให้ค่ามาตรฐานที่ตกค้างได้สูงสูด (MRL) ต่ำกว่าที่เรากำหนด
ตัวอย่างเช่น อินเดียกำหนดไว้ที่ 25 ppm จีน 5 ppm และไต้หวันที่กำหนดไว้ที่ 1 ppm เท่านั้น
ถ้าเป็นแบบนี้ก็อาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของเราในระยะยาวได้เหมือนกัน (ppm : part per million หมายความว่า 1 ส่วนในล้านส่วนในกรณีนี้หน่วยเป็นกิโลกรัม 1 ppm ก็คือ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
ขณะเดียวกันทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับเครือข่ายไทยแพนก็ได้ไปเก็บตัวอย่างมาตรวจบ้างเหมือนกัน เป็นการร่วมตรวจสอบอีกทางหนึ่งครับ ผลน่าจะออกอาทิตย์หน้า
อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นเรื่องดีที่มีการตื่นตัวกัน ทำให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาทำหน้าที่อย่างแข็งขัน และหวังว่าจะมีการตรวจสอบเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และจะให้ดีรัฐบาลก็ควรเร่งระบายข้าวออกมาน่ะครับก่อนมันจะเสื่อมไปกว่านี้ หรือไปถึงขั้นเน่า แล้วยังต้องรมก๊าซอยู่เรื่อย
พอแค่นี้ก่อนนะครับ หวังว่าข้อเขียนนี้จะช่วยกระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ที่นำไปสู่การค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง และหวังว่าเหตุการณ์ข้าวนี้จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคตื่นตัวอย่างมีคุณภาพ ศึกษาค้นคว้าตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้าน พัฒนาเป็นขบวนการผู้บริโภคที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการให้หลักประกันอาหารปลอดภัยอย่างจริงจัง
โดย.... กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
----------------
สารเมทิลโบรไมด์ สารพิษใช้รมข้าว ที่ต้องเลิกใช้ภายในปี 2556 แต่
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
ปริมาณนำเข้าสารรมควันพิษข้าว เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในปี 2556
คลิกที่รูปเพื่อขยาย !!
ไทยไม่กำหนดมาตรฐานสารเมทิลโบรไมด์ในข้าว
แต่จากตรวจสอบจากข้อมูลเรื่องค่ากำหนดมาตรฐานสารพิษตกค้างสูงสุด หรือ MRLs-Maximum Residue Limits ของเมทิลโบรไมด์ในสินค้าข้าวภายในประเทศไทย ทั้งในประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 163) พ.ศ.2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2548 และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (มกอช.9002-2547 และ 2551) กลับไม่พบค่ากำหนดนี้ในประกาศเหล่านั้น
ในขณะที่ในต่างประเทศได้กำหนดค่า MRLs ของเมทิลโบรไมด์ในสินค้าข้าว ไว้อย่างชัดเจน เช่น ไต้หวัน 1.0 มก/กก สาธารณรัฐเกาหลี 50.0 มก/กก. กลุ่มสหภาพยุโรป 0.1 มก/กก. อังกฤษ 0.1 มล./กก. ออสเตรเลีย 50มก/กก. นิวซีแลนด์ 50มก/กก. เป็นต้น
จากเอกสารประกอบการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปี 2555 โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN) ระบุว่า ในการกำหนดค่า MRLs ของสหภาพยุโรป สิ่งสำคัญที่กำหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือ เรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้ค่า MRLs ที่กำหนดจะเป็นค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
แต่ขณะเดียวกัน การกำหนดค่า MRLs ของไทย และของ โคเด็กซ์ (คณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex Alimentarius Commission) นั้น มาจากมุมมองในเรื่องของการกำหนดเพื่อการค้าเป็นหลัก ค่า MRLs ที่กำหนดออกมาจึงเป็นค่าสูงสุดเท่าที่จะยอมรับได้ เมื่อตรวจแล้วพบว่าไม่เกินจากค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ก็ยอมรับได้ว่าผลผลิตการเกษตรดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
---------------------
ใหม่เมืองเอก ขอสรุปว่า
มาตรฐานข้าวไทยที่ส่งออก และมาตรฐานข้าวที่คนไทยกินในประเทศไม่เท่ากัน
สาเหตุเพราะ ค่ามาตรฐานสารตกค้างในแต่ละประเทศกำหนดไว้ไม่เท่ากัน
ผู้ส่งออกข้าวไทย จะส่งออกให้ตรงตามมาตรฐานในแต่ละประเทศ
ส่วนคนไทยแม้มีมาตรฐานของไทย (มาตรฐานไทยอ้างว่าอยู่ที่50มก./กก) แต่กลับถูกบิดเบือนได้โดยหน่วยงานของรัฐเอง จนยากที่จะน่าเชื่อถือ
เพราะวันนี้ คนไทยเราเชื่อถือรัฐบาลไม่ได้ เพราะรัฐบาลปัจจุบันนี่แหละตัวดี ที่พยายามปกปิดข้อมูลที่ถูกต้องแก่คนไทย เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองจากนโยบายที่ล้มเหลวของรัฐบาลเองครับ
คลิกอ่าน เงินหลวงไม่ใช่เงินกู นักการเมืองโกงมาแบ่งให้ก็ดี
วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เงินหลวงไม่ใช่เงินกู นักการเมืองโกงมาแบ่งให้ก็ดี
ทำไมคนไทยจำนวนมากยอมรับนักการเมืองโกงได้ แต่ข้อแม้ว่าต้องแบ่งส่วนที่โกงมาให้ฉันบ้าง ?
ผมเจอบทความที่อธิบายเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจ จึงอยากนำมาให้อ่าน
และตอนท้ายยังมีความคิดเห็นของผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ แล้วได้แสดงความเห็นที่น่าคิดมาก
-----------------------
มรดกจากยุคสมบูรณาถึงยุคไพร่เสื้อแดง
โดย บัณรส บัวคลี่
เอแบคโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งที่เท่าไหร่ไม่รู้ แต่ผลออกมายังเหมือนกับครั้งก่อนหน้าว่า
ประชาชนไทยจำนวนมากกว่าครึ่งรับได้กับการคอรัปชั่นโดยหากว่าโกงแล้วยังมีผลประโยชน์ตกมาสู่ประชาชนบ้าง
แม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่จากที่สัมผัสผู้คนมาเยอะเมื่อเทียบระหว่างชนชั้นกลางกับชั้นล่างลงมา ขอฟันธงว่าประชากรชาวไพร่ ชาวรากหญ้านี่แหละที่เป็นประชากรกลุ่มหลักที่ยอมรับได้หากนักการเมืองคดโกง
ตัวอย่างจากคนเสื้อแดงออกมาต่อสู้ทางการเมืองให้กับไทยรักไทยต่อเนื่องถึงเพื่อไทยก็เพราะพรรคการเมืองดังกล่าวมีนโยบาย “แบ่งปันน้ำแกง” คือจัดงบประมาณลงมาถึงประชาชนได้เด่นชัด
นี่กระมังเป็นเหตุให้คนไทย 65% ที่รวมถึงคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งจึงไม่ค่อยรู้สึกแสลงตาแสลงใจกับข่าวข่าวการโกงกินของนักการเมืองแถมออกจะเฉย ๆ ซะงั้น
ความคิดของประชาชนที่ยอมรับได้หากผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครองทุจริตโดยมีเงื่อนไขว่าแต่ต้องขอมีน้ำแกงแบ่งปันมาให้ประชาชนผู้ไม่มีอำนาจดังกล่าว เป็นความคิดที่สืบสาวไปถึงยุคศักดินาสวามิภักดิ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองโน่นเลยเพราะนี่เป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรมว่าด้วยทรัพยากรส่วนกลางที่คนไทยถือว่าเป็น “เงินหลวง” หรือ “ของหลวง”
ชื่อว่าเงินหลวงหรือของหลวงก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่ใช่เงินเราหรือของเรา เพราะในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งสิ้นเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นถนนหนทางสิ่งก่อสร้างทั้งหลายล้วนแต่เป็นของหลวงซึ่งมี “ข้าราชการ” รับดำเนินการให้หลวงอีกทอด ไม่ใช่ธุระกงการของประชาชน
ดังนั้นกิจการงานของหลวงที่ต้องใช้เงินหลวงจึงเป็นเรื่องของข้าราชการตัดตอนไปทำ สมัยก่อนโน้นคือเมื่อ 20 ที่แล้วยังมีธรรมเนียมเขียนป้ายข้างรถยนต์ “ใช้ในราชการ” เท่านั้น ตอกย้ำว่านี่เป็นทรัพย์สมบัติของหลวงที่ระบบราชการท่านใช้งานกัน มันไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชนคนเดินดินธรรมดา
จนระยะหลัง ๆ มานี้จึงค่อย ๆ พัฒนาระบบคิดและหลักการใหม่ไปตามพัฒนาการทางการเมืองว่าระบบราชการไม่ใช่เรื่องของหลวงแต่เป็น “บริการสาธารณะ” ที่มีไว้ให้ประชาชนเจ้าของประเทศ ฃฃ
ซึ่งแม้จะดีกว่าเมื่อ 20-30 ปีก่อนมากมายก็เหอะ ระบบราชการและงบหลวง เงินหลวง ของ ๆหลวงก็ยังไม่ได้ตกเป็นสมบัติของประชาชนจริง เพราะของหลวงทั้งหลายในยุคก่อนได้กลายเป็นสมบัติของพ่อค้านักการเมืองไปซะยังไม่ใช่กิจการของประชาชนเจ้าของประเทศอยู่ดี
การอยากได้เงินหลวงเข้าพกเข้าห่อมาเป็นของตนเองเป็นความอยากพื้นฐานสันดานมนุษย์ ในสมัยก่อนโน้นโกงเงินหลวงก็คือโกงเงินของพระราชา แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยสำนวนโกงเงินหลวงที่ติดปากสืบทอดมาที่แท้คือการโกงเงินจากทรัพย์สินภาษีอากรของราษฎร
แต่คนธรรมดาสามัญแทบไม่มีใครคิดว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของตนเอง ยังคงติดกับธรรมเนียมความคิดเดิมคือเงินของแผ่นดินที่ลอยลงมาแปลงเป็นถนนหนทาง สถานีอนามัย โรงพัก อำเภอ ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ “หลวง” คือรัฐบาลประทานลงมาให้อยู่เช่นเดิม
ด้วยธรรมเนียมความคิดแบบนี้ จึงกลายเป็นว่าส.ส.ที่ได้รับความนิยม คือส.ส.ที่เข้าไปต่อสู้ในสภาเพื่อต่อรองแย่งชิงเอา “เงินหลวง” มาให้ชาวบ้าน แปลงมาเป็นถนนหนทาง ไฟฟ้า สะพาน สถานที่ราชการใหม่ๆ เช่นวิทยาลัยพลศึกษา สนามกีฬากลาง ฯลฯ
ต่อมาเลยกลายเป็นแบบแผนธรรมเนียมว่า พรรคการเมืองที่ดีคือพรรคที่มีนโยบายให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและบริการ เช่น เอาเงินกองทุนหมู่บ้านมาให้ใช้กู้ยืมกันเองคนละ 2 หมื่น (แถวบ้านบางรายยังไม่คืนเลย ฮาๆ)
และเมื่อส.ส.หรือพรรคการเมืองได้ไป “ต่อสู้แย่งชิง” เงินหลวงมาให้เราดังนั้นชาวบ้านจึงต้องยอมๆ ให้เขาโกงกินหัวคิวไปวัดครึ่งกรรมการครึ่งชาวบ้านขอแบ่งน้ำแกงมากินด้วยก็ยังดี
บางโครงการไม่เหมาะสม แพงเกิน ไม่ได้ประโยชน์อะไรแต่เมื่อมาลงพื้นที่แล้วก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่าเอา ๆ ไปเถอะไหน ๆ ก็ได้งบมาแล้ว
ทั้งหมดทั้งมวลมาจากรากเหง้ากรอบความคิดพื้นฐานที่ว่างบประมาณแผ่นดินไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับตัวเอง มันเป็นเงินหลวงที่เป็นเรื่องของเจ้านายข้าราชการนักการเมืองเขาจัดการกัน ให้ชาวบ้านได้มาใช้ประโยชน์บ้างก็ดีถมแล้ว ส่วนเขาจะโกงกินบ้างก็ให้ถือเป็นค่าตอบแทนเขาไป
นักการเมืองเค้าชอบนะครับ ชอบกรอบความคิดของชาวบ้านแบบนี้เพราะมันง่ายต่อการเอาเงินของชาวบ้านมาซื้อเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านอีกทอด การซื้อใจทำให้ชาวบ้านรักผูกพันกับนักการเมืองหรือพรรคการเมืองมีแต่ต้องดำรงความเชื่อเรื่องเงินหลวงเอาไว้
อยากให้ใครสักคนทำวิจัยดูความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความเชื่อเรื่องเงินหลวงกับรายได้ของบุคคลว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง ขอฟันธงอีกทีว่าผลวิจัยน่าจะชี้ชัดว่าคนที่คิดว่าเงินหลวงเป็นเงินที่ลอยลงมาก็คือกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานภาษี ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี แล้วคนกลุ่มนี้เองที่คิดว่าโกงไม่เป็นไรขอให้ทำงาน
ส่วนคนที่ต่อสู้กับการโกงกิน เกลียดคนโกงซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคมกลับเป็นมนุษย์เงินเดือน ชนชั้นกลาง พ่อค้าห้องแถวที่ถูกขูดรีดจากระบบภาษีสรรพากรโดยตรง พวกนี้จึงเข้าใจได้ชัดเจนว่า งบประมาณแผ่นดินที่เรียกกันว่า “เงินหลวง” นั้นที่แท้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของเขา
ไม่แปลกที่คนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มน้อยเลือกตั้งแต่ละทีก็แพ้เขาล่ะครับ นั่นเพราะประชากรไทยที่อยู่ในฐานภาษีมีเพียงแค่ประมาณ 3 ล้านคนเท่านั้น
ส่วนที่เหลือไม่ต้องยื่นแบบภาษีเพราะรายได้ไม่ถึง แล้วคนพวกนี้ก็จ่ายภาษีทางอ้อมผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านร้านเซเว่นฯ ผ่านการเติมน้ำมันรถกัน ซึ่งแทบไม่รู้สึกรู้สาว่านี่คือภาษีที่ตนจ่ายให้รัฐไป
ด้วยเหตุนี้ความรู้สึกที่ว่างบประมาณแผ่นดินไม่ใช่เป็นเงินของประชาชนหากเป็น “เงินหลวง” ที่ลอยลงมา หากว่าประชาชนได้แบ่งมามาถือเป็นกำไร...จึงยังฝังแน่นอยู่ในสังคม เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกรู้สาว่าต้องแบกรับภาระภาษีและแม้ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองและทำงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนเจ้าของประเทศมาแล้วกว่า 80 ปีก็ตาม
ในประเทศไทยมีคนที่เรียกตัวเองว่าชนชั้นไพร่ นัยว่าเป็นการประชดประชันกลุ่มอำมาตย์ขุนนาง และก็น่าตลกดีที่ในมิติของหน้าที่ภาษีและความรับรู้เชิงอำนาจถึงความเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศ...ชนชั้นไพร่กลุ่มดังกล่าวกลับยังมีสำนึกแบบไพร่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชจริงๆ เพราะไม่ได้รู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของเงินงบประมาณแผ่นดิน เฝ้าแต่รอคอยการประทานลงมาจากผู้มีอำนาจบริหาร
มิหนำซ้ำยังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงที่นักการเมืองและข้าราชการผู้มีอำนาจบริหารเงินได้ประทานบริการลงมาแก่ตนอีกต่างหาก
ชนชั้นไพร่ที่ยังคงสำนึกแบบยุคสมบูรณาญาสิทธิราชเหล่านั้น จึงพากันตอบแทนผู้มีอำนาจที่เจียดงบประมาณแผ่นดินมาให้ตนด้วยการยกสิทธิการคดโกงเบียดบัง“เงินหลวง”ให้กับเหล่านักการเมือง ออกใบอนุญาตคอรัปชั่นให้ซะ
ตราบใดที่คนส่วนน้อยยังเป็นผู้เสียภาษี ตราบนั้นคนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้สึกรู้สาก็จะยังอนุญาตให้ข้าราชการและนักการเมืองคดโกงได้ต่อไป ๆ ๆ
สำรวจอีกกี่ครั้งก็ทำใจเถอะครับ..ชาวไพร่คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เขาถือว่างบประมาณแผ่นดินเป็นเงินหลวงที่ลอยลงมาจากฟ้า ใครแบ่งมามากที่สุดเป็นกำไร ใครโกงได้โกงไปขอเราแบ่งด้วยเป็นพอ !
http://astv.mobi/Alglfjh
-------------------
ความเห็นโดน ๆ จากผู้อ่านบทความข้างบนนั้นแล้ว
หลักการง่าย ๆ ประการหนึ่งของการเป็นพลเมือง ก็คือ การเสียภาษีให้แก่รัฐ
ซึ่งนี่เป็นหลักการที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นการปกครองตัวเองของประชาชน (self-government)
การเสียภาษี จะเป็นการบังคับให้ประชาชนเป็นพลเมือง เพราะจะต้องเข้าไปตรวจสอบ สักถาม ว่านำเงินภาษีของตนไปทำอะไร บริการสาธารณะที่ได้มีคุณภาพสมกับเงินภาษีหรือไม่ ซึ่งนี่ก็คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการควบคุมนักการเมืองนั่นเอง
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเงินภาษีในแง่งบประมาณแผ่นดิน แต่ไม่เคยให้ความสำคัญกับภาษีในแง่ของการทำหน้าที่ของพลเมือง
ประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เสียภาษี จึงไม่รู้สึกหวงแหน หรือรู้สึกว่า ตนมีภาระหน้าที่อะไร ที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบการใช้ภาษี ว่ามีความสุจริต คุ้มค่าหรือไม่
และบังเอิญว่า คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เสียภาษีนี้ คือ คนจน และคนจนนี้เอง ที่กลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้ง
ดังนั้น จะไม่ให้การเมืองไทยแปลกประหลาดได้อย่างไร ที่คนที่เรียกร้องประชาธิปไตย ไม่ใช่ผู้เสียภาษี และไม่เคยเข้าไปตรวจสอบ กำกับดูแลการใช้ภาษีนั้น ก็จะต้องเข้าไปตรวจสอบให้ยุ่งยากทำไม ในเมื่อเงินได้ของแผ่นดินนั้น เป็นของส่วนกลาง ที่มาจากไหนก็ไม่รู้
พูดกันอย่างถึงที่สุด เสียงส่วนใหญ่จากการเลือกตั้งของประเทศนี้ จึงหวังเพียงให้มีผลประโยชน์อะไรก็ได้ ตกมาถึงตัวเองบ้างเป็นพอ
ข้อสรุปนี้ ไม่ใช่การกล่าวอ้างลอย ๆ เพราะเห็นได้จากคนเสื้อแดงที่เรียกร้องความเท่าเทียม แต่กลับแบมือขอรับประโยชน์จากนโยบายประชานิยม โดยไม่สนใจการตรวจสอบใด ๆ เลย และเมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีข้ออ้างอยู่เพียงอย่างเดียวว่า รัฐบาลมาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน
เช่นนี้แล้ว บางท่านจึงเสนอว่า ในการเลือกตั้งควรกำหนดให้ผู้เสียภาษีเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งแม้จะน่าสนใจ แต่ในทางหลักการ ก็ขัดกับหลักประชาธิปไตย เพราะหากกันคนส่วนใหญ่ออกไป จะขึ้นชื่อว่าประชาธิปไตยได้อย่างไร
ทางออกในเรื่องนี้ ที่สุดแล้ว ย่อมหนีไม่พ้นการทำให้ประชาชนเป็นผู้ที่สามารถเสียภาษี ซึ่งจะบังคับให้ประชาชนกลายเป็นพลเมือง และรู้จักหน้าที่ของตน แม้ไม่อาจทำได้ในระดับชาติ แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ได้ในระดับท้องถิ่น ซึ่งก็เท่ากับประชาชนได้เสียภาษีให้ประเทศชาติไปในตัว
และจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ภาษีนั้น จะต้องถูกใช้ที่ท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนจึงจะเห็นว่า ภาษีของตนถูกใช้ไปอย่างไร หากเห็นว่าไม่ชอบมาพากล ก็จะได้เข้าไปตรวจสอบการใช้ภาษีนั้น
แต่นักการเมืองระดับชาติ คงพอใจที่จะไม่ทำให้ประชาชนกลายเป็นพลเมือง เพราะการที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าไปตรวจสอบการทำงานของตนเอง ย่อมเป็นผลดีเพียงแค่หยิบยื่นผลประโยชน์เชิงนโยบายให้เป็นการเอาใจ หนทางในการครองอำนาจก็ราบรื่นขึ้น
ทางเดียวก็จะทำให้ประชาชนกลายเป็นพลเมือง คือการเสียภาษี !!
---------------------
ใหม่เมืองเอก ขอสรุปว่า
นักการเมือง คือ อำมาตย์ยุคใหม่ ที่โกงเอาเงินภาษีชาติมาแบ่งประชาชน
คนจน คือ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่ไม่เสียภาษีโดยตรง เลยไม่คิดว่า เงินภาษีชาติก็คือเงินตัวเอง จึงพร้อมที่กราบกรานขอบคุณนักการเมืองที่โกงภาษีมาแบ่งให้ !!
ชนชั้นกลาง คือ กลุ่มประชาชนที่เสียภาษีรายได้โดยตรง เลยรู้สึกว่า เงินภาษีคือเงินของตัวเอง จึงไม่ยอมให้ใครมาโกงกินเงินภาษีนั้น
เงินหลวงไม่ใช่เงินกู!! เงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน!!
คลิกอ่าน ลัทธิเสียงส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ลัทธิเสียงส่วนใหญ่ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
เรียกมันว่า ‘ลัทธิเสียงส่วนใหญ่’ (Majoritarianism)
การประท้วงของผู้คนหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์, บราซิล, ตุรกี, ซีเรีย และอื่น ๆ ที่เป็นข่าวทุกวันนี้
ทำให้เกิดคนถามในหมู่นักวิเคราะห์ การเมืองระหว่างประเทศว่าทำไมจึงเกิด “การเมืองข้างถนน” กันร้อนแรงขึ้นทั้ง ๆ ที่หลายประเทศเหล่านั้นก็มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง?
เป็นคำถามที่คนไทยเองก็คงจะตั้งข้อสงสัยกับตัวเองและเพื่อนร่วมชาติเช่นกัน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องสังกัดสีไหนหรือประกาศตนอยู่ค่ายการเมืองใด
วันก่อน คอลัมนิสต์คนดังของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ Thomas Friedman ตั้งคำถามนี้เหมือนกันและพยายามจะหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า
ทำไมเมื่อสังคมที่สิทธิเสรีภาพ มีการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย และมีวิถีทางเลือกด้วยการเข้าสู่คูหาเลือกตั้งได้แล้ว จึงยังต้องมีการออกมากลางถนนเพื่อเรียกร้องและแสดงความต้องการทางการเมืองอีก?
เขาบอกว่า สาเหตุหนึ่งน่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่เขาเรียกว่า “majoritarian” หรือ “ลัทธิเสียงส่วนใหญ่”
ไม่ใช่ “authoritarianism” หรือ “ลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ” และไม่ใช่ “egalitarianism” หรือ “ลัทธิประชาธิปไตยเสมอภาค”
แต่เป็นปัญหาอันเกิดจากการที่ “เสียงส่วนใหญ่” หรือ “majority” ใช้อำนาจไปในทางที่เกิดความผิดเพี้ยนไปจากความหมายประชาธิปไตยที่แท้จริง
คำนี้น่าสนใจเพราะเป็นคำที่เพิ่งจะเป็นประเด็นของการวิเคราะห์สิ่งที่กำลังเกิดในหลายประเทศเช่นรัสเซีย, ตุรกี หรืออียิปต์ และอีกหลายประเทศที่คนไทยน่าจะรู้จักดี
คำว่า “majoritarian” นี้นักวิเคราะห์เขาหมายถึงพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาตามครรลองประชาธิปไตย (หรือก้ำกึ่งประชาธิปไตยคือประชาชนรู้ว่ามีการโกงเลือกตั้งแต่จับไม่ได้คาหนังคาเขา) และตีความเองว่านั่นคือฉันทานุมัติที่จะทำอะไรก็ได้เมื่อมีอำนาจแล้ว
หรือความเชื่อที่ว่าเมื่อชนะเลือกตั้งแล้ว ตลอดเวลาสี่หรือห้าปีที่อยู่ในตำแหน่ง พรรคที่เป็นรัฐบาลมีสิทธิจะทำอะไรตามที่ตนต้องการเพราะอ้างว่าได้เสียงส่วนใหญ่จากการเลือกตั้ง
เหมือนอ้างว่าได้ “เช็คเปล่า” จากประชาชน ผู้มีอำนาจจะใส่ตัวเลขเงินที่จะใช้เท่าไหร่ก็ได้
ซึ่งแน่นอนว่าเป็นความเชื่อที่ผิด และเป็นที่มาของความไม่พอใจของประชาชน ทั้งที่ไปหย่อนบัตรเลือกตั้งให้กับที่ไม่ได้สนับสนุนให้เป็นรัฐบาลในกระบวนการเลือกตั้ง
ปรากฏการณ์อย่างนี้ทำให้ผู้ชนะการเลือกตั้ง มองข้ามความสำคัญของการรับรู้ความเห็นที่แตกต่าง และไม่ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าจะเป็นเสียงทัดทานจากฝ่ายค้าน หรือสื่อมวลชนหรือนักวิชาการ
อีกทั้งเมื่อชนะเลือกตั้งแล้ว นักการเมืองเหล่านี้ก็เริ่มจะใช้อำนาจตามกฎหมายในการทำกิจกรรมฉ้อฉลด้วยการตั้งคนของตนไปอยู่ในกลไกตรวจสอบ หรือไม่ก็พยายามจะทำลายกลไกตรวจสอบเหล่านั้นเพราะเป็น “ก้างขวางคอ” ในการใช้อำนาจของตน
“นักการเมืองเหล่านี้เชื่อว่าคำว่าประชาธิปไตยหมายถึงเพียงสิทธิในการหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ไม่เคารพในสิทธิอื่น ๆ ทั้งหลายรวมถึงสิทธิของคนเสียงส่วนน้อยที่ก็เป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน...” คือบทวิพากษ์ของคอลัมนิสต์มะกันคนนี้
เขาบอกว่าผู้ประท้วงของตุรกี, รัสเซีย และอียิปต์ มีความรู้สึกเหมือนกันอย่างหนึ่งว่าพวกเขาถูกผู้มีอำนาจ “ปล้น”
...และสิ่งที่ผู้มีอำนาจแย่งชิงหรือขโมยจากประชาชนนั้นไม่ใช่แต่เรื่องเงินทองเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงความเป็นเจ้าของประเทศร่วมกันอีกด้วย
นั่นหมายความว่าพวกเขารู้สึกว่านักการเมืองที่ชนะเลือกตั้งนั้น ตั้งตนเป็นเจ้าของประเทศแต่เพียงกลุ่มเดียว และพยายามจะปล้น “สิทธิและเสียง” ของพวกเขาในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างให้อภัยไม่ได้
นักวิจารณ์อียิปต์ คนดัง Bassem Youssef เขียนวิพากษ์ประธานาธิบดีโมหะเหม็ด มอร์ซี ว่า
“เรามีประธานาธิบดีที่รับปากว่าจะตั้งสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญที่จะร่างรัฐธรรมนูญที่ทุกคนรับได้ เรามีประธานาธิบดีที่สัญญาว่าจะเป็นตัวแทนของผู้คนทุกกลุ่ม แต่เขาแต่งตั้งคนจากกลุ่ม Muslim Brotherhood ของเขาในทุกตำแหน่งที่สำคัญของประเทศ...เรามีประธานาธิบดีที่ทำผิดคำมั่นสัญญาทุกข้อ ประชาชนจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องออกไปกลางถนน...”
สาเหตุที่สองของปรากฏการณ์เดินขบวนของประชาชน คือการที่คนงานชนชั้นกลางถูกบีบ ระหว่างสวัสดิการรัฐที่หดตัวลงขณะที่ตลาดแรงงานถดถอย
การดำรงตนให้อยู่ใน “ชนชั้นกลาง” ยิ่งวันก็ยิ่งต้องเหนื่อยมากขึ้นเพราะโลกแคบลงและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้คนต้องปรับตัวตลอดเวลา หากตามนวัตกรรมไม่ทัน โอกาสจะตกงานหรือกลายเป็นผู้ถูกโดดเดี่ยวในหน้าที่งานการก็จะสูงขึ้น
แต่รัฐบาลส่วนใหญ่ แม้ที่ได้รับเลือกตั้งมาในระบอบประชาธิปไตย ก็ไม่ได้ตระหนักหรือทำอะไรที่ช่วยให้ประชาชนปรับตัว ตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงอันหนักหน่วงเช่นนี้
พรรคการเมืองส่วนใหญ่สนใจแต่เพียงการชนะการเลือกตั้ง และปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง หรือมุ่งแต่เพียงจะชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปเท่านั้น มิได้มีวิสัยทัศน์หรือความกล้าหาญทางการเมืองเพียงพอ ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำพาประชาชนให้ปรับตัวทันกับความท้าทายของยุคสมัยเลย
ในภาวะที่เกิดช่องว่างระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองเช่นนี้ น่าจะเป็นโอกาสทองสำหรับพรรคฝ่ายค้านที่จะเข้ามาถมช่องว่าง ทำหน้าที่เป็นความหวังหรือทางเลือกสำหรับประชาชน แต่พรรคฝ่ายค้านส่วนใหญ่ก็อ่อนปวกเปียก ย่ำแย่ ขาดการปรับตัวเพื่อรับบทบาทอันสำคัญนั้น
เมื่อประชาชนพึ่งพาพรรคการเมืองทางเลือกไม่ได้ พวกเขาก็จำเป็นต้องรวมตัวกันกลางถนนเพื่อแสดงความเห็นและเรียกร้องให้รัฐบาลทำสิ่งที่จะต้องทำในฐานะที่ได้รับอาณัติจากประชาชนให้บริหารประเทศ มิใช่เพื่อปกปักรักษาผลประโยชน์ของตน
และปัจจัยที่สามที่ทำให้ผู้คนรวมตัวกันเพื่อประท้วงรัฐบาลมากขึ้นก็คือการก่อเกิดของ social media ที่ทำให้ประชาชนทุกประเทศ สามารถแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง และกดดันรัฐบาลให้ต้องฟังเสียงของผู้ไม่พอใจ
โซเชียลมีเดีย จึงกลายเป็นเครื่องมือการสื่อสารระหว่างประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดความอ่าน และรวมตัวกันเพื่อทำในสิ่งที่ไม่เคยสามารถทำได้ในอดีต...
นั่นคือการระดมประชาชนที่ปกติไม่รู้จักกันหรือไม่เคยรวมตัวกันได้มาพบปะในที่สาธารณะ เพื่อบอกกล่าวกับผู้มีอำนาจว่าพวกเขากำลังละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างร้ายแรงเพียงใด
ผู้ปกครองคนใดไม่สำเหนียก ในแนวโน้มสังคมการเมืองใหม่เช่นนี้ ย่อมจะต้องรู้สึกว่าอำนาจตนกำลังสั่นคลอนยิ่ง
โดย กาแฟดำ สุทธิชัย หยุ่น
(กรุงเทพธุรกิจ)
คลิกอ่าน กะลาธิปไตย ถ่อยธิปไตย ของเสื้อแดง
เฉลิมยืมกุมไข่ กับ แก๊งค์ไอติมอีปู
หลังจากเฉลิมได้เข้ากระทรวงแรงงานแค่ครึ่งวัน แถมไม่ไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในกระทรวงอีกด้วย
พอตกบ่ายก็รีบบินไปฮ่องกงให้ทักษิณสั่งสอนอบรมทันที ก็ตามรูปที่มีการแชร์ในเน็ต
จะเป็นขี้ข้าหรือไม่ขี้ข้า พูดไปก็เท่านั้น แต่ถ้าดูรูปแล้ว ก็พอบอกได้เลยว่า
ใครเป็นขี้ข้า ใครเป็นนาย
เฉลิมยืนกุมไข่ รับการอบรมจากทักษิณที่ฮ่องกง
ทักษิณไร้เงาหัว !!
หากย้อนกลับไปสมัยเฉลิมมีอำนาจสักประมาณช่วงปี 2530 ทักษิณยังเป็นนักธุรกิจคลื่นลูกใหม่ ที่ทำตัวเสมือนขี้ข้าของเฉลิมอยู่เลย เพราะตอนนั้นทักษิณกำลังวิ่งเต้นขอสัมปทานเคเบิลทีวีจากเฉลิม ช่วงรัฐบาลชาติชาย เพราะเฉลิมกำกับดูแล อสมท.
ถ้าตอนนั้นเฉลิมอยากจะกินกาแฟสักถ้วย ทักษิณก็ต้องรีบแจ้นมาเสริฟให้ทันที
ที่เขาเรียกว่า ไม่มีอะไรแน่นอน นั้นคือความจริง
วันโน้น..
ทักษิณทำตัวเป็นเหมือนเบ๊ให้เฉลิม แต่ในวันนี้เฉลิมมาเป็นขี้ข้าทักษิณแล้ว
ทักษิณยืนกุมไข่ นอบน้อมแก่ผู้ให้สัมปทานดาวเทียม
งานราชการ ไม่สำคัญเท่าพ่อแม้ว
วันที่ 4 ก.ค. เหลิมเข้ากระทรวงแรงงานครึ่งวัน ตกบ่ายบินไปหาพ่อแม้ว
แถมวันที่ 5 ก.ค. ก็โดดงาน สงสัยเมาต่อที่ฮ่องกงแหง ๆ
---------------
เฉลิม ให้สัมภาษณ์นักข่าว ในวันแรกที่กระทรวงแรงงาน
“วันนี้มีแก๊งไอติมเต็มทำเนียบ พยายามกล่าวหาว่าผมไม่ตั้งใจแก้ไขปัญหาภาคใต้ เช่น กรณีที่สื่อพยายามถามว่าเหตุใดจึงไม่ลงพื้นที่ภาคใต้ ผมมองว่าสื่อเข้าใจผิด พร้อมขอฝากไปถึงนักการเมืองอย่าสร้างภาพในเรื่องของการลงพื้นที่เพียงแค่ไปฟังบรรยายสรุปแล้วกลับ เพราะจะสร้างความลำบากให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ทั้งนี้ยอมรับว่าผมล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ แต่เพิ่งได้รับตำแหน่งในช่วงเดือน พ.ย. 2555 ในฐานะ ผอ.ศปก.กปต. ซึ่งไม่มีอำนาจ และไม่มีงบลับใช้เลยแม้แต่บาทเดียว ทำงานด้วยใจ”
“ที่ผ่านมา ผมไม่ใช่ขี้ข้าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตฯ ที่เคยพูดไว้ว่าเป็นเพราะต้องการประชดพรรคประชาธิปัตย์ ผมกับ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเพื่อนรักกันมานาน รู้จักกันมาตั้งแต่ปี 2516 เรียกมึง-กูมาโดยตลอด ฝึกงานมาพร้อมกัน ปี 2549
ตอนที่เกิดพรรคพลังประชาชน สมัยนั้นคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ได้เป็นนายกฯ ไปพบผมที่บ้านริมคลองบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณขอให้ผมไปพบที่ลอนดอน เมื่อผมไปถึงที่สนามบินฮีทโธรว์ คุณยิ่งลักษณ์เอารถโรลส์รอยซ์สีน้ำเงินเข้มมารับ และพอไปถึงสถานีรถไฟ พ.ต.ท.ทักษิณก็มารอรับลงจากรถ เรากอดกัน 15 นาที ผมน้ำตาไหลเพราะสงสารเพื่อนที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี ช่วงเวลานั้น พ.ต.ท.ทักษิณได้ชวนผมเข้าพรรคพลังประชาชน เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ ก็ได้มาพบที่บ้านบอกว่าผมเป็นขุนศึกฝั่งธนฯ นายสมัครเป็นขุนพลกรุงเทพฯ หาเสียงจนได้เป็นรัฐบาล นายสมัครได้เป็นนายกฯและผมเป็น มท.1 อยู่ได้ 8 เดือนก็เกิดแก๊งออฟโฟร์ แต่วันนี้ที่ทำเนียบฯ มีแก๊งไอติม”
"ผู้นำการเมืองต้องมีเสือเดินตาม ถ้าวันหนึ่งมีหมาเดินตาม ผู้นำก็เจ๊งเพราะไม่มีใครเกรงใจ ตนพูดเป็นปริศนาธรรม ตนไม่เคยสอพลอนายกฯ ไปต่างประเทศไม่เคยไปส่ง และไม่เคยรับกลับจากต่างประเทศ แต่ทำงานให้ท่าน ที่พูดตนไม่ได้น้อยใจ แต่จะบอกว่า This is a politic (นี่คือการเมือง)
ทั้งนี้ชีวิตตนเล่นการเมืองมีขบวนการทำลายมาโดยตลอด คนที่พูดวันนี้ก็เป็นรัฐมนตรีว่าการ และยังบอกว่าให้ก้าวข้ามทักษิณไปให้ได้ แต่ตนบอกว่าถ้าพูดอย่างนั้นมาเป็นรัฐมนตรีในพรรคเพื่อไทยทำไม วันนี้ถ้าเล่นการเมืองในไทยแล้วไปทะเลาะกับ พ.ต.ท.ทักษิณจะเหลือแค่ตัวกับเงาเท่านั้น"
แก๊งค์ไอติม โพสรูปเยาะเย้ยเฉลิม ส่งมาจากโปแลนด์ภารกิจติดตามนายกออนทัวร์
ก่อนจบผมว่า
นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีภารกิจตะลอนทัวร์ต่างประเทศมากที่สุดในโลกเลยว่ามะ ?
5555
คลิกอ่าน โกงแบบบูรณาการ
ป้ายกำกับ:
เฉลิม กุมไข่ ทักษิณ แก๊งค์ไอติม ยิ่งลักษณ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)